คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ vs. พยายามชิงทรัพย์: การยึดถือทรัพย์สินยังไม่สำเร็จ
จำเลยใช้ลูกเหล็กของกลางทุบตีที่บริเวณใบหน้า ของผู้เสียหายที่ 1 แล้วกระชากสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายที่ 1สวมอยู่ที่คอจนขาด แต่สร้อยคอหลุดมือตกลงที่พื้นจำเลยที่ 1 ก้มลงเก็บ ผู้เสียหายที่ 1 ร้องขอความช่วยเหลือและเข้ากอดเอวและดึงเสื้อของจำเลยไว้ผู้เสียหายที่ 2 เข้ามาช่วย จำเลยสะบัดหลุด แล้ววิ่งหนีไป แม้ขณะสร้อยคอทองคำหลุดจากคอผู้เสียหายที่ 1สร้อยคอทองคำจะอยู่ที่มือจำเลยตอนกระชากก็เป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายจะให้สร้อยคอหลุดจากคอผู้เสียหายที่ 1 แต่หลังจากกระชากแล้วสร้อยคอหลุดจากมือจำเลยตกลงที่พื้นแล้วจำเลยยังไม่ทันยึดถือเอาสร้อยคอทองคำไป การที่จำเลยเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปไม่ได้ก็เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1กอดเอวและดึงเสื้อของจำเลยไว้โดยมีผู้เสียหายที่ 2เข้ามาช่วย เห็นได้ว่า จำเลยได้ลงมือกระทำความผิดแล้วแต่การยึดถือเอาสร้อยคอทองคำนั้นไปยังไม่บรรลุผลการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามชิงทรัพย์: การกระทำยังไม่บรรลุผลเนื่องจากไม่ได้ยึดถือทรัพย์สิน
จำเลยใช้ลูกเหล็กของกลางทุบตีที่บริเวณใบหน้าของผู้เสียหายที่ 1 แล้วกระชากสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายที่ 1 สวมอยู่ที่คอจนขาด แต่สร้อยคอหลุดมือตกลงที่พื้น จำเลยที่ 1 ก้มลงเก็บ ผู้เสียหายที่ 1 ร้องขอความช่วยเหลือและเข้ากอดเอวและดึงเสื้อของจำเลยไว้ ผู้เสียหายที่ 2 เข้ามาช่วย จำเลยสะบัดหลุดแล้ววิ่งหนีไป แม้ขณะสร้อยคอทองคำหลุดจากคอผู้เสียหายที่ 1 สร้อยคอทองคำจะอยู่ที่มือจำเลยตอนกระชาก ก็เป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายจะให้สร้อยคอหลุดจากคอผู้เสียหายที่ 1 แต่หลังจากกระชากแล้วสร้อยคอหลุดจากมือจำเลยตกลงที่พื้นแล้วจำเลยยังไม่ทันยึดถือเอาสร้อยคอทองคำไป การที่จำเลยเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปไม่ได้ก็เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 กอดเอวและดึงเสื้อของจำเลยไว้โดยมีผู้เสียหายที่ 2 เข้ามาช่วย เห็นได้ว่า จำเลยได้ลงมือกระทำความผิดแล้วแต่การยึดถือเอาสร้อยคอทองคำนั้นไปยังไม่บรรลุผล การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2713/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมในคดีอาญา: การพิสูจน์ความเสียหายโดยตรงและการฎีกาเมื่อศาลยกฟ้อง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,8ทวิ,72,72 ทวิ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายตามกฎหมาย จึงเป็นโจทก์ร่วมในความผิดฐานดังกล่าวไม่ได้ ส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้าม มิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาในความผิดฐานดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ภาระหนี้สินล้นพ้นตัวและความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ตกลงเห็นชอบยอมรับคำขอประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 58 กรณีต้องถือว่าคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้นเป็นอันยกเลิกไปในตัว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับเป็นผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตนขึ้นตามเดิมและมีความสามารถประกอบกิจการหรือจัดการทรัพย์สินของตนได้ต่อไป
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่มีความสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลเห็นชอบด้วยก็ตามแต่การประนอมหนี้ดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 59
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาคดีแพ่งซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่ง ตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับและหาใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อขยายอายุความในคดีแพ่งไม่ ส่วนสิทธิในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับนั้น เป็นปัญหาในชั้นที่โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลต่ออำนาจของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินและภาระจำยอมสาธารณูปโภค: สิทธิการใช้สโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมของเจ้าของที่ดิน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 ประกอบข้อ 30วรรคหนึ่ง กรณีที่ถือว่าเข้าหลักเกณฑ์เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ สาระสำคัญอยู่ที่การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่10 แปลงขึ้นไป และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรม เมื่อมีการกระทำครบหลักเกณฑ์ดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามความหมายหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนผู้จัดสรรจะขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต่อคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของผู้จัดสรรไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้นำที่ดินของตนมาแบ่งเป็นแปลงย่อยคนละ 5 แปลง รวมเป็น 10 แปลง แล้วให้บริษัท ส.ทำการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านโดยที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ได้มีการก่อสร้างบ้านจำนวน 9 หลังลงในที่ดิน 10 แปลง การจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ทางผู้จัดสรรขายได้มีการแยกทำสัญญาเป็น 3 ฉบับ คือให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 3 หรือที่ 4 ส่วนการปลูกสร้างบ้านให้ผู้ซื้อทำสัญญาว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.เป็นผู้รับจ้างปลูกสร้างบ้าน และให้บริษัท ส.