พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล F.I.O.S.T. ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายและสูญหายของสินค้า
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ประกันภัย รับช่วงสิทธิ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลททาง online ++
++
++
++
++ คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยจำนวน 582,295.18บาท และรับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนลโปรดักส์ ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งจำนวน 35,390.02 บาท มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นคดีเดียวกัน
++ การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในการรับช่วงสิทธิแต่ละรายแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์มาฟ้องเป็นคดีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท คดีในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
++ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า กากเม็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายและไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
++
++ สำหรับกรณีโจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัดนั้น ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยกากถั่วเหลืองจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ที่จำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยใช้เรือเตาฮัวหลิงจากเมืองแดนดอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังท่าเรือในประเทศไทย เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงท่าเรือในประเทศไทย ปรากฏว่าบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ได้รับมอบกากถั่วเหลืองไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 โดยขาดไป 123.57เมตริกตัน โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน582,295.15 บาท ให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 และรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลอันจะทำให้จำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดสำหรับความสูญหายดังกล่าวต่อบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งหรือไม่ เพียงใด
++ เห็นว่า โจทก์มีใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16ถึง จ.19 ใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง 11 และหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงว่าบริษัทเซรอยฟู๊ด เลียนนิ่ง เซรีลส์ แอนด์ ออยล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตจำกัด ผู้ส่งได้ส่งกากถั่วเหลืองจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน มาให้บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ทางเรือเดินทะเลชื่อเตาฮัวหลิง โดยผู้แทนเรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งได้ลงชื่อออกใบตราส่งเอกสารหมายจ.16 ถึง จ.19 ระบุว่า กากถั่วเหลืองดังกล่าวได้บรรทุกบนเรือในลักษณะเทกอง (IN BULK) รวมน้ำหนัก 4,773.150 เมตริกตัน ตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2536 แม้จะได้ความว่า การขนส่งรายนี้เป็นการขนส่งแบบF.I.O.S.T. ซึ่งผู้ส่งมีหน้าที่บรรทุกของลงเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็ตาม แต่ก่อนการบรรทุกกากถั่วเหลืองลงเรือก็ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักของกากถั่วเหลืองโดยนำไปชั่งน้ำหนักบนตาชั่งที่ตรวจสอบแล้วและชั่งน้ำหนักได้ 4,773.150 เมตริกตัน ปรากฏตามหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักของสำนักงานตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสาขาเลียนนิ่ง เอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 การที่เรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 ให้แก่ผู้ส่งสินค้าโดยระบุว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งกากถั่วเหลืองลงเรือแล้วในลักษณะเทกอง และระบุจำนวนน้ำหนักไว้ชัดเจนว่ากากถั่วเหลืองมีน้ำหนักจำนวน4,773.150 เมตริกตัน ตรงกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 และใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.11 ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ระบุโดยผู้ส่ง
++ จึงเชื่อได้ว่าผู้ส่งของได้ส่งมอบกากถั่วเหลืองลงเรือเตาฮัวหลิงครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งคือจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน แต่ต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงประเทศไทย นายสราวุธ ภู่เจริญยศ พนักงานของบริษัท พี แอนด์ เอ แอดจัสเม้นท์ จำกัด ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้สำรวจความเสียหายของสินค้าพยานโจทก์เบิกความว่า นายสราวุธได้ทำการสำรวจกากถั่วเหลืองแล้ว ปรากฏว่ากากถั่วเหลืองที่ขนถ่ายออกจากเรือทั้งหมดมีน้ำหนัก 4,649.58 เมตริกตัน ขาดจำนวนจากใบตราส่งไป123.57 เมตริกตัน หรือร้อยละ 2.59 ตามรายงานการสำรวจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24
++ นายสราวุธเป็นพนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจความสูญหายและเสียหายของสินค้าไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด คำเบิกความจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
++ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายขาดจำนวนไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลซึ่งจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยทางทะเลไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิดังกล่าวของผู้เอาประกันมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่งสินค้านั้นได้
