พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และผลกระทบต่อการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดิน
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ทนายความจำเลยที่ 2และที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความลงวันที่เดียวกันกับคำร้องระบุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความและมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ แต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ให้ถูกต้องตามที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความและอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้อง หลังจากนั้นมีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 1 ครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์เป็นฉบับเดียวกันภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น โดย ส. ทนายความเป็นผู้เรียงอุทธรณ์พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความ 2 ฉบับ ลงวันที่เดียวกันกับอุทธรณ์ ฉบับหนึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความ โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แต่งทนายความและลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความดังนี้ ในส่วนของจำเลยที่ 3 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับจำเลยที่ 2 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นเพียงแต่ใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 3 ฉบับแรกไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 3ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่จำเลยที่ 3 ได้แก้ไขข้อบกพร่องโดยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้วคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันจำเลยที่ 3 มาแต่เริ่มแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำเป็นต้องสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 อีก แม้จำเลยที่ 3 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ยื่นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และ 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท การครอบครองปรปักษ์ และผลผูกพันคำพิพากษาเดิม
การเดินเผชิญสืบเป็นการสืบพยานหลักฐานอย่างหนึ่งและเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะเดินเผชิญสืบหรือไม่ โดยพิเคราะห์ถึงสภาพ ความจำเป็น หากข้อเท็จจริงที่มีอยู่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเดินเผชิญสืบอีก ทั้งนี้เพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรมคดีนี้ตามคำฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่ ไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับเนื้อที่ดินหรือแนวเขตที่ดิน ทั้งในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนวินิจฉัยไว้แล้ว และแม้ศาลจะอนุญาตให้เดินเผชิญสืบที่ดินพิพาท ก็ไม่อาจทำให้รูปคดีเปลี่ยนแปลงไปได้ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เดินเผชิญสืบจึงชอบแล้ว
ก่อนคดีนี้ จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นอ้างว่าบิดาโจทก์ได้ยกที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 9036 แปลงเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ให้ผู้ร้องและผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี ขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครอง โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า บิดาโจทก์มิได้ยกที่ดินดังกล่าวให้ผู้ร้อง ผู้ร้องปลูกบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของบิดาโจทก์คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องขอโดยวินิจฉัยว่าการครอบครองที่ดินของจำเลยเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของบิดาโจทก์แม้จำเลยจะครอบครองติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อโจทก์และจำเลยพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความยินยอมของบิดาโจทก์เจ้าของที่ดินเดิม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีนี้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ว่า จำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยและครอบครองที่ดินพิพาทโดยความยินยอมของบิดาโจทก์ ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีนี้ได้ จำเลยจะยกสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของขึ้นต่อสู้โจทก์อีกไม่ได้
ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์จึงถึงที่สุด จำเลยรื้อฟื้นฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวอีกหาได้ไม่
ก่อนคดีนี้ จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นอ้างว่าบิดาโจทก์ได้ยกที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 9036 แปลงเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ให้ผู้ร้องและผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี ขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครอง โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า บิดาโจทก์มิได้ยกที่ดินดังกล่าวให้ผู้ร้อง ผู้ร้องปลูกบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของบิดาโจทก์คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องขอโดยวินิจฉัยว่าการครอบครองที่ดินของจำเลยเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของบิดาโจทก์แม้จำเลยจะครอบครองติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อโจทก์และจำเลยพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความยินยอมของบิดาโจทก์เจ้าของที่ดินเดิม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีนี้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ว่า จำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยและครอบครองที่ดินพิพาทโดยความยินยอมของบิดาโจทก์ ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีนี้ได้ จำเลยจะยกสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของขึ้นต่อสู้โจทก์อีกไม่ได้
ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์จึงถึงที่สุด จำเลยรื้อฟื้นฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีความผิดฐานรับของโจร เนื่องจากโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