เป็นผู้รับจ้างทำถนน น้ำ ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ตลอดจนปรับปรุงที่ดินเพื่อแบ่งเบาภาระในเรื่องภาษี แต่การดำเนินจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านของบริษัท ส. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ล้วนกระทำการโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ส. อันมีจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 รู้เห็นและมีส่วนร่วมในการจัดสรรในโครงการการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่นำมาจัดสรรขายปรากฏว่าได้นำที่ดินซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ดังกล่าวนำเข้าโครงการเพื่อจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์และผู้ซื้อทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการโฆษณาว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมบริการแก่ผู้ซื้ออีกด้วย ซึ่งต่อมาว่าได้มีการจัดสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะดังกล่าวขึ้นตามที่ได้โฆษณาหรือให้คำมั่นไว้แล้วดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกับบริษัท ส. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ดำเนินการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านในโครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว และได้แสดงเจตนาออกอย่างชัดแจ้งว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินและบ้านจากโครงการได้ใช้ประโยชน์จากสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมร่วมกัน ย่อมเข้าหลักเกณฑ์เป็นสาธารณูปโภคตามบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 ฉะนั้น สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อม จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรของโจทก์ทั้งสามโดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
จำเลยทั้งหกได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่286 ข้อ 30 โดยนำที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม ในส่วนที่ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 6อีกทั้งมีการห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามใช้สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมกับได้สร้างกำแพงคอนกรีตปิดกั้นมิให้โจทก์ทั้งสามเข้าไปอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นนั้นได้
แม้การจัดสรรจะปลูกสร้างบ้านขายเพียง 9 หลัง แต่จำเลยที่ 3และจำเลยที่ 4 ได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยจำนวนคนละ 5 แปลง จึงเท่ากับ10 แปลง กรณีถือได้ว่าเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวน10 แปลงขึ้นไป แม้บ้านเลขที่เดียวจะตั้งอยู่บนที่ดิน 2 โฉนด ในพื้นที่จำนวน 1 แปลงเหมือนกับแปลงอื่น ๆ ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งหมดร่วมกันจัดสรรโดยมีการโฆษณาให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับโครงการ และต่อมาได้จัดให้มีสาธารณูปโภคดังกล่าวแล้ว แต่ห้ามโจทก์ทั้งสามเข้าไปใช้ทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อมาจากการจัดสรรของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหมดไม่มีสิทธิกระทำได้เพราะสาธารณูปโภคดังกล่าวตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 จำเลยทั้งหมดจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้ โดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกจดทะเบียนที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ ฉละสวนหย่อม ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ทั้งสามและห้ามจำเลยทั้งหกกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การใช้ประโยชน์ในสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกโจทก์ทั้งสามได้บรรยายฟ้องถึงเหตุและสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่จะขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยทั้งหกว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิหรือเหตุอย่างไร จำเลยทั้งหกย่อมทราบเรื่องดีอยู่แล้ว มิใช่โจทก์ทั้งสามเพิ่งจะมากล่าวอ้างเมื่อฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยทั้งหกจะให้การต่อสู้คดีได้แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินพร้อมสาธารณูปโภค การตกอยู่ในภารจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ และสิทธิของผู้ซื้อ
กรณีที่จะถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 นั้น สาระสำคัญอยู่ที่การจัดจำหน่าย ที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวน ตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกว่าจะจัดให้มี สาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้น เป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบ การอุตสาหกรรม ส่วนผู้จัดสรรจะขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน ต่อคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากจะเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของผู้จัดสรรไม่เป็นการจัดสรร ที่ดินตามกฎหมาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้นำที่ดินของตนมาแบ่งเป็นแปลงย่อย คนละ 5 แปลง รวมเป็น 10 แปลง แล้วให้บริษัท ส.ทำการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านโดยที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ได้มีการก่อสร้างบ้านจำนวน 9 หลัง ลงในที่ดิน10 แปลง การจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ทางผู้จัดสรรขายได้มีการแยกทำสัญญาเป็น 3 ฉบับ คือให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 3 หรือที่ 4 ส่วน การปลูกสร้างบ้านให้ผู้ซื้อทำสัญญาว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นผู้รับจ้างปลูกสร้างบ้าน และให้บริษัท ส. เป็นผู้รับจ้าง ทำถนน น้ำ ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ตลอดจนปรับปรุงที่ดิน เพื่อแบ่งเบาภาระในเรื่องภาษี แต่การดำเนินจัดจำหน่าย ที่ดินและบ้านของบริษัท ส.