++ ส่วนปัญหาว่า เรียกร้องได้เพียงใดนั้น
++ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายสราวุธประกอบรายงานการสำรวจเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24 ว่า ในการขนถ่ายสินค้าใช้เครื่องตักก้ามปูตักกากถั่วเหลืองจากเรือลงรถยนต์บรรทุกแล้วแล่นไปชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การขนถ่ายโดยวิธีการใช้เครื่องตักดังกล่าวทำให้กากถั่วเหลืองร่วงหล่นสูญเสียไปบ้างเล็กน้อยซึ่งผู้รับตราส่งต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนนี้เอง เพราะเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือตามข้อตกลงในการขนส่งแบบ F.I.O.S.T. ก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้หักค่าเสียหายส่วนนี้ให้แล้ว โดยหักเป็นความเสียหายส่วนแรกที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามเงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 จำนวนร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้าทั้งหมดซึ่งคิดเป็นจำนวน 47.731 เมตริกตัน ออกจากน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนทั้งหมด คงเหลือน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนสุทธิ 75.839 เมตริกตัน คำนวณเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งสิ้น 582,295.15 บาท รายละเอียดปรากฏตามหนังสือเรียกร้องเอกสารหมาย จ.29 และ จ.30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลททาง online ++
++
++
++
++ คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยจำนวน 582,295.18บาท และรับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนลโปรดักส์ ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งจำนวน 35,390.02 บาท มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นคดีเดียวกัน
++ การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในการรับช่วงสิทธิแต่ละรายแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์มาฟ้องเป็นคดีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท คดีในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
++ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า กากเม็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายและไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
++
++ สำหรับกรณีโจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัดนั้น ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยกากถั่วเหลืองจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ที่จำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยใช้เรือเตาฮัวหลิงจากเมืองแดนดอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังท่าเรือในประเทศไทย เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงท่าเรือในประเทศไทย ปรากฏว่าบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ได้รับมอบกากถั่วเหลืองไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 โดยขาดไป 123.57เมตริกตัน โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน582,295.15 บาท ให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 และรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลอันจะทำให้จำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดสำหรับความสูญหายดังกล่าวต่อบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งหรือไม่ เพียงใด
++ เห็นว่า โจทก์มีใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16ถึง จ.19 ใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง 11 และหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงว่าบริษัทเซรอยฟู๊ด เลียนนิ่ง เซรีลส์ แอนด์ ออยล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตจำกัด ผู้ส่งได้ส่งกากถั่วเหลืองจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน มาให้บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ทางเรือเดินทะเลชื่อเตาฮัวหลิง โดยผู้แทนเรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งได้ลงชื่อออกใบตราส่งเอกสารหมายจ.16 ถึง จ.19 ระบุว่า กากถั่วเหลืองดังกล่าวได้บรรทุกบนเรือในลักษณะเทกอง (IN BULK) รวมน้ำหนัก 4,773.150 เมตริกตัน ตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2536 แม้จะได้ความว่า การขนส่งรายนี้เป็นการขนส่งแบบF.I.O.S.T. ซึ่งผู้ส่งมีหน้าที่บรรทุกของลงเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็ตาม แต่ก่อนการบรรทุกกากถั่วเหลืองลงเรือก็ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักของกากถั่วเหลืองโดยนำไปชั่งน้ำหนักบนตาชั่งที่ตรวจสอบแล้วและชั่งน้ำหนักได้ 4,773.150 เมตริกตัน ปรากฏตามหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักของสำนักงานตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสาขาเลียนนิ่ง เอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 การที่เรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 ให้แก่ผู้ส่งสินค้าโดยระบุว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งกากถั่วเหลืองลงเรือแล้วในลักษณะเทกอง และระบุจำนวนน้ำหนักไว้ชัดเจนว่ากากถั่วเหลืองมีน้ำหนักจำนวน4,773.150 เมตริกตัน ตรงกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 และใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.11 ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ระบุโดยผู้ส่ง
