พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาท การคัดค้านแนวเขตโดยสุจริตไม่ถือเป็นการละเมิด
ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 264 มา โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวมีข้อพิพาทตรงที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม การที่โจทก์ได้ขอรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแยก แต่จำเลยคัดค้านการนำชี้ของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมเช่นเดียวกับที่เคยคัดค้านต่อเจ้าของร่วมเดิมในที่ดินแปลงพิพาทก่อนขายให้โจทก์ ทั้งยังปรากฏอีกว่าผู้เช่าที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ใช้น้ำในคลองที่ฝ่ายจำเลยขุดขึ้นรวมตลอดลำรางในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินเดิมคัดค้าน เมื่อจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับจำเลยร่วม จำเลยมิได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ การที่จำเลยได้คัดค้านการชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคัดค้านการชี้แนวเขต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเขตที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และการใช้สิทธิโดยสุจริต
ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 264 มา โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวมีข้อพิพาทตรงที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม การที่โจทก์ได้ขอรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแยก แต่จำเลยคัดค้าน การนำชี้ของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมเช่นเดียวกับที่เคยคัดค้านต่อเจ้าของร่วมเดิมในที่ดินแปลงพิพาทก่อนขายให้โจทก์ ทั้งยังปรากฏอีกว่าผู้เช่าที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ใช้น้ำในคลองที่ฝ่ายจำเลยขุดขึ้นรวมตลอดลำรางในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินเดิมคัดค้าน เมื่อจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับจำเลยร่วม จำเลยมิได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ การที่จำเลยได้คัดค้านการชี้แนวที่ดินของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคัดค้านการชี้แนวเขต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังว่าจำเลยคือคนร้าย ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
หลังเกิดเหตุผู้เสียหายนอนอยู่กับพื้นมีรอยฟกช้ำดำเขียวตามตัว ไม่รู้สึกตัวมีอาการหนัก ฉะนั้น คำเบิกความของ ผู้เสียหายที่ว่าเห็นคนร้ายคนที่ถอดหมวกไหมพรมและจำได้ว่าเป็นจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง คงรับฟังได้แต่เพียงว่าคนร้ายที่ล็อกคอและใช้อาวุธปืนจี้ท้ายทอยผู้เสียหายและได้พูดกับผู้เสียหายนั้นผู้เสียหายฟังคล้าย ๆ กับเสียงของจำเลย ซึ่งผู้เสียหายก็ไม่ยืนยันแน่ชัดว่าคนร้ายที่พูดนั้นเป็นจำเลย แม้ผู้เสียหายจะมีสาเหตุโกรธเคืองกับ จ. และจำเลยมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับ จ. ก็ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่า คนร้ายที่ล็อกคอและใช้อาวุธปืนจี้ท้ายทอยผู้เสียหายเป็นจำเลย ส่วนหมวกไหมพรมของกลางที่ยึดได้จากบ้านพักจำเลยเป็นสีแดงดำก็แตกต่างกับที่ ผู้เสียหายระบุว่าคนร้ายสวมหมวกไหมพรมสีแดง พยานหลักฐานโจทก์ ที่นำสืบมายังไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากความสงสัยตามสมควร ว่าจำเลยเป็นคนร้ายกระทำผิดตามฟ้อง ต้องยกประโยชน์แห่งความ สงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ได้ความจากแพทย์ว่า บาดแผลของผู้เสียหายไม่น่าจะถึงกับสลบก็ตามแต่เป็นการตรวจอาการบาดเจ็บหลังจากเกิดเหตุแล้ว1 วัน แพทย์ไม่มีโอกาสเห็นลักษณะอาการของผู้เสียหายในช่วงระยะเวลาที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายใหม่ ๆ ความเห็นของแพทย์จึงย่อมคลาดเคลื่อนได้ คำให้การในชั้นสอบสวนของ ถ. ไม่แตกต่างกับคำเบิกความของ ถ.ในชั้นพิจารณาเพียงแต่ในชั้นพิจารณาถ. เบิกความขยายรายละเอียด คำเบิกความและคำให้การของ ถ. จึงไม่มีข้อพิรุธว่าเป็นการเพิ่มเติมหรือขยายความเพื่อช่วยเหลือจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากการจดจำรูปร่างหน้าตา และคำรับสารภาพที่เชื่อถือได้
แม้ในช่วงเกิดเหตุชิงทรัพย์จะเกิดขึ้นรวดเร็วมากและผู้เสียหายไม่รู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อนก็ตาม แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยทั้งสองได้ขับรถจักรยานยนต์ดูผู้เสียหายที่ยืนรอรถโรงเรียนอยู่ถึง 3 วันในช่วงตอนเช้า ดังนั้น การที่ผู้เสียหายได้เห็นคนร้ายก่อนวันเกิดเหตุและในวันเกิดเหตุ ผู้เสียหายย่อมมีโอกาสจดจำคนร้ายได้โดยสามารถระบุตำหนิรูปพรรณคนร้ายให้ ช.ทราบช. พาผู้เสียหายไปดูตัวจำเลยที่ 1ผู้เสียหายก็ยังยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้าย และเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 กับบันทึกและภาพถ่ายการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพโดยไม่ปรากฏข้อพิรุธว่าพนักงานสอบสวนได้ทำขึ้นโดยการบังคับขู่เข็ญทำร้ายจำเลยที่ 1เพราะพนักงานสอบสวนไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อน จึงไม่มีเหตุที่จะปรักปรำจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานโจทก์ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1เป็นคนร้ายร่วมกับพวกชิงทรัพย์ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันตัวเกินสมควร: การใช้ปืนยิงตอบโต้การทำร้ายด้วยก้อนหิน
จำเลยเจตนายิงผู้เสียหายที่ 1 เนื่องจากจำเลยถูกผู้เสียหายที่ 1 กับพวก เข้ามากลุ้มรุมทำร้ายจำเลยก่อน จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวเองเพื่อมิให้ถูกทำร้าย แต่การที่จำเลยใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงผู้เสียหายที่ 1หลายนัด โดยผู้เสียหายที่ 1 มีเพียงก้อนหินและไม่ปรากฏว่า พวกผู้เสียหายที่ 1มีอาวุธ กระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายที่ 1 ที่บั้นเอวด้านซ้าย สะโพกด้านซ้ายและด้านขวา จนผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส ถ้าผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้กระสุนปืนยังพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายของผู้เสียหายที่ 2และที่ 3 ดังนี้นับว่าเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 299 ต้องเป็นกรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งหมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 299 ต้องเป็นกรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งหมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ แม้ถูกทำร้ายก่อน ยิงด้วยอาวุธร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
