คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อใช้ก่อนและสินค้าต่างจำพวก การใช้เครื่องหมายการค้าก่อนย่อมมีสิทธิ
จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้าแหนบรถยนต์นำออกจำหน่ายมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี และต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่แตกต่างกันโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยโต้แย้งว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหายเพราะประชาชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าและเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์มาก่อนแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ และไม่มีเหตุสมควรกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างประเภท และการใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิม
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2520 ถึง ปี 2524 คือ เครื่องหมายการค้า+++++++++++++ และ ++++++++++ ใช้กับสินค้าตามรายการจำพวกสินค้าเดิมตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำพวกที่ 42วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหาร จำพวกที่ 44 น้ำแร่และน้ำอัดลมซึ่งเป็นเองและทำขึ้น จำพวกที่ 45 ยาสูบที่แต่งแล้วและยังมิได้แต่ง และจำพวกที่ 48 เครื่องหอม (รวมทั้งเครื่องเบ็ดเตล็ดสำหรับแต่งกายตบแต่งผิว สิ่งที่ทำขึ้นใช้สำหรับฟัน สำหรับผม และสบู่หอม) ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า +++++++ เป็นรูปวัวกระทิงคู่หันหน้าเข้าหากันเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 12 (ใหม่) ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 รายการสินค้า แหนบรถยนต์ ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 เอกสารหมาย จ.40 โจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยที่ 1 ต่อไป
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสิบว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 ดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด
++
++ โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันกับรูปกระทิงสีแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า "กระทิงแดง" อยู่ด้านล่าง ซึ่งโจทก์จดทะเบียนเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าต่าง ๆ ของโจทก์คือเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ กาแฟบรรจุขวดและกระป๋องและสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ หมวก เสื้อยืด ปิ่นโต แก้วน้ำ และกระเป๋าคาดเอว สินค้าของโจทก์ผลิตและจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ตามสื่อต่าง ๆ เมื่อประชาชนเห็นเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่ก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงมาแล้วเป็นเวลา 15 ปีจำเลยที่ 1 จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงต่อสู้กันสำหรับใช้กับสินค้าแหนบรถยนต์ แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์
++ ส่วนจำเลยที่ 1นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง2 ตัว หันหน้าชนกัน ด้านล่างมีคำว่า "ตราวัวชนกัน" เมื่อวันที่ 3พฤษภาคม 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 และจำเลยที่ 1 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ตลอดมา เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการต่ออายุการจดทะเบียน 2 ครั้ง ในปี 2515 และ 2525 แล้วขาดต่ออายุในปี 2535 จึงมายื่นคำขอจดทะเบียนอีกตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051โดยตัดคำว่า "ตราวัวชนกัน" ออก
++
++ เห็นว่า จำเลยมีนายนิพนธ์ แช่มสาครซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และนายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ เป็นพยานเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตแหนบรถยนต์จำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันกับสินค้าแหนบรถยนต์เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้ว และได้ให้นายวิรัตน์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 แม้ตามทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะมีชื่อนายวิรัตน์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า แต่นายวิรัตน์ก็เบิกความยืนยันว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้นายวิรัตน์ซึ่งขณะนั้นเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ไปยื่นคำขอจดทะเบียนโดยใช้ชื่อนายวิรัตน์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีนายอภิชัย คีลาวัฒน์ อายุ 36 ปี ประกอบอาชีพค้าขายอะไหล่รถยนต์ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยรับช่วงกิจการในครอบครัวมาดำเนินการเบิกความสนับสนุนว่า จำเลยที่ 1 ขายแหนบรถยนต์ซึ่งมีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่สีแดงให้ร้านของครอบครัวพยานมาตั้งแต่พยานยังเป็นเด็ก โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบโต้แย้งข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยโต้แย้งการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1 มาก่อนแต่อย่างใด
++
++ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้วโดยสุจริตตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เมื่อปี 2520
++
++ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 134051ไม่มีคำว่า "ตราวัวชนกัน" จึงแตกต่างและเป็นคนละเครื่องหมายกับเครื่องหมายการค้าที่เคยจดทะเบียนไว้ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 นั้น
++ เห็นว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวอยู่ที่รูปวัวกระทิง2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน คำว่า "ตราวัวชนกัน" เป็นเพียงส่วนประกอบเมื่อจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายรูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันอันเป็นส่วนสาระสำคัญนั้นมายื่นขอจดทะเบียนใหม่ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเครื่องหมายเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ใช้มาก่อนโดยสุจริตดังกล่าวแล้วนั่นเอง จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าชอบที่จะรับจดทะเบียนให้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27วรรคหนึ่ง
++ ส่วนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้วางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า เครื่องหมายรูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงนั้น
++ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเป็นวัวกระทิงสีแดง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายดังกล่าวมาก่อนโดยสุจริต ดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้นประกอบกับสินค้าของโจทก์เป็นเครื่องบริโภคอุปโภค ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นเครื่องอะไหล่แหนบรถยนต์อันเป็นเครื่องกล จึงเป็นสินค้าต่างจำพวกกันมีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการใช้สินค้าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้าแหนบรถยนต์นำออกจำหน่ายมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี และต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่แตกต่างกันนั้นมาอีกกว่า 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยโต้แย้งว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหายเพราะประชาชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าและเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์มาก่อนแต่อย่างใดจึงไม่มีเหตุสมควรกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า รูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่ชัดเจนในการบรรยายฟ้องทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยตามกรรมหลายกรรมต่างกันได้
ในคดีที่ฟ้องโจทก์มีหลายข้อหา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะข้อหาความผิดตามฟ้องซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น และการที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมา ต้องถือว่าเป็นการรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเฉพาะข้อหาความผิดตามฟ้องที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเช่นเดียวกัน
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดของจำเลยทั้งสี่ในข้อ (ก) และข้อ (ข) แต่ละข้อหาแยกเป็นข้อย่อยมาให้ชัดเจน เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกัน แม้ในตอนต้นโจทก์จะบรรยายฟ้องรวมกันมาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ด้วยก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันโจทก์ก็บรรยายอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 90 มาด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้อง ข้อ (ก) ในแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ (ก) เป็นความผิดหลายกรรมหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
แม้ความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 59 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท แต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ประกอบมาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาและการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ การฟ้องคดีก่อนเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาร่วมค้ากับโจทก์ที่ 2 และที่ 3เพื่อเข้าประมูลงานโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร เมื่อได้งานแล้วกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาจ้างให้ โจทก์ที่ 1 ให้ออกแบบ เขียนแบบ ให้คำปรึกษาและฝึกอบรมบุคลากร จำเลยที่ 1 ทำใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินเป็นงวด ๆ ตามความก้าวหน้าของงาน เมื่อกรุงเทพมหานครอนุมัติใบเรียกเก็บเงินและจ่ายเงินให้ กิจการร่วมค้าแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำเงินเข้าบัญชีของกิจการร่วมค้าจำเลยที่ 1 กลับร่วมกับจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีให้จำเลยที่ 1 ควบคุม บัญชีแต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่สามารถรู้เห็น จำเลยที่ 1เคยนำเงินส่วนที่เป็นผลงานของโจทก์ที่ 1 มาชำระให้โจทก์ที่ 1 ตามสัญญา แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 หยุดชำระเงินดังกล่าว ขอให้จำเลย ทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เงินที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องชำระแก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยเป็นเงินที่โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับตามสัญญา ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิยึดถือเงินดังกล่าว หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อสัญญากำหนด เรื่องการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการไว้ แต่โจทก์ทั้งสามนำคดี มาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537-4540/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า ความผิดกรรมเดียว การริบของกลาง และการแก้ไขโทษ
คดีความผิดอันไม่อาจยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนหรือดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายมอบอำนาจช่วงโดยชอบหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานอัยการโจทก์มีคำสั่งและฟ้อง การสอบสวนตลอดจนอำนาจฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำคือ และเครื่องหมายการค้าเป็นคำว่า "SQUARE D" แยกต่างหากจากกัน ผู้เสียหายจึงมีสิทธิที่จะเลือกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเครื่องหมายใดเครื่องหมายหนึ่งเพียงเครื่องหมายเดียวกับสินค้าของตน หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งสองเครื่องหมายประกอบกันกับสินค้าของตนก็ได้ การเสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอม แม้จะเป็นการปลอมเพียงเครื่องหมายเดียวก็อาจเป็นความผิดตามฟ้องได้
มาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ใช้บังคับเมื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคล เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และลงโทษมาตรา 114 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง
สินค้าของกลางทั้งสี่สำนวนจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าวในคราวเดียวกัน เพียงแต่จำเลยแบ่งสินค้านำไปวางเสนอจำหน่ายเพื่อหากำไรหลายสถานที่ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสี่สำนวน เมื่อมีการรวมพิจารณาจึงต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว
การมีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร และเมื่อพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางตามมาตรา 115 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 อันเป็นบททั่วไปอีก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/43 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537-4540/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียว สินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า การริบของกลาง และการปรับบท
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว โดยแบ่ง สินค้าแยกวางเสนอจำหน่ายในสถานที่ต่างกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 มีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าว ในคราวเดียวกัน เพียงแต่แยกวางจำหน่ายในสถานที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลาง เป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตใน ราชอาณาจักร และไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์สินค้าของกลางตาม ประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นบททั่วไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าถูกกักและทำลาย