++ จึงเชื่อได้ว่าผู้ส่งของได้ส่งมอบกากถั่วเหลืองลงเรือเตาฮัวหลิงครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งคือจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน แต่ต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงประเทศไทย นายสราวุธ ภู่เจริญยศ พนักงานของบริษัท พี แอนด์ เอ แอดจัสเม้นท์ จำกัด ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้สำรวจความเสียหายของสินค้าพยานโจทก์เบิกความว่า นายสราวุธได้ทำการสำรวจกากถั่วเหลืองแล้ว ปรากฏว่ากากถั่วเหลืองที่ขนถ่ายออกจากเรือทั้งหมดมีน้ำหนัก 4,649.58 เมตริกตัน ขาดจำนวนจากใบตราส่งไป123.57 เมตริกตัน หรือร้อยละ 2.59 ตามรายงานการสำรวจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24
++ นายสราวุธเป็นพนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจความสูญหายและเสียหายของสินค้าไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด คำเบิกความจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
++ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายขาดจำนวนไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลซึ่งจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยทางทะเลไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิดังกล่าวของผู้เอาประกันมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่งสินค้านั้นได้
++ ส่วนปัญหาว่า เรียกร้องได้เพียงใดนั้น
++ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายสราวุธประกอบรายงานการสำรวจเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24 ว่า ในการขนถ่ายสินค้าใช้เครื่องตักก้ามปูตักกากถั่วเหลืองจากเรือลงรถยนต์บรรทุกแล้วแล่นไปชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การขนถ่ายโดยวิธีการใช้เครื่องตักดังกล่าวทำให้กากถั่วเหลืองร่วงหล่นสูญเสียไปบ้างเล็กน้อยซึ่งผู้รับตราส่งต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนนี้เอง เพราะเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือตามข้อตกลงในการขนส่งแบบ F.I.O.S.T. ก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้หักค่าเสียหายส่วนนี้ให้แล้ว โดยหักเป็นความเสียหายส่วนแรกที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามเงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 จำนวนร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้าทั้งหมดซึ่งคิดเป็นจำนวน 47.731 เมตริกตัน ออกจากน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนทั้งหมด คงเหลือน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนสุทธิ 75.839 เมตริกตัน คำนวณเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งสิ้น 582,295.15 บาท รายละเอียดปรากฏตามหนังสือเรียกร้องเอกสารหมาย จ.29 และ จ.30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์หนังสือเรียน: การปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อยไม่ถือเป็นการสร้างสรรค์งานใหม่ นายจ้างไม่มีสิทธิเผยแพร่
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่งหมายความว่า งานใดเข้าลักษณะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทใดประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 หรือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 และยังได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ใช้บังคับ ก็คงให้ได้รับความคุ้มครองต่อไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนมาตรา 78 วรรคสองหมายความว่า งานใดที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ใช้บังคับและไม่มีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าวแต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ก็ให้งานนั้นได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537แต่ทั้งนี้นับแต่วันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีผลใช้บังคับไม่ใช่นับแต่วันที่งานนั้นได้สร้างขึ้น
การพิจารณาว่าหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์เป็นตำราเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 โดยวางรากฐานการเรียนการสอนเป็นขั้นตอนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรชั้นประถมศึกษา มีเนื้อหาสาระของตัวอย่างการคิดและวิเคราะห์ แบบทดสอบคิดเลขเร็ว และโจทก์ปัญหาในภาคผนวกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะในสายการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยให้นักเรียนมีแนวการคิดและมีการวิเคราะห์หาคำตอบได้รวดเร็ว และดัดแปลงวิธีการคิดให้เป็นแนวทางของตนเองได้ ทั้งเป็นงานที่ทำให้เกิดความเข้าใจในการคิดเลข มีความสัมพันธ์กันตามลำดับความง่ายยากตามขั้นตอน จูงใจให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้มีความสามารถในการคิดเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การที่โจทก์นำตัวเลขรูปภาพสัญลักษณ์ โจทก์ปัญหาและเครื่องหมายต่าง ๆ กันมาปรับใช้โดยมีวิธีการคิดตามลำดับเพื่อให้เข้ากับหลักสูตรและพัฒนาเสริมสร้างทักษะในการเรียนตามวัยของเด็กนักเรียนในลำดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จากการใช้สอนในโรงเรียนมาเป็นเวลานานหลายปี เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์งานของโจทก์เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดคำนวณเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยแสดงออกซึ่งการริเริ่มของโจทก์เองอันเป็นงานวรรณกรรมตามความหมายในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานดังกล่าว หาใช่เป็นเพียงความคิด ขั้นตอนกรรมวิธี ระบบวิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการการค้นพบ หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ อันไม่ได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใดไม่ หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วจึงเป็นงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์