คดีเกี่ยวกับความผิดฐานรับของโจรนั้น ข้อสำคัญโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด มิใช่เพียงแต่เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์แล้วต้องให้จำเลยนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของคนร้ายเมื่อบัตรโทรศัพท์รุ่นวัดอรุณถูกคนร้ายลักไปไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายไปร้องทุกข์ หรือแจ้งให้ตัวแทนจำหน่ายของผู้เสียหายหรือประกาศให้ประชาชนทราบแต่ประการใด ดังนั้นจะอาศัยพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายยังไม่ได้นำบัตรโทรศัพท์รุ่นดังกล่าวออกจำหน่ายแก่ตัวแทนและเมื่อไปยึดบัตรดังกล่าวได้จากจำเลยก็คิดหรือคาดคะเนเอาว่าจำเลยได้ครอบครองบัตรโทรศัพท์รุ่นวัดอรุณของกลางซึ่งเป็นของผู้เสียหายโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดหาได้ไม่ เมื่อบัตรโทรศัพท์ของกลางที่ยึดได้จากจำเลย ไม่มีการซุกซ่อนโดยมีการใส่รวมกันไว้กับบัตรโทรศัพท์รุ่นอื่น ๆ ในกล่องพลาสติกตั้งอยู่ที่ชั้นวางสินค้าด้านหลังโต๊ะเก็บเงินแสดงว่าจำเลยวางจำหน่ายอย่างเปิดเผยปราศจากข้อพิรุธ อีกทั้งยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจค้นโดยไม่มีการขัดขืน พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยได้รับบัตรโทรศัพท์รุ่นวัดอรุณซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักเอาไปเอาไว้และช่วยจำหน่ายโดยจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด จำเลยไม่มีความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อน: แม้ผลลัพธ์คล้ายกัน แต่หากประเด็นข้อพิพาทต่างกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้อน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ด้วยการให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1778 ซึ่งรวมทั้งที่ดินส่วนพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ให้กลับคืนสู่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนคืนแก่จำเลยที่ 1 ทำการแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกมาให้แก่โจทก์อันเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ส่วนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงโอนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 71 ตารางวา ให้แก่โจทก์แล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกมาให้โจทก์พร้อมกับให้จำเลยที่ 1 และบุคคลภายนอกอีก 2 คน ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ถึงแม้คำขอของโจทก์จะมีผลสุดท้ายเป็นอย่างเดียวกัน คือ ขอให้โอนที่ดินพิพาทจำนวน 15 ไร่ 3 งาน71 ตารางวา เป็นของโจทก์ก็ตาม กรณีก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3938/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์พิพาทโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลังรับแจ้งความฉ้อโกง ไม่ถือเป็นการละเมิดหากมีเหตุอันควรสงสัย
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางก็เพราะมีมูลเหตุเกิดจากพฤติการณ์ที่ ว. หลอกลวงซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์แล้วไปขายต่อให้บุคคลภายนอกโดยไม่นำเงินค่ารถไปชำระแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยว่ารถยนต์พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือ ว. การร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ว. ถือได้ว่าเป็นสิทธิของโจทก์ในฐานะประชาชนที่จะกระทำได้โดยชอบธรรมไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้มีการทำละเมิดกฎหมายอันจะเกิดแก่โจทก์ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์พิพาทมาเป็นของกลาง แม้จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแต่ก็เป็นดุลพินิจและอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินคดีแก่ ว. ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้อำนาจไว้พฤติการณ์แห่งคดียังไม่ถึงขนาดที่จะรับฟังได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อ หรือมีเจตนาจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยฝ่ายเดียว การกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงตามกฎหมายเช็ค
การออกเช็คที่มีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นั้นจะต้องปรากฏว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอยู่ และเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และผู้ออกเช็คได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวโดยมีลักษณะหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามอนุมาตราใดอนุมาตราหนึ่งของมาตรา 4 นั้น และผู้ทรงเช็คได้ยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมายและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น คดีนี้โจทก์ร่วมกล่าวหาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วม จำเลยต้องการชดใช้เงินแก่โจทก์ร่วมแทนพี่สาวจำเลยจึงทำเป็นสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมเท่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมกล่าวหาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกไป และออกเช็คมอบแก่โจทก์ร่วมเพื่อใช้หนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าว แต่เมื่อยังไม่มีคำพิพากษาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วม จึงไม่อาจฟังว่าพี่สาวจำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมไปโดยพลการอันทำให้ต้องใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม เป็นเหตุให้ยังไม่มีหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ร่วมแทนพี่สาวจำเลยด้วยการทำสัญญากู้เงินของโจทก์ร่วม การที่จำเลยออกเช็คในคดีนี้มอบแก่โจทก์ร่วมตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คชำระหนี้ที่ไม่มีอยู่จริงตามกฎหมายเช็ค ถือว่าไม่เป็นความผิด
ไม่มีพยานหลักฐานอันใดของโจทก์และโจทก์ร่วมบ่งชี้ว่าพี่สาวจำเลยยินยอมให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์ร่วมอ้างว่าพี่สาวจำเลยยักยอกไปแทนพี่สาวจำเลย ทั้งคดีที่พี่สาวจำเลยถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินของโจทก์ร่วมนั้น พี่สาวจำเลยก็ให้การปฏิเสธ จนพนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไปแล้ว แต่พนักงานอัยการยังไม่ได้ฟ้องพี่สาวจำเลยต่อศาล ดังนั้น เมื่อยังไม่มีคำพิพากษาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วม จึงไม่อาจฟังว่าพี่สาวจำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมไปโดยพลการ อันทำให้ต้องใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม เป็นเหตุให้ยังไม่มีหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ร่วมแทนพี่สาวจำเลยด้วยการทำสัญญากู้เงินของโจทก์ร่วม การที่จำเลยออกเช็คในคดีนี้มอบแก่โจทก์ร่วมตามสัญญากู้เงินดังกล่าว จึงไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คชำระหนี้ตามสัญญา: ต้องมีหนี้จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงไม่เข้าความผิด พ.ร.บ.เช็ค
การออกเช็คที่มีมูลความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 นั้น จะต้องปรากฏว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอยู่ และเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และผู้ออกเช็คได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวโดยมีลักษณะหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามอนุมาตราใดอนุมาตราหนึ่งของมาตรา 4 นั้น และผู้ทรงเช็คได้ยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมายและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น