กับห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ล้วนกระทำการโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ของบริษัท ส. อันมีจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย การที่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 รู้เห็นและมีส่วนร่วมในการจัดสรรในโครงการ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้นำที่ดินซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อย รวม 10 แปลง เข้าโครงการเพื่อจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ให้แก่โจทก์และผู้ซื้อทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการโฆษณาว่า จะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมบริการแก่ผู้ซื้อ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ดังกล่าวขึ้นตามที่ได้โฆษณาหรือให้คำมั่นไว้แล้ว ดังนี้ สโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม จึงตกอยู่ในภารจำยอม เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรของโจทก์ทั้งสามโดยผล แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว จำเลยทั้งหกได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 โดยนำที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสรสระว่ายน้ำ และสวนหย่อม ในส่วนที่ตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 6 ทั้งห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามใช้สโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม กับได้สร้างกำแพงคอนกรีตปิดกั้นมิให้โจทก์ทั้งสามเข้าไปอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกไปโจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นนั้นได้ แม้การจัดสรรจะปลูกสร้างบ้านขายเพียง 9 หลังแต่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยจำนวนคนละ 5 แปลง จึงเท่ากับ 10 แปลง กรณีถือได้ว่าเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อมมีจำนวน10 แปลงขึ้นไป แม้บ้านเลขที่เดียวจะตั้งอยู่บนที่ดิน 2 โฉนดในพื้นที่จำนวน 1 แปลง เหมือนกับแปลงอื่น ๆ ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนเลิกแล้ว การชำระบัญชีไม่เสร็จ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างต่อนายทะเบียนไว้แล้วก่อนจะถูกโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแต่การชำระบัญชีก็ยังไม่เสร็จ ถือได้ว่าสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอยู่ต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แต่ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ย่อมต้องห้าม อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่เฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และผลกระทบต่อการอุทธรณ์คดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท และห้ามจำเลยกับบริวาร เข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของบุตรจำเลยส่วนบ้านพิพาทเป็นของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดทุนทรัพย์บ้านพิพาทไว้ในราคา 70,000 บาท ดังนี้ แม้จะเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท แต่เมื่อจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทว่าเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่ราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาททำให้ราคาทรัพย์เกินเกณฑ์อุทธรณ์ได้ แม้คดีเดิมเป็นคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของบุตรจำเลย ส่วนบ้านพิพาทเป็นของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดทุนทรัพย์บ้านพิพาทไว้ในราคา 70,000บาท ดังนี้ แม้จะเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท แต่เมื่อจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทว่าเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่ราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานสนับสนุนคำบอกเล่าของผู้ตายก่อนเสียชีวิตยืนยันตัวผู้กระทำผิดประกอบกับพฤติการณ์หลบหนีของจำเลยพิสูจน์ความผิดได้
คำบอกยืนยันตัวคนร้ายต่อพยานทั้งสองโดยมิได้ลังเลใจ แสดงว่าผู้ตายจำหน้าคนร้ายได้แน่นอนว่าเป็นจำเลยจริง คำบอกเล่าในลักษณะเช่นนี้ย่อมรับฟังได้ในฐานะที่เป็นคำกล่าว ในเวลาใกล้ชิดกับเหตุ โดยไม่มีโอกาสที่ผู้บอกเล่าจะคิด ใส่ความปรักปรำได้ทัน ย่อมเป็นพฤติการณ์รับฟังประกอบพยาน หลักฐานอื่นได้ จำเลยเป็นฝ่ายได้รับอันตรายแก่กาย ส่วนผู้ตายไม่ได้รับอันตราย จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องหวาดกลัวว่าผู้ตายและญาติผู้ตายจะมาทำร้ายจำเลยอีกพฤติการณ์ของจำเลย ที่หลบหนีโดยไม่ยอมกลับไปทำงานน่าจะเป็นเพราะจำเลยตี ทำร้ายร่างกายผู้ตายในคืนเกิดเหตุ โดยกลัวว่าจะถูกเจ้าพนักงาน ตำรวจจับได้มากกว่า ประกอบกับในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การ รับสารภาพว่าเป็นผู้ทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตายโดยมี สาเหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาทและยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกัน กับชื่อซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดตามระบุไว้ในหมายจับจริงจึงเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ แม้จำเลยจะถูกจับ ภายหลังเกิดเหตุเกือบ 10 ปี แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ประกอบพฤติเหตุแวดล้อมกรณี ฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลย เป็นคนร้ายรายนี้ ข้อนำสืบปฏิเสธของจำเลยไม่มีน้ำหนัก หักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
of 69