แม้สัญญาจะระบุชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์"แต่มีข้อความในรายละเอียดกำหนดจำนวนตำราคณิตคิดเลขเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ กำหนดเดือนและปีที่เริ่มจำหน่าย และการคิดเงินค่าลิขสิทธิ์ โจทก์มิได้ลงนามในฐานะผู้ขายและจำเลยที่ 1 มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่มและกำหนดจำนวนพิมพ์ของหนังสือแต่ละเล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ตามมาตรา 13(4) และ 14แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมทั้งหกเล่มของโจทก์และแนบสำเนาสัญญามาท้ายฟ้องซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์ก็ตาม ก็เป็นเพียงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของโจทก์ โจทก์มีเจตนาที่แท้จริงเพียงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์
แม้หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์จะมีการปรับปรุงใหม่โดยโจทก์และนักวิชาการของจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่เป็นการปรับปรุงโดยเปลี่ยนรูปแบบปกหนังสือใหม่และจัดรูปแบบหนังสือโดยแยกคำเฉลยออกพิมพ์ต่างหาก ส่วนเนื้อหาของหนังสือยังเหมือนเดิม หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงไม่ใช่เป็นงานสร้างสรรค์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงโดยปรับปรุงงานเดิมในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ แต่เป็นงานสร้างสรรค์หรืองานวรรณกรรมเดียวกันกับหนังสือฉบับเดิมนั่นเอง หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงมิใช่เป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในฐานะที่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่มีสิทธินำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ปรับปรุงใหม่ออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยพิมพ์ออกจำหน่ายในฐานะที่เป็นนายจ้างของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 7
การพิจารณาว่าหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์เป็นตำราเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 โดยวางรากฐานการเรียนการสอนเป็นขั้นตอนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรชั้นประถมศึกษา มีเนื้อหาสาระของตัวอย่างการคิดและวิเคราะห์ แบบทดสอบคิดเลขเร็ว และโจทก์ปัญหาในภาคผนวกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะในสายการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยให้นักเรียนมีแนวการคิดและมีการวิเคราะห์หาคำตอบได้รวดเร็ว และดัดแปลงวิธีการคิดให้เป็นแนวทางของตนเองได้ ทั้งเป็นงานที่ทำให้เกิดความเข้าใจในการคิดเลข มีความสัมพันธ์กันตามลำดับความง่ายยากตามขั้นตอน จูงใจให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้มีความสามารถในการคิดเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การที่โจทก์นำตัวเลขรูปภาพสัญลักษณ์ โจทก์ปัญหาและเครื่องหมายต่าง ๆ กันมาปรับใช้โดยมีวิธีการคิดตามลำดับเพื่อให้เข้ากับหลักสูตรและพัฒนาเสริมสร้างทักษะในการเรียนตามวัยของเด็กนักเรียนในลำดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จากการใช้สอนในโรงเรียนมาเป็นเวลานานหลายปี เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์งานของโจทก์เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดคำนวณเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยแสดงออกซึ่งการริเริ่มของโจทก์เองอันเป็นงานวรรณกรรมตามความหมายในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานดังกล่าว หาใช่เป็นเพียงความคิด ขั้นตอนกรรมวิธี ระบบวิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการการค้นพบ หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ อันไม่ได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใดไม่ หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วจึงเป็นงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์
แม้สัญญาจะระบุชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์"แต่มีข้อความในรายละเอียดกำหนดจำนวนตำราคณิตคิดเลขเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ กำหนดเดือนและปีที่เริ่มจำหน่าย และการคิดเงินค่าลิขสิทธิ์ โจทก์มิได้ลงนามในฐานะผู้ขายและจำเลยที่ 1 มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่มและกำหนดจำนวนพิมพ์ของหนังสือแต่ละเล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ตามมาตรา 13(4) และ 14แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมทั้งหกเล่มของโจทก์และแนบสำเนาสัญญามาท้ายฟ้องซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์ก็ตาม ก็เป็นเพียงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของโจทก์ โจทก์มีเจตนาที่แท้จริงเพียงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์
