คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดทางอาญาในคดีปลอมเครื่องหมายการค้า: การที่กรรมการคนเดียวทราบข้อเท็จจริงไม่ถือว่านิติบุคคลทราบ
แม้ความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจะแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคลก็ตาม แต่กรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนินกิจการของนิติบุคคลกฎหมายกำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากตาม ป.พ.พ. มาตรา 71 และปรากฏตามหนังสือรับรองว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการบริษัทโดยการกระทำให้มีผลผูกพันบริษัท ต้องมีกรรมการสองในห้าคนนี้ลงชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัท และในบรรดากรรมการดังกล่าวมีเพียงจำเลยที่ 4 ที่รู้ข้อเท็จจริงว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ แต่จำเลยที่ 4 กลับปกปิดไว้โดยอ้างว่าเครื่องหมายการค้านี้เป็นของตนมาแต่แรก จึงมีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งต่อมาได้เป็นกรรมการบริษัทร่วมกับจำเลยที่ 4 ไม่รู้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 4 กรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งโดยลำพังไม่มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์ ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าขาดเจตนาอันจะเป็นมูลความผิดทางอาญาฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาปลอมเครื่องหมายการค้า: การพิสูจน์เจตนาของกรรมการบริษัทและผลต่อความรับผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกปลอมเครื่องหมายการค้า (RELY) ของโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยทั้งหกมีเจตนากระทำผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 4 ได้แสดงออกต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้เข้าร่วมทุนจัดตั้งบริษัทกับจำเลยที่ 4 ว่าเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิใช้ เครื่องหมายการค้า (RELY) และจะนำมาร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้นมาผลิตสินค้าจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว แม้จำเลยที่ 4 มิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (RELY) ก็ตามแต่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ในห้างหุ้นส่วนจำกัดที่โจทก์และจำเลยที่ 4 ร่วมเข้าหุ้นจัดตั้งขึ้นมาและได้ผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายตลอดมา พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลทั่วไปรวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า (RELY) นี้ ทั้งเมื่อภายหลังจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบว่า เครื่องหมายการค้า (RELY) เป็นของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการ คนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์ ก็ยังไม่อาจถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงนั้น การกระทำของ จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ย่อมถือได้ว่าขาดเจตนา อันจะเป็นมูลความผิดทางอาญาฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า และจำหน่ายเครื่องหมายการค้าปลอมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า: การดูแลรักษาและการส่งมอบ
ใบตราส่งอันเป็นเอกสารหรือหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเลแสดงว่าผู้ออกใบตราส่งคือนายเรือ ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยผู้เป็นเจ้าของเรือสำหรับสัญญาที่จำเลยอ้างว่า ค. ได้เช่าเรือไปจากจำเลย ก็เป็นสัญญาเช่าเรือแบบเพื่อกำหนดระยะเวลาหนึ่