จำเลยเจตนายิงผู้เสียหายที่ 1 เนื่องจาก จำเลยถูกผู้เสียหายที่ 1 กับพวก เข้ามา กลุ้ม รุม ทำร้าย จำเลยก่อน จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวเองเพื่อ มิให้ถูกทำร้ายแต่การที่จำเลยใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรง ยิงผู้เสียหายที่ 1 หลายนัด โดยผู้เสียหายที่ 1 มีเพียงก้อนหินและไม่ปรากฏว่าพวกผู้เสียหายที่ 1 มีอาวุธ กระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายที่ 1 ที่บั้นเอวด้านซ้าย สะโพกด้าน ซ้ายและด้านขวา จนผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสถ้าผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้กระสุนปืนยังพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2และที่ 3 จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายของผู้เสียหาย ที่ 2 และที่ 3 ดังนี้ นับว่าเป็นการกระทำเกินกว่า กรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299 ต้องเป็นกรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปและมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งหมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินหลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด การดำเนินการของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น
ในประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดที่ดินพิพาทไว้โดยชอบหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นที่สุดว่าการอายัดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนี้มีผลเท่ากับว่าที่ดินพิพาทต้องถูกอายัดต่อไปเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท แล้วจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดินจากผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 3 ทั้ง ๆที่ผู้ร้องยังโต้แย้งว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. ย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากการเพิกถอนการโอนต้องเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงต้องถือว่าการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. เป็นไปโดยชอบผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่ออยู่ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทจึงยังมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนน.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ถูกต้อง ทั้งยังไม่มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8499/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและหลังการขอให้ล้มละลาย และข้อยกเว้นการคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 นั้นการที่ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะยกเหตุตามบทมาตราดังกล่าวนี้ขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้นั้น ก็แต่เฉพาะกรณีที่ได้รับโอนทรัพย์มาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8มิได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาก่อนวันดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะได้รับโอนมาจากจำเลย โดยตรงหรือได้รับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตามสิทธิของผู้คัดค้านย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน ผู้คัดค้านที่ 4ถึงที่ 8 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนคำร้อง ของ ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้น แต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือ โจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ และคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์ก่อน/หลังขอให้ล้มละลาย และสิทธิของผู้รับโอน รวมถึงการรอการวินิจฉัยคดีเมื่อมีเจ้าหนี้อื่นได้รับชำระหนี้แล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116 นั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะยกเหตุตามบทมาตราดังกล่าวนี้ขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้นั้น ก็แต่เฉพาะกรณีที่ได้รับโอนทรัพย์มาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 มิได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาก่อนวันดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะได้รับโอนมาจากจำเลยโดยตรงหรือได้รับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม สิทธิของผู้คัดค้านย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้นแต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอและคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน
ส่วนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้นแต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอและคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8402/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมา เจ้าของที่ดิน และวิศวกรควบคุมงาน กรณีอาคารก่อสร้างสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินข้างเคียง
แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเพียงผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อสร้างอาคารในที่ดินที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อสร้างอาคารโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะเป็นผู้เลือกหาจำเลยที่ 1 และที่ 2ให้เป็นผู้รับจ้าง การก่อสร้างต้องเป็นไปตามการงานที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 สั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำตามข้อบังคับในสัญญาจ้าง จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 428
จำเลยที่ 7 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมก่อสร้างอาคาร มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่กำหนดและตามหลักวิชาการ ถ้าจำเลยที่ 7 ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขุดดินทำฐานรากของอาคารตามหลักวิชาการด้วยความระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้ว ย่อมจะไม่เกิดผลเสียหายแก่ตึกแถวของโจทก์ จึงถือว่าจำเลยที่ 7 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 7 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ด้วย
จำเลยที่ 7 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมก่อสร้างอาคาร มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่กำหนดและตามหลักวิชาการ ถ้าจำเลยที่ 7 ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขุดดินทำฐานรากของอาคารตามหลักวิชาการด้วยความระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้ว ย่อมจะไม่เกิดผลเสียหายแก่ตึกแถวของโจทก์ จึงถือว่าจำเลยที่ 7 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 7 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ด้วย