แม้หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์จะมีการปรับปรุงใหม่โดยโจทก์และนักวิชาการของจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่เป็นการปรับปรุงโดยเปลี่ยนรูปแบบปกหนังสือใหม่และจัดรูปแบบหนังสือโดยแยกคำเฉลยออกพิมพ์ต่างหาก ส่วนเนื้อหาของหนังสือยังเหมือนเดิม หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงไม่ใช่เป็นงานสร้างสรรค์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงโดยปรับปรุงงานเดิมในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ แต่เป็นงานสร้างสรรค์หรืองานวรรณกรรมเดียวกันกับหนังสือฉบับเดิมนั่นเอง หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงมิใช่เป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในฐานะที่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่มีสิทธินำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ปรับปรุงใหม่ออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยพิมพ์ออกจำหน่ายในฐานะที่เป็นนายจ้างของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ ไม่ใช่การซื้อขายลิขสิทธิ์ แต่เป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2534 มาตรา 26
การพิจารณาว่างานซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ปรับแก่กรณี แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
ในสัญญามีข้อความระบุถึงชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์" และมีข้อความในรายละเอียดกำหนดให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ตำราคณิตคิดเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 จำนวนของแต่ละระดับชั้นเล่มละ 3,000 เล่ม เริ่มจำหน่ายเดือนมกราคม 2535 และคิดเงินค่าแห่งลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่พิมพ์ขึ้นแต่ละเล่ม เอกสารดังกล่าวมิได้มีการลงนามโจทก์ในฐานะผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่ม และกำหนดให้พิมพ์หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เพียงเล่มละ 3,000 เล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามมาตรา 13 (4) และ 14 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงข้างต้นจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การพิจารณาว่างานซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ปรับแก่กรณี แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
ในสัญญามีข้อความระบุถึงชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์" และมีข้อความในรายละเอียดกำหนดให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ตำราคณิตคิดเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 จำนวนของแต่ละระดับชั้นเล่มละ 3,000 เล่ม เริ่มจำหน่ายเดือนมกราคม 2535 และคิดเงินค่าแห่งลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่พิมพ์ขึ้นแต่ละเล่ม เอกสารดังกล่าวมิได้มีการลงนามโจทก์ในฐานะผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่ม และกำหนดให้พิมพ์หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เพียงเล่มละ 3,000 เล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามมาตรา 13 (4) และ 14 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงข้างต้นจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีทรัพย์สินทางปัญญา: การบรรยายฟ้อง และหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำฟ้องในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 172 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ โจทก์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่จำต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 วรรคสอง ดังนี้หากโจทก์บรรยายฟ้องให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับก็เพียงพอที่จะให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว หากจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เข้าใจคำฟ้องในส่วนใด ศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ และจำเลยมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนคำฟ้องที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้ ตามข้อกำหนดดังกล่าวข้อ 6 วรรคสอง แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของ ข้อกำหนดดังกล่าวว่าประสงค์จะให้คู่ความแพ้ชนะกันในเนื้อหาแห่งคดี ไม่ถือเอาข้อบกพร่องในการบรรยายฟ้อง อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดี ดังนี้ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง แสดงว่าศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรกำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคล คนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบคนละ 30 บาท
โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายหรือ บ. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของธนาคารโจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการดำเนินคดี แก้ต่างคดีของโจทก์ ฟ้องแย้ง ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความรวมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย ในศาลทั่วราชอาณาจักร ต่อบุคคล นิติบุคคล กลุ่มคณะบุคคลใด ๆ ที่ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ต่อโจทก์ และกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ถึง 8 โดยให้ผู้รับมอบอำนาจคนใด คนหนึ่งมีอำนาจกระทำการดังกล่าวแทนโจทก์ในนามโจทก์ได้ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้ต่างคนกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(ค) ท้าย ป.รัษฎากรดังกล่าว เมื่อตามหนังสือ มอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ 2 คน คนใดคนหนึ่งทำการฟ้องคดีแพ่งและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท รวมจำนวน 60 บาท
โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์ได้ไป เสียอากรแสตมป์และเงินเพิ่มสำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 ก็ตาม แต่โจทก์ได้ดำเนินการดังกล่าวภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาคดีไปแล้ว โจทก์มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์เสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำหนังสือ มอบอำนาจนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสี่ก็ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจจึงเป็น ตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 118 กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจ ส. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรกำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคล คนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบคนละ 30 บาท
โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายหรือ บ. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของธนาคารโจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการดำเนินคดี แก้ต่างคดีของโจทก์ ฟ้องแย้ง ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความรวมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย ในศาลทั่วราชอาณาจักร ต่อบุคคล นิติบุคคล กลุ่มคณะบุคคลใด ๆ ที่ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ต่อโจทก์ และกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ถึง 8 โดยให้ผู้รับมอบอำนาจคนใด คนหนึ่งมีอำนาจกระทำการดังกล่าวแทนโจทก์ในนามโจทก์ได้ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้ต่างคนกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(ค) ท้าย ป.รัษฎากรดังกล่าว เมื่อตามหนังสือ มอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ 2 คน คนใดคนหนึ่งทำการฟ้องคดีแพ่งและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท รวมจำนวน 60 บาท
โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์ได้ไป เสียอากรแสตมป์และเงินเพิ่มสำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 ก็ตาม แต่โจทก์ได้ดำเนินการดังกล่าวภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาคดีไปแล้ว โจทก์มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์เสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำหนังสือ มอบอำนาจนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสี่ก็ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจจึงเป็น ตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 118 กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจ ส. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936-6937/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการรับขนของทางทะเล: การส่งมอบสินค้าและการเริ่มนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าเรือเกาะสีชังโดยขนถ่ายสินค้าจากเรือลงบรรทุกในเรือลำเลียงและการขนถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2539 ถือได้ว่า ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วในวันดังกล่าว ซึ่งผู้รับตราส่งต้องฟ้องผู้ขนส่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายแห่งสินค้าที่ขนส่งภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งจึงต้องฟ้องผู้ขนส่งภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์เป็นการขอแก้ไขวันและสถานที่ที่ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง จากวันที่ 7 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือเกาะสีชัง เป็นวันที่ 16 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่ง และการเริ่มนับอายุความในการฟ้องร้องผู้ขนส่ง ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ทั้งเป็นการขอแก้ไขภายหลังวันชี้สองสถาน ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบข้อเท็จจริงตามที่ขอแก้ไขคำฟ้อง ก็ปรากฏว่าการส่งมอบสินค้าเกิดขึ้นก่อนโจทก์ขอแก้ไขฟ้องถึง 3 ปีเศษ กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์เป็นการขอแก้ไขวันและสถานที่ที่ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง จากวันที่ 7 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือเกาะสีชัง เป็นวันที่ 16 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่ง และการเริ่มนับอายุความในการฟ้องร้องผู้ขนส่ง ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ทั้งเป็นการขอแก้ไขภายหลังวันชี้สองสถาน ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบข้อเท็จจริงตามที่ขอแก้ไขคำฟ้อง ก็ปรากฏว่าการส่งมอบสินค้าเกิดขึ้นก่อนโจทก์ขอแก้ไขฟ้องถึง 3 ปีเศษ กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6933/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ การกำหนดจำนวนเงินชำระ และการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
