คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7441/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การจำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จึงมีหน้าที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานส่วนหนึ่ง คือหนี้เงินกู้ที่ผู้คัดค้านจ่ายให้ จำเลยรับไป ส่วนจำนองที่จำเลยทำสัญญาและจดทะเบียนให้แก่ผู้คัดค้านนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์แห่งหนี้อันเป็นประธาน ซึ่งเป็นหนี้คนละส่วนแยกออกจากกันได้ การกู้เงินคดีนี้จำเลยได้รับเงินจากผู้คัดค้านไปแล้วในวันทำสัญญาและเพื่อเป็นหลักประกันที่จำเลยจะปฏิบัติตามสัญญาจำเลยได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทมาจำนองเป็นประกันหนี้ดังกล่าวไว้แก่ผู้คัดค้านเช่นนี้ การที่จำเลยกู้เงินผู้คัดค้านและได้รับเงินกู้จากผู้คัดค้านไปแล้ว ในทันทีทันใดนั้น การกู้เงินระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นแม้จะเป็นวันเดียวกันจำเลยมาทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทกับผู้คัดค้านอีก กรณีถือได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการ ทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองรายนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 5 รายรวมเป็นเงิน 157,572,672.38 บาทแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องรวบรวมทรัพย์สินได้เพียง31,000 บาท ที่ผู้คัดค้านนำมาชำระหนี้ตามคำสั่งศาลให้เพิกถอนการชำระหนี้เท่านั้น และไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ครบถ้วน การที่จำเลยได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยเจ้าหนี้อื่นไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพื่อชำระหนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเห็นได้ว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น แม้ผู้คัดค้านจะอ้างว่ารับจำนองโดยสุจริตไม่ทราบว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการจำนองเป็นนิติกรรมต่างตอบแทน ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจำนองรายนี้เสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องต้องยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาหรือสถานที่ประกอบธุรกิจของลูกหนี้
เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด มิใช่หนี้ร่วมที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์ มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาจึงเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนี้ โจทก์จะเสนอคำฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาในคดีเดียวกันมิได้
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7ไว้พิจารณาโดยขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าวซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลในคดีล้มละลาย: การฟ้องต้องยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาหรือธุรกิจของลูกหนี้
เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด มิใช่หนี้ร่วมที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษา จึงเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนี้ โจทก์จะเสนอคำฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาในคดีเดียวกันมิได้
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ไว้พิจารณาโดยขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าว ซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องจำเลยหลายคนที่มีภูมิลำเนาต่างเขต
เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด มิใช่หนี้ร่วมที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษา จึงเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนี้ โจทก์จะเสนอคำฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาในคดีเดียวกันมิได้
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ไว้พิจารณาโดยขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าว ซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: หนี้ร่วม, การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้, และผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์ คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ทั้งข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000 บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดี เป็นเงินรวมกันประมาณ1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และสิทธิในการยกข้อกฎหมาย
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์ คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 ทั้งข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้ว จำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดีเป็นเงินรวมกันประมาณ 1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์ แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำฟ้องล้มละลายเมื่อลูกหนี้ร่วมมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการพิจารณาหนี้ร่วม
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์ คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ทั้งข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000 บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดี เป็นเงินรวมกันประมาณ1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำฟ้องล้มละลาย ต้องดูความสามารถในการชำระหนี้จริง แม้ไม่อาจยึดทรัพย์ได้
จำเลยเป็นข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวนมีรายได้ประจำจากเงินเดือนเดือนละ 18,360 บาท ถือได้ว่ามีอาชีพการงานเป็นหลักแหล่งมีความมั่นคง แม้โจทก์ไม่อาจยึดเงินเดือนของจำเลยมาชำระหนี้ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นคนละเรื่องกับความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย จำเลยเป็นหนี้โจทก์เพียง 130,950บาท ไม่ปรากฏว่า จำเลยมีความประพฤติเสียหายในเรื่องการเงินและมิได้เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีก เชื่อได้ว่า จำเลยยังสามารถขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ได้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่านอกจากจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยังถูก ม. ฟ้องต่อศาลแขวงพระนครเหนือในข้อหากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ถึง3 คดี ซึ่งรวมหนี้ของจำเลยที่ถูก ม. ฟ้องเป็นเงินประมาณ 1,262,000 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีอาญาและยังไม่ถึงที่สุด ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จริงรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7248/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริง ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย และพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของลูกหนี้
ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8 นั้น เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริง เพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง ข้อเท็จจริงในคดีนี้แม้จะรับฟังว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 72,915.75 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายก็ตาม แต่มูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้นั้นเป็นมูลหนี้เกิดขึ้นในปี 2532 ซึ่งยอดหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 36,077.25 บาทเท่านั้น โจทก์รอจนกระทั่งปี 2539 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2532 ทำให้ต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 72,915.75 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยปรากฏว่าบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้นของจำเลยปิดประตูใส่กุญแจอยู่ในลักษณะทิ้งร้างเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้เข้าไปตรวจดูว่ามีทรัพย์สินอื่นใดบ้างกลับแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าไม่มีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในบ้านและโจทก์ก็มิได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไปทำการยึดทรัพย์สินมาเบิกความสนับสนุนให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดได้จริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นฉ้อฉล สัญญาเงินกู้ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้สืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้
of 69