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามประการแรกมีว่า ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้เรียงกันไปทุกข้อหรือไม่
++ เห็นว่า การวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยตามที่เห็นว่าสมควรตามความจำเป็นแห่งคดี
++ เมื่อปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้และศาลได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ ฉะนั้นถ้าหากได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยแล้วจะไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีในข้ออื่นเพราะแม้จะพิจารณาไปก็ไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้ ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยเช่นนั้นได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่กำหนดไว้ให้หมดทุกข้อ
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามประการต่อไปมีว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
++ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติการรับขนทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการเสียหายแห่งของที่รับขนในกรณีที่ไม่มีการส่งมอบของเลยให้นับอายุความ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบของนั้นหรือล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรส่งมอบ
++ ข้อเท็จจริงได้ความจากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยสอดคล้องกันว่า มีการส่งสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งที่ท่าเรือซานโฮเซเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 ปรากฏตามเอกสารหมาย จ.18 การขนส่งจากท่าเรือซานโฮเซไปยังท่าเรือลอสแองเจลิสใช้เวลาประมาณ 4 วัน และจากท่าเรือลอสแองเจลิสใช้เวลาเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครประมาณ 1 เดือน และได้ความจากนางพรรณี ตั้งเรือนวงศ์ กรรมการผู้จัดการของโจทก์ที่ 1 ว่าได้ตรวจสอบเอกสารทราบว่าเรือจะเดินทางมาถึงประเทศไทยประมาณต้นเดือนตุลาคม 2538 จึงไปติดต่อขอรับสินค้าพิพาทจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ปรากฏว่าเรือมาเทียบท่าแล้ว แต่ไม่มีตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าพิพาทมาด้วย ซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้ความจากโจทก์ที่ 2ว่าได้รับแจ้งจากตัวแทนจำเลยในประเทศไทยว่าสินค้าจะมาถึงท่าเรือกรุงเทพประมาณกลางเดือนตุลาคม 2538 แสดงว่าในการขนส่งสินค้าพิพาท สินค้าพิพาทควรจะต้องมาถึงประเทศไทยและส่งมอบประมาณเดือนตุลาคม 2538 ฉะนั้น อายุความจะต้องเริ่มนับแต่ช่วงเวลานั้นเมื่อนับแต่ช่วงเวลาดังกล่าวถึงวันฟ้องคือวันที่ 12 พฤษภาคม 2540เป็นเวลาเกิน 1 ปี แล้ว คดีของโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความฟ้องร้องในกรณีที่ขอให้รับผิดเมื่อไม่มีการส่งมอบสินค้าตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46
++ ส่วนที่โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์ว่า กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขนโดยสิ้นเชิงจึงต้องนำอายุความทั่วไปคือ 10 ปี มาบังคับนั้น
++ ได้ความว่า จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ขนส่งสินค้าพิพาทมาช่วงหนึ่งแล้ว ก่อนที่สินค้าจะถูกกัก เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำหนัก ข้อเท็จจริงจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญารับขนโดยสิ้นเชิง
++ เมื่อได้วินิจฉัยในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: โจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ทั้งทางแพ่งและ ทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีนี้โดยฟ้องจำเลย ทั้งสามเป็นคดีอาญาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในการดำเนินคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ซึ่งให้นำ ป.วิ.อ. มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนี้ ในการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ได้นั้นนอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องของโจทก์จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 แล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ด้วย
พยานหลักฐานของโจทก์เองแสดงให้เห็นว่า การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้น เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจาก วันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้ว โดยเป็นการทำซ้ำเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำนั้น ให้แก่ ส. ตามที่ ส. ได้ล่อซื้อนั่นเอง มิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ ดังนี้ จึงน่าเชื่อว่าการที่มีผู้กระทำผิด ด้วยการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์จ้างล่อซื้อ โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์เกิดหลังล่อซื้อ โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: โจทก์จ้างล่อซื้อ ทำให้ตนเองตกเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีอาญาจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้ ในการที่ศาลจะลงโทษจำเลยตามคำฟ้องนั้น นอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องแล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ด้วย
จำเลยที่ 1 ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องก่อนที่ ส. ซึ่งรับจ้างทำงานให้โจทก์จะไปล่อซื้อ แต่จะมีการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วมีการทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากที่ ส. ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องการแถมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ ส. ตามที่ได้ตกลงกันในวันที่ ส. ไปล่อซื้อ พนักงานของจำเลยที่ 1อาจนำแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรเครื่องต้นแบบเข้ามาใช้เป็นต้นแบบบันทึกถ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไปในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่ ส. ล่อซื้อในช่วงเวลาหลังจากที่จำเลยที่ 1 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โรงงานเสร็จและส่งไปที่สำนักงานจำเลยที่ 1 เพื่อรอส่งมอบแก่ลูกค้าที่สั่งซื้อตามเวลาที่นัดไว้ การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้นเป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้วเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำให้แก่ ส. มิใช่ทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ น่าเชื่อว่าการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดโจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 69