ข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นทั้งยี่สิบสามฉบับระหว่าง ท. ซึ่งเป็นผู้ซื้อกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ขาย ที่ได้ยื่นเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดนั้น เป็นสัญญาที่ทำกันขึ้นขณะที่ ท. ยังเป็นหน่วยงานหนึ่งของผู้ร้องและยัง มิได้โอนไปเป็นหน่วยงานของบริษัท อ. สิทธิและหน้าที่ที่เกิดขึ้นจากสัญญาทั้งยี่สิบสามฉบับจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน แม้ในระหว่างที่สัญญายังมีผลผูกพันอยู่ ท. จะไม่เป็นหน่วยงานของผู้ร้องต่อไปแล้ว แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานหรือพฤติการณ์อย่างใด ๆ อันแสดงให้เห็นว่าได้มีการโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาทั้งยี่สิบสามฉบับจากผู้ร้องไปยังบริษัท อ. ด้วย เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ร้องในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธินำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้ เมื่อบริษัทผู้ร้องมีหนังสือไปถึงสมาคมการค้ายางนานาชาติเพื่อขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ และสมาคมการค้ายางนานาชาติได้ดำเนินการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามที่ได้ยื่นเสนอไป ย่อมฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ยื่นเสนอข้อพิพาทคดีนี้ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยตามสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน รวม 23 ฉบับ ซึ่งระบุให้คู่สัญญาปฏิบัติตามระเบียบของสมาคมการค้ายางนานาชาติในกรณีมีข้อพิพาทเกิดขึ้น โดยต้องมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เป็นผู้ทำการชี้ขาด และกระบวนการเสนอแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ได้ดำเนินการไปอย่างถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมดังกล่าวแล้ว เมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 30
คดีนี้ผู้ร้องร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ข้อที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านไม่เคยทำสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นกับผู้ร้องนั้น ไม่ใช่กรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และ 35 ทั้งอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าผู้ร้องกับผู้คัดค้านทำสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นกันจำนวนยี่สิบสามฉบับ และผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา ที่ผู้คัดค้านฎีกาดังกล่าวก็เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่เมื่อเหตุที่ผู้คัดค้านฎีกาดังกล่าวไม่ใช่เหตุใดเหตุหนึ่งที่ศาลอาจมีคำสั่งปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ จึงเป็นข้อที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจรับวินิจฉัยเพื่อพิจารณาทบทวนคำชี้ขาดในข้อดังกล่าวนั้นได้อีก
แม้ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 20 จะกำหนดไว้ว่า คำชี้ขาดต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่ออนุญาโตตุลาการ โดยระบุเหตุผลแห่งข้อวินิจฉัยทั้งปวงไว้โดยแจ้งชัด แต่ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการภายในประเทศเท่านั้น ไม่มีบทมาตราใดตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำมาใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศด้วย และตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ ก็ระบุให้ศาลอาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับความถูกต้องของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้แต่เพียงว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 (4) เท่านั้น ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ไม่จำต้องระบุเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ด้วยเสมอไป
ในคำร้องขอข้อ 6 ซึ่งเป็นข้อสุดท้ายมีข้อความว่า ผู้ร้องไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ จึงต้องยื่นคำร้องขอนี้ต่อศาลเพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ โดยชำระเงินจำนวน 15,320,332.56 บาท ให้ผู้ร้อง พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันยื่นคำร้องขอนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้ผู้ร้องครบถ้วน เห็นได้ชัดเจนว่าผู้ร้องได้ขอให้บังคับผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้องเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันยื่นคำร้องขอจำนวน 15,320,332.56 บาท ไม่ใช่เงินตราต่างประเทศ ทั้งไม่อาจตีความหมายถ้อยคำตามคำร้องขอข้อ 6 ดังกล่าวว่าไม่ใช่คำขอบังคับ เป็นแต่เพียงเพื่อประโยชน์ในการคิดค่าขึ้นศาลเท่านั้นได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้องเฉพาะจำนวนเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการรวมยี่สิบสามฉบับเท่านั้น ไม่รวมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องตามคำร้องขอของผู้ร้อง โดยให้ชำระเป็นเงินตราต่างประเทศ แม้จะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยมาด้วย ก็เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คดีนี้ผู้ร้องร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ข้อที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านไม่เคยทำสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นกับผู้ร้องนั้น ไม่ใช่กรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และ 35 ทั้งอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าผู้ร้องกับผู้คัดค้านทำสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นกันจำนวนยี่สิบสามฉบับ และผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา ที่ผู้คัดค้านฎีกาดังกล่าวก็เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่เมื่อเหตุที่ผู้คัดค้านฎีกาดังกล่าวไม่ใช่เหตุใดเหตุหนึ่งที่ศาลอาจมีคำสั่งปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ จึงเป็นข้อที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจรับวินิจฉัยเพื่อพิจารณาทบทวนคำชี้ขาดในข้อดังกล่าวนั้นได้อีก
แม้ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 20 จะกำหนดไว้ว่า คำชี้ขาดต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่ออนุญาโตตุลาการ โดยระบุเหตุผลแห่งข้อวินิจฉัยทั้งปวงไว้โดยแจ้งชัด แต่ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการภายในประเทศเท่านั้น ไม่มีบทมาตราใดตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำมาใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศด้วย และตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ ก็ระบุให้ศาลอาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับความถูกต้องของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้แต่เพียงว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 (4) เท่านั้น ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ไม่จำต้องระบุเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ด้วยเสมอไป
ในคำร้องขอข้อ 6 ซึ่งเป็นข้อสุดท้ายมีข้อความว่า ผู้ร้องไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ จึงต้องยื่นคำร้องขอนี้ต่อศาลเพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ โดยชำระเงินจำนวน 15,320,332.56 บาท ให้ผู้ร้อง พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันยื่นคำร้องขอนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้ผู้ร้องครบถ้วน เห็นได้ชัดเจนว่าผู้ร้องได้ขอให้บังคับผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้องเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันยื่นคำร้องขอจำนวน 15,320,332.56 บาท ไม่ใช่เงินตราต่างประเทศ ทั้งไม่อาจตีความหมายถ้อยคำตามคำร้องขอข้อ 6 ดังกล่าวว่าไม่ใช่คำขอบังคับ เป็นแต่เพียงเพื่อประโยชน์ในการคิดค่าขึ้นศาลเท่านั้นได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้องเฉพาะจำนวนเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการรวมยี่สิบสามฉบับเท่านั้น ไม่รวมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องตามคำร้องขอของผู้ร้อง โดยให้ชำระเป็นเงินตราต่างประเทศ แม้จะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยมาด้วย ก็เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6873/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
ในการฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าอำนาจฟ้องของโจทก์เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์คงมีแต่ บ. ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารโดยมิได้มีการประทับตราสำคัญของโจทก์กำกับไว้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ จึงถือไม่ได้ว่า บ. ได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อ ในหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยชอบ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ยื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในชั้นฎีกาตามเอกสารท้ายฎีกาโดยฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสนำสืบหักล้าง จึงไม่อาจรับฟังได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวสำหรับจำเลยบางคนที่หลบหนี ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ายกฟ้องจำเลยคนใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์คงมีแต่ บ. ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารโดยมิได้มีการประทับตราสำคัญของโจทก์กำกับไว้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ จึงถือไม่ได้ว่า บ. ได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อ ในหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยชอบ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ยื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในชั้นฎีกาตามเอกสารท้ายฎีกาโดยฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสนำสืบหักล้าง จึงไม่อาจรับฟังได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวสำหรับจำเลยบางคนที่หลบหนี ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ายกฟ้องจำเลยคนใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6864/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยอ้างสิทธิโดยชอบตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ โจทก์มิได้พิสูจน์การซื้อขายเป็นโมฆะ คดีไม่มีมูล
ใบปกเทปเพลงของจำเลยที่ 1 ระบุชื่อจำเลยที่ 1 โดยเปิดเผยว่าเป็นผู้ผลิต จัดจำหน่ายและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงในเทปซึ่งรวมถึงเพลงพิพาทประกอบกับสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระบุว่า ด. ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงมีความเป็นไปได้ว่าจำเลยอาจกระทำการต่องานลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ โจทก์เองก็มิได้นำสืบว่า ด. ไม่ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 หรือบุคคลอื่นใดอีก พฤติการณ์แห่งคดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนากระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อันเป็นองค์ประกอบความผิดที่ฟ้อง คดีโจทก์ไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องที่ผิดพลาดจากการแปลภาษา: ศาลอนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญคดี
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง จึงไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องเรื่องประเภทสินค้าผิดพลาด: อนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญและผลทางกฎหมาย
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26