คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และการฉ้อฉล หากศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาสั่งให้สืบพยานเพิ่มเติมและพิพากษาใหม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นฉ้อฉล สัญญาเงินกู้ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้สืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาด้วยวาจาต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน การพิสูจน์ตัวบุคคลในคดีซ้ำซ้อนต้องมีการสืบพยาน
การฟ้องด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงครบถ้วนพอที่ศาลจะพิจารณาลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ประกอบด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาสถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 19 เมื่อโจทก์ฟ้องด้วยวาจาโดยมีข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลจะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายกาวโทลูอินอันเป็นสารระเหย 2 กระป๋องให้แก่สายลับผู้มีอายุ 15 ปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยมิได้ระบุว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่า ผู้ซื้อเป็นผู้ติดสารระเหยอันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกาป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ จึงขาดองค์ประกอบแห่งความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
แม้ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้จะระบุว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษจำเลยคดีนี้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้นและศาลดังกล่าวได้พิพากษาลงโทษและรอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏแต่ตามบันทึกคำรับสารภาพของจำเลย จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพตลอดข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็มิได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำขอในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิที่ดินมรดก VS สิทธิที่ได้มาโดยสุจริต - มาตรา 1299 วรรคสอง
โจทก์เป็นทายาทได้รับที่ดินมรดกของ ป. เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ส่วนจำเลยกับ น.รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยผู้โอนขายให้ โดยเสียค่าตอบแทนและโดย สุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริต เมื่อที่ดินส่วนของ น. น.มีสิทธิดีกว่าโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ต่อมาที่ดินส่วนนี้จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห.เมื่อห.ถึงแก่กรรมจำเลยและถ.เป็นผู้รับโอนมรดกที่ดินส่วนของ ห. โดยไม่เสียค่าตอบแทน โจทก์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนใช้ยันจำเลยได้ เพราะสิทธิของโจทก์ขาดตอนไปแล้ว ตั้งแต่ น. รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต จะนำหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนมาใช้บังคับไม่ได้เพราะสิทธิหลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียน: สิทธิของผู้รับโอนที่ดีกว่าเมื่อผู้โอนมีสิทธิไม่สมบูรณ์
จำเลยกับ น.จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยผู้โอนขายกรรมสิทธิ์ให้ และตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยและ น.รับโอนโดยไม่สุจริตข้อเท็จจริงต้องฟังว่า จำเลยและ น.รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว โจทก์อ้างการได้ที่ดิน-พิพาทมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแต่เมื่อมิได้จดทะเบียนจึงยกขึ้นต่อสู้ น.ไม่ได้เมื่อที่ดินส่วนของ น. น.มีสิทธิดีกว่าโจทก์ ต่อมาที่ดินส่วนนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห. เมื่อ ห.ถึงแก่กรรม แม้จำเลยและ ถ.ผู้รับโอนมรดกที่ดินส่วนของ น.มาโดยไม่เสียค่าตอบแทน โจทก์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนใช้ยันจำเลยได้ เพราะสิทธิของโจทก์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ น.รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต กรณีนี้จะนำหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน" มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะสิทธิของโจทก์ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1299 ซึ่งเป็นบทยกเว้นหลัก-กฎหมายทั่วไป โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอากรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในที่ดิน และฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้โดยสิ้นเชิง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเรือพิพาท แต่จำเลยที่ 1 กลับตกลงโอนเรือดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งของตนไป โดยจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ นิติกรรมการโอนเรือพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ อันเป็นการฉ้อฉลซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนได้
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเรือระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพราะมิใช่เป็นการฟ้องขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของศาลในคดีที่พิพาทกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากแต่เป็นการฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลดังกล่าวไม่ผูกพัน และไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลในอีกคดีหนึ่ง
ระยะเวลาจากวันที่จำเลยที่ 2 รับโอนเรือและโจทก์ทราบเรื่องจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้ แม้มีคำพิพากษาตามยอม
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้โดยสิ้นเชิง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเรือพิพาท แต่จำเลยที่ 1 กลับตกลงโอนเรือดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งของตนไป โดยจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ นิติกรรมการโอนเรือพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ อันเป็นการฉ้อฉลซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนได้
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเรือระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพราะมิใช่เป็นการฟ้องขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของศาลในคดีที่พิพาทกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากแต่เป็นการฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลดังกล่าวไม่ผูกพัน และไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลในอีกคดีหนึ่ง
ระยะเวลาจากวันที่จำเลยที่ 2 รับโอนเรือและโจทก์ทราบเรื่องจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: แม้ไม่ติดทางสาธารณะโดยตรง แต่ที่ดินที่สามารถใช้เป็นทางออกได้ ถือเป็นทางจำเป็นได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น มิได้มีบทบัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงความมุ่งหมายที่สำคัญคือให้ที่ดินถูกล้อมอยู่นั้นมีทางออกถึงทางสาธารณะได้เท่านั้น ได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดถึงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ที่ดินของจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็นแม้จะฟังว่าเมื่อผ่านที่ดินของจำเลยแล้วจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีก แต่บุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นก็มิได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิของโจทก์คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน และที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ที่ดินของจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมกับถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านนั้น แม้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลย เพื่อเปิดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์กว้างแปลงละ 3.5 เมตร จึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการผ่านที่ดินแปลงอื่น (ทางจำเป็น) แม้ไม่ติดทางสาธารณะโดยตรง หากสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น มิได้มีบทบัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงความมุ่งหมายที่สำคัญคือให้ที่ดินถูกล้อมอยู่นั้นมีทางออกถึงทางสาธารณะได้เท่านั้น ได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดถึงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ที่ดินของจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็นแม้จะฟังว่าเมื่อผ่านที่ดินของจำเลยแล้วจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีก แต่บุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นก็มิได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิของโจทก์คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน และที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ที่ดินของจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมกับถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านนั้น แม้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นยานพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลย เพื่อเปิดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์กว้างแปลงละ 3.5 เมตร จึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังพิทักษ์ทรัพย์: การดำเนินคดีที่ผิดขั้นตอนหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจเข้าว่าคดีแพ่งเรื่องนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 25 โดยโจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือเข้าว่าคดีแพ่งเรื่องนี้ได้อีก แต่ปรากฎว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีนี้ไปแล้วแม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของโจทก์แต่โจทก์ก็ได้ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นรวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22และ 25 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ และให้ยกการดำเนินกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นรวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 69