คดีนี้โจทก์ร่วมกล่าวหาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วมจำเลยต้องการชดใช้เงินแก่โจทก์ร่วมแทนพี่สาวจำเลยจึงทำเป็นสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมเท่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมกล่าวหาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกไป และออกเช็คมอบแก่โจทก์ร่วมเพื่อใช้หนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าว แต่เมื่อยังไม่มีคำพิพากษาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วม จึงไม่อาจฟังว่าพี่สาวจำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมไปโดยพลการอันทำให้ต้องใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม เป็นเหตุให้ยังไม่มีหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ร่วมแทนพี่สาวจำเลยด้วยการทำสัญญากู้เงินของโจทก์ร่วม การที่จำเลยออกเช็คในคดีนี้มอบแก่โจทก์ร่วมตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงอันจะเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คดีนี้โจทก์ร่วมกล่าวหาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วมจำเลยต้องการชดใช้เงินแก่โจทก์ร่วมแทนพี่สาวจำเลยจึงทำเป็นสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมเท่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมกล่าวหาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกไป และออกเช็คมอบแก่โจทก์ร่วมเพื่อใช้หนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าว แต่เมื่อยังไม่มีคำพิพากษาว่าพี่สาวจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วม จึงไม่อาจฟังว่าพี่สาวจำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมไปโดยพลการอันทำให้ต้องใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม เป็นเหตุให้ยังไม่มีหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ร่วมแทนพี่สาวจำเลยด้วยการทำสัญญากู้เงินของโจทก์ร่วม การที่จำเลยออกเช็คในคดีนี้มอบแก่โจทก์ร่วมตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงอันจะเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในการชำระหนี้จากการซื้อสินค้าของราชการ แม้มีอายุความแต่มีการรับว่าจะชำระหนี้
โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้ชัดแจ้งในฎีกาว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะตัวแทนจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามฟ้องฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อพัสดุของใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่ 1เมื่อปรากฏว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้จัดซื้อการสั่งซื้อสินค้าของกองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 32 เป็นการสั่งการตามลำดับการบังคับบัญชาคือ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้างเป็นการทำแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ดังนั้น การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ก็เท่ากับทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยของหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 จัดซื้อสินค้าเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยใช้งบประมาณที่จำเลยที่ 1 จัดสรรมาให้เป็นรายปี ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จัดซื้อสินค้าโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 และระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้าง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2528 ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในวงราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้ปฏิบัติผิดระเบียบต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากภาระที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3ก่อขึ้นแก่โจทก์
แม้หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อขาดอายุความไปแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือรับว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการหาอาจยกเหตุการขาดอายุความนั้นขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ไม่
จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อพัสดุของใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่ 1เมื่อปรากฏว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้จัดซื้อการสั่งซื้อสินค้าของกองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 32 เป็นการสั่งการตามลำดับการบังคับบัญชาคือ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้างเป็นการทำแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ดังนั้น การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ก็เท่ากับทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยของหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 จัดซื้อสินค้าเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยใช้งบประมาณที่จำเลยที่ 1 จัดสรรมาให้เป็นรายปี ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จัดซื้อสินค้าโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 และระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้าง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2528 ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในวงราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้ปฏิบัติผิดระเบียบต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากภาระที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3ก่อขึ้นแก่โจทก์
แม้หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อขาดอายุความไปแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือรับว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการหาอาจยกเหตุการขาดอายุความนั้นขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเรื่องความเป็นบุตร และข้อจำกัดในการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
แม้โจทก์จะเบิกความว่าโจทก์เป็นบุตรของ ถ. ตามสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิของโรงเรียนประชาบาลและใบสำคัญทหารนอกประจำการประเภทที่ 2 และตามเอกสารดังกล่าวระบุว่า บิดาโจทก์ชื่อ ถ.ก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบอ้างอิงมายันจำเลยเท่านั้น จะถือตามเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาดหาได้ไม่ เพราะการที่ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ.หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย
โจทก์เบิกความยอมรับว่า ถ.ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์ คือ น.กับ ก. การที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความโจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่า และฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้น เมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์เบิกความยอมรับว่า ถ.ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์ คือ น.กับ ก. การที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความโจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่า และฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้น เมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้