พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 หลังศาลมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับแรกขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้อง ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์โดย อ้างว่า การส่งมอบไม่ถูกต้องเพราะคดียังไม่ถึงที่สุดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบห้อง พิพาททั้งสิบห้าห้องรวมทั้งทรัพย์สินให้แก่โจทก์แล้ว จึง ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาและไต่สวนคำร้องของ ผู้ร้องอีกต่อไป ให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดในประเด็นที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้อง ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์แล้ว หากผู้ร้องไม่พอใจอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้น ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ผู้ร้อง กลับมายื่นคำร้องอีกฉบับว่าการส่งมอบห้องพิพาทไม่ถูกต้อง ผู้ร้องยังครอบครองห้องพิพาทอีก 4 ห้อง การบังคับคดียังไม่ เสร็จสิ้น และการด่วนคืนห้องพิพาทให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง ขอให้ไต่สวนคำร้องของ ผู้ร้องฉบับแรกและคืน ห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องให้แก่ผู้ร้อง คำร้องฉบับหลังจึง มีข้ออ้างเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก แม้จะมีคำขอต่างกัน โดยขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกและขอให้คืนห้องพิพาททั้ง สิบห้าห้อง ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึง เป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี หรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และปัญหาเรื่องการดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต้องรู้ว่าเท็จและเจตนาให้ผู้อื่นรับโทษ การแจ้งความตามเหตุการณ์ที่เข้าใจไม่ถือเป็นความผิด
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และ 174 นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่ แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน โดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจ หน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลย โดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความ อันเป็นเท็จดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องรู้ข้อเท็จจริงเป็นเท็จและเจตนาทำให้ผู้อื่นต้องรับโทษ
การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 และ 174นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันชำระหนี้ทางแพ่ง ไม่ถือเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์และจำเลยแถลงต่อศาลตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินตีใช้หนี้ผู้เสียหายบางส่วน แต่ผู้เสียหายแถลงว่าเกรงว่าที่ดินจะมีปัญหา จึงขอให้จำเลยชำระเป็นเงินสด จำเลยยอมรับว่าจะชดใช้เงินสด โดยผ่อนชำระเป็น 3 งวด โดยจำเลยจะนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหายที่บ้าน งวดที่ 2 จำเลยจะนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหายที่ศาล งวดที่ 3 ชำระส่วนที่เหลือพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระงวดที่ 1และงวดที่ 2 แล้ว จำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินที่ค้างชำระอีกด้วยนั้น กรณีเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายผ่อนผันการชำระเงินทางแพ่งเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยจึงถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันการชำระหนี้ทางแพ่ง ไม่ถือเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์และจำเลยแถลงต่อศาลตามรายงานกระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้นว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินตีใช้หนี้ผู้เสียหายบางส่วน แต่ผู้เสียหายแถลงว่าเกรงว่าที่ดินจะมีปัญหาจึงขอให้จำเลยชำระเป็นเงินสด จำเลยยอมรับว่าจะชดใช้เงินสดโดยผ่อนชำระเป็น 3 งวด โดยจำเลยจะนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหาย ที่บ้าน งวดที่ 2 จำเลยจะนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหายที่ศาล งวดที่ 3 ชำระส่วนที่เหลือพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระงวดที่ 1 และงวดที่ 2 แล้วจำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินที่ค้างชำระอีกด้วยนั้น กรณีเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายผ่อนผันการชำระเงินทางแพ่งเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาศาล แม้ขาดอายุความเดิม ก็ยังขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นของ จ.พ.ท.เสนอต่อศาล จ.พ.ท.มีอำนาจเต็มที่ที่จะสอบสวนและมีความเห็นในเรื่องหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งตามมาตรา 106 และมาตรา 107แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่จ.พ.ท.สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด คดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จ.พ.ท.จะยกอายุความมาเป็นเหตุขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่จ.พ.ท.สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด คดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จ.พ.ท.จะยกอายุความมาเป็นเหตุขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย แม้ขาดอายุความ ก็ยังขอรับชำระหนี้ได้ หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอต่อศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเต็มที่ที่จะสอบสวนและมีความเห็นในเรื่องหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งตามมาตรา106 และมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดคดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา 94(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยกอายุความเป็นเหตุ ขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งจำนำทรัพย์ไม่เกี่ยวเนื่องกับความรับผิดฝากทรัพย์ ศาลไม่รับฟ้องแย้งชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับฝากสินค้าปุ๋ยของโจทก์ไว้ในคลังสินค้าของจำเลยโดยได้รับบำเหน็จ จำเลยหา ได้ใช้ ความระมัดระวังและฝีมือเพื่อสงวนรักษาปุ๋ยของโจทก์ เหมือนเช่นวิญญูชนพึงประพฤติ เป็นเหตุให้ปุ๋ยของโจทก์ ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายไปบางส่วน ซึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยรับฝากปุ๋ยของโจทก์ตามฟ้อง ขณะเกิดเหตุอุทกภัยจำเลย ได้ใช้ความระมัดระวังเช่นวิญญูชนพึงประพฤติและใช้ฝีมือพิเศษเฉพาะการณ์แล้วแต่น้ำได้เพิ่มสูงรวดเร็วและไหลแรงสุดวิสัยที่จะป้องกันได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดกับโจทก์ได้สลักหลังใบประทวนสินค้าและทำสัญญาจำนำสินค้าดังกล่าวมอบไว้กับจำเลย โจทก์รับเงินไปครบถ้วนแล้วแต่โจทก์ไม่ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยบางส่วนดังนี้แม้ทรัพย์ที่ฝากและทรัพย์ที่จำนำจะเป็นทรัพย์รายเดียวกันแต่มูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้รับผิดตามฟ้องและฟ้องแย้งนั้น โจทก์จำเลยต่างอาศัยมูลเหตุของสัญญาต่างกัน ฟ้องแย้งเกี่ยวกับเรื่องโจทก์ผิดสัญญาจำนำจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมซึ่งเป็นเรื่องความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ ทั้งฟ้องแย้งเกี่ยวกับจำนำเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังการฝากทรัพย์แล้วจึงไม่เกี่ยวพันกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามและมาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยกู้เงิน: สัญญาจำนองเป็นประกัน ต้องดูอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินเป็นหลัก แม้มีข้อตกลงดอกเบี้ยสูงกว่า
สัญญากู้เงินเป็นหนี้ประธาน ส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เพียงใด ต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ12.75 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ย ขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์ มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ย เงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงินถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้และจำนอง: ข้อตกลงดอกเบี้ยเป็นสาระสำคัญ ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงตามสัญญา
สัญญากู้เงินเป็นหนี้ประธาน ส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เพียงใด ต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ 12.75ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ
แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงิน ถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยได้
เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ 12.75ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ
แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงิน ถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยได้