คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง การงดสืบพยานไม่ชอบ ต้องให้สืบพยานเพื่อพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสองเข้ามาปลูกสร้างโรงเรือนและเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาในที่ดินของโจทก์บางส่วนขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน1ปีนับแต่วันที่จำเลยทั้งสองแย่งการครอบครองดังนี้คดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองมาแต่แรกเมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองการที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่งประกอบมาตรา246ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246และ247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลล่างวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องการครอบครองที่ดิน การสั่งงดสืบพยานก่อนรับฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนเป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง และคดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ โจทก์จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองมาแต่แรก ดังนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และเมื่อคดีมีปัญหาวินิจฉัยเพียงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องขาดอายุความหรือไม่ การจะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวจะต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่มีอยู่ครบถ้วนตามที่คู่ความนำสืบให้เป็นที่ยุติเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลล่างวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง การงดสืบพยานก่อนรับฟังข้อเท็จจริงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองและคดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้โจทก์จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองมาแต่แรกดังนี้การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่งประกอบมาตรา246ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246และ247และเมื่อคดีมีปัญหาวินิจฉัยเพียงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องขาดอายุความหรือไม่การจะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวจะต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่มีอยู่ครบถ้วนตามที่คู่ความนำสืบให้เป็นที่ยุติเสียก่อนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความเสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นการครอบครองที่ดิน และการงดสืบพยานก่อนฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนเป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง และคดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา1375 เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ โดยจำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองมาแต่แรก ดังนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และเมื่อคดีมีปัญหาวินิจฉัยเพียงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องขาดอายุความหรือไม่ การจะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวจะต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่มีอยู่ครบถ้วนตามที่คู่ความนำสืบให้เป็นที่ยุติเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุด ห้ามฎีกาคัดค้านได้ แม้ผู้พิพากษาลงนามไม่ครบองค์คณะ
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา20วรรคสองบัญญัติไว้ว่าคดีใดซึ่งศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาแล้วคู่ความหามีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไปอีกไม่ดังนั้นคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้จึงเป็นอันถึงที่สุดแล้วจะร้องคัดค้านหรือขอให้เพิกถอนหาได้ไม่ ผู้พิพากษาศาลฎีกาอีก2คนที่ได้ลงนามในต้นร่างคำพิพากษาแล้วแต่ได้เกษียณอายุราชการ1คนและย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่น1คนก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาดังบันทึกของประธานศาลฎีกาต่อท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวการที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาย่อมแสดงแจ้งชัดแล้วว่าองค์คณะดังกล่าวมีความเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษานั้นเมื่อประธานศาลฎีกาจดแจ้งเหตุที่พิพากษาคนนั้นมิได้ลงลายมือชื่อโดยอ้างถึงการลงลายมือชื่อในต้นร่างคำพิพากษาเป็นสำคัญจึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141วรรคสองถือได้ว่ามีการร่วมปรึกษาครบองค์คณะตามกฎหมายและเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุด ห้ามยื่นฎีกาคัดค้านซ้ำ องค์คณะครบถ้วนแม้ผู้พิพากษาบางคนย้าย
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 20 วรรคสองบัญญัติไว้ว่า คดีใดซึ่งศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาแล้วคู่ความหามีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไปอีกไม่ ดังนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้จึงเป็นอันถึงที่สุดแล้ว จะร้องคัดค้านหรือขอให้เพิกถอนหาได้ไม่ ผู้พิพากษาศาลฎีกาอีก 2 คนที่ได้ลงนามในต้นร่างคำพิพากษาแล้วแต่ได้เกษียณอายุราชการ 1 คน และย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่น 1 คน ก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาดังบันทึกของประธานศาลฎีกาต่อท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวการที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาย่อมแสดงแจ้งชัดแล้วว่าองค์คณะดังกล่าวมีความเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษานั้น เมื่อประธานศาลฎีกาจดแจ้งเหตุที่พิพากษาคนนั้นมิได้ลงลายมือชื่อโดยอ้างถึงการลงลายมือชื่อในต้นร่างคำพิพากษาเป็นสำคัญ จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 วรรคสองถือได้ว่ามีการร่วมปรึกษาครบองค์คณะตามกฎหมายและเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุด และการร่วมปรึกษาขององค์คณะผู้พิพากษา
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 20 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า คดีใดซึ่งศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาแล้ว คู่ความหามีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไปอีกไม่ ดังนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้จึงเป็นอันถึงที่สุดแล้ว จะร้องคัดค้านหรือขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
ผู้พิพากษาศาลฎีกาอีก 2 คนที่ได้ลงนามในต้นร่างคำพิพากษาแล้วแต่ได้เกษียณอายุราชการ 1 คน และย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่น 1 คน ก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษา ดังบันทึกของประธานศาลฎีกาต่อท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว การที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาย่อมแสดงแจ้งชัดแล้วว่าองค์คณะดังกล่าวมีความเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษานั้น เมื่อประธานศาลฎีกาจดแจ้งเหตุที่ผู้พิพากษาคนนั้นมิได้ลงลายมือชื่อโดยอ้างถึงการลงลายมือชื่อในต้นร่างคำพิพากษาเป็นสำคัญ จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141วรรคสอง ถือได้ว่ามีการร่วมปรึกษาครบองค์คณะตามกฎหมายและเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินเป็นสัญญาจำนอง และสิทธิการรับชำระหนี้คงเหลือ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้ง คิดเป็นเงิน2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ร่วมและการจำนองประกันหนี้: การไถ่ถอนจำนองไม่ทำให้หนี้ระงับ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม.กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้งคิดเป็นเงิน 2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน และต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามป.พ.พ.มาตรา 298 เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่ การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่มีประกันเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้น ก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเอง เมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญากู้เป็นจำนอง และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ที่เหลือ
เมื่อระหว่างปี2522ถึงปี2524เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยาม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม7ครั้งคิดเป็นเงิน2,093,300บาทโดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี2528เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเองหาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิมเพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิมหนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่านอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง980,000บาทเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน
of 69