คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายกำแพงจากก่อสร้างอาคารติดกัน: การรื้อถอนหรือก่อสร้างใหม่
โจทก์ก่อสร้างโรงงานและกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กผนังอิฐบล็อกที่พิพาทบนที่ดินของโจทก์ ต่อมาจำเลยกับพวกได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตสำนักงานสูง4 ชั้นชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เป็นเหตุให้กำแพงพิพาทมีรอยแตกร้าวเป็นเส้น เฉพาะกำแพงช่องที่ 1 ที่ 5 และที่ 22 รอยแตกร้าวของปูนเป็นช่องใหญ่ประมาณ 1 นิ้วช่องผนังกำแพงที่แตกร้าวเป็นเส้นมีจำนวน 14 ช่อง และบริเวณแนวกำแพงที่โอนเอนเข้ามาจากระดับตั้งฉากเดิม เมื่อนับจากผนังกำแพงใกล้กับท่อน้ำทิ้งหลังอาคารสำนักงานของจำเลย ผนังกำแพงเอนจากแนวตั้งฉากประมาณ 4 เซนติเมตร และเอนเข้าไปด้านในจนถึงจุดที่เอนมากที่สุดห่างจุดแรก 9 เมตร มีความเอนประมาณ 15เซนติเมตร เมื่อความเสียหายของกำแพงพิพาทมีเพียงบางส่วน จำนวน 14 ช่องของจำนวนกำแพงพิพาทซึ่งมีทั้งหมด 22 ช่อง ถือได้ว่ามีความเสียหายมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกำแพงพิพาท อีกทั้งกำแพงพิพาทยังเอียงจากแนวระดับตั้งฉากเดิมอีกด้วยประกอบกับความเอียงของกำแพงมิได้อยู่คงที่ หากแต่มีการเอียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลให้กำแพงพิพาทส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย มีโอกาสเอียงไปตามแรงดึงของกำแพงส่วนที่เอียงได้ เมื่อได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยแล้ว การให้จำเลยจัดการรื้อถอนกำแพงพิพาทและก่อสร้างใหม่ย่อมมีความเหมาะสมกว่าให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่เฉพาะส่วนที่เสียหาย
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 435 ที่บัญญัติให้บุคคลใดที่จะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น ให้บุคคลนั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ก็ตามแต่ในการก่อสร้างอาคารของจำเลย จำเลยมิได้อาศัยหรือใช้กำแพงพิพาทของโจทก์จำเลยเพียงแต่ก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เท่านั้น เมื่อศาลได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาท รวมทั้งที่ได้กำหนดให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าได้มีการบำบัดปัดป้องภยันตรายในระดับหนึ่งแล้ว กรณีจึงยังไม่สมควรที่จะให้จำเลยรื้ออาคารที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตของผู้ประกอบการขนส่ง กรณีบุตรขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินกฎหมาย
ผู้ร้องได้รับอุบัติเหตุขาหักเพียงใส่เหล็กดามไว้ เท่านั้น ไม่ถึงกับไม่สามารถควบคุมดูแลกิจการรถยนต์ โดยสิ้นเชิง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ร้องมาเอารถยนต์ ของกลางไปใช้ซึ่งผู้ร้องในฐานะผู้ประกอบการขนส่งย่อมจะต้อง ทราบดีและน่าจะตักเตือนมิให้จำเลยนำไปบรรทุกน้ำหนัก เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกได้แต่ผู้ร้องก็หาได้กระทำไม่ อีกทั้งผู้ร้องก็ไม่เคยปรากฏตัวในชั้นสอบสวน พฤติการณ์ตามคำร้องและทางนำสืบของผู้ร้องเห็นได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครอง การทำประโยชน์ และการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่าเดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17 ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2529ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติม จากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของ ผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ได้ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา 142(1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็น ของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้ หาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การแย่งการครอบครองและคำฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนฟ้อง/ถูกฟ้องคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่า เดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป.ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2529 ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติมจากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง ได้
คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้หาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้จำเลยอ้างเป็นเจ้าของ ก็ไม่เป็นเหตุแก้ตัวได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมและขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกามีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง ที่บัญญัติให้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนที่จำเลยขอให้รอการลงโทษก็เป็นดุลพินิจที่ศาลจะสั่งในคำพิพากษาต่อไป ศาลฎีกาจึงให้ยกคำร้องนี้
ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จำเลยทราบดีว่าที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินมีเพียง 2 ไร่ โดยด้านทิศตะวันออกจดภูเขา ด้านทิศเหนือจดถนนสาธารณประโยชน์และภูเขาตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ขณะเจ้าหน้าที่บริหารที่ดินอำเภอไปตรวจสอบที่ดินที่เกิดเหตุตามคำสั่งของนายอำเภอพบมีการบุกรุกไถภูเขาซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกและตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยนำรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยเพียง 3 ด้าน โดยจำเลยทราบดีว่าหากจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ด้าน ที่ดินของจำเลยจะมีเนื้อที่มากกว่าที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินของจำเลยนอกจากนี้หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า จำเลยบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ทางอำเภอแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินที่เกิดเหตุจำเลยทราบแล้วไม่ยอมรื้อถอนและไม่ยอมออกไป พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฏหมายให้ไว้ แม้จำเลยจะอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่จะทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.อ.มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติ จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ศาลแก้โทษปรับแทนจำคุก
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมและขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกามีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองที่บัญญัติให้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนที่จำเลย ขอให้รอการลงโทษก็เป็นดุลพินิจที่ศาลจะสั่งในคำพิพากษาต่อไป ศาลฎีกาจึงให้ยกคำร้องนี้ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จำเลยทราบดีว่าที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินมีเพียง 2 ไร่ โดยด้านทิศตะวันออกจดภูเขาด้านทิศเหนือจดถนนสาธารณประโยชน์และภูเขา ตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ขณะเจ้าหน้าที่บริหารที่ดินอำเภอไปตรวจสอบที่ดินที่เกิดเหตุตามคำสั่งของนายอำเภอพบมีการบุกรุกไถภูเขาซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกและตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยนำรังวัด ที่ดินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยเพียง 3 ด้าน โดยจำเลยทราบดีว่าหากจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ด้าน ที่ดินของจำเลยจะมีเนื้อที่มากกว่าที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินของจำเลยนอกจากนี้หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า จำเลยบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ทางอำเภอแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินที่เกิดเหตุจำเลยทราบแล้วไม่ยอมรื้อถอนและไม่ยอมออกไป พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ แม้จำเลยจะอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่จะทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเช็คยังไม่โอน การยึดเช็คไว้ไม่เป็นลักทรัพย์
โจทก์รับจ้างซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารให้บริษัท ส.ต่อมาโจทก์ได้ให้ น. ลูกจ้างโจทก์ไปรับเงินค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารจากบริษัท ส. น. ไปพบจำเลยซึ่งนั่งอยู่ที่ห้องฝ่ายการเงิน จำเลยให้ น. ลงชื่อในเอกสารเพื่อรับเช็คแล้วจำเลยไม่ยอมส่งมอบเช็คให้แก่ น. โดยอ้างว่าจำเลยจะติดต่อโจทก์เอง ดังนี้ แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คที่บริษัท ส. ออกให้เพื่อชำระค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารให้แก่โจทก์ก็ตามแต่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเช็คให้โจทก์อีกทั้ง น. ลูกจ้างของโจทก์ ก็ยังไม่ได้เข้ายึดถือครอบครองเอาเช็คพิพาทไว้ โจทก์จึงยังไม่เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในเช็คพิพาทยังอยู่ในความครอบครองของ บริษัท ส.การที่จำเลยให้ น.ลงชื่อในเอกสารว่าได้รับเช็คพิพาทแต่จำเลยก็ยึดถือเช็คพิพาทไว้ ไม่ส่งมอบให้น.ตัวแทนโจทก์ก็ยังไม่ถือว่าการครอบครองในเช็คพิพาทได้ผ่านมือไปยังโจทก์โดยแท้จริงแน่นอน เพราะเช็คพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส.ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยอยู่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเช็คยังไม่ส่งมอบ การกระทำไม่ถึงขั้นลักทรัพย์
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่บริษัท ส. ออกเพื่อชำระค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารให้แก่โจทก์ แต่เมื่อยังไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์อีกทั้ง น. ลูกจ้างโจทก์ยังไม่ได้เข้ายึดถือครอบครองเอาเช็คพิพาทไว้แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในเช็คพิพาทยังอยู่ในความครอบครองของบริษัท ส. การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายการเงินของบริษัท ส. ให้ น. ลงชื่อในเอกสารว่าได้รับเช็คพิพาท แต่จำเลยยังยึดถือเช็คพิพาทไว้ไม่ส่งมอบให้ น. ตัวแทนโจทก์ จึงยังไม่ถือว่าการครอบครองในเช็คพิพาทได้ผ่านมือไปยังโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่ เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบเช็คและการครอบครองกรรมสิทธิ์: การส่งมอบเช็คไม่สมบูรณ์ยังไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในเช็คเปลี่ยนมือ
โจทก์รับจ้างซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารให้บริษัท ส. ต่อมาโจทก์ได้ให้ น.ลูกจ้างโจทก์ไปรับเงินค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารจากบริษัท ส. น.ไปพบจำเลยซึ่งนั่งอยู่ที่ห้องฝ่ายการเงิน จำเลยให้ น.ลงชื่อในเอกสารเพื่อรับเช็คแล้วจำเลยไม่ยอมส่งมอบเช็คให้แก่ น. โดยอ้างว่าจำเลยจะติดต่อโจทก์เอง ดังนี้ แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คที่บริษัท ส.ออกให้เพื่อชำระค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารให้แก่โจทก์ก็ตามแต่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเช็คให้โจทก์ อีกทั้ง น.ลูกจ้างของโจทก์ก็ยังไม่ได้เข้ายึดถือครอบครองเอาเช็คพิพาทไว้ โจทก์จึงยังไม่เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในเช็คพิพาทยังอยู่ในความครอบครองของบริษัท ส. การที่จำเลยให้ น.ลงชื่อในเอกสารว่าได้รับเช็คพิพาทแต่จำเลยก็ยึดถือเช็คพิพาทไว้ ไม่ส่งมอบให้ น.ตัวแทนโจทก์ก็ยังไม่ถือว่าการครอบครองในเช็คพิพาทได้ผ่านมือไปยังโจทก์โดยแท้จริงแน่นอน เพราะเช็คพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส. ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยอยู่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอำนาจฟ้อง & ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ & ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในคำให้การ
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างในฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องไม่ตรงกับที่จำเลยได้ให้การไว้ จึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด และคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใดเช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยก ป.พ.พ.มาตรา 1087 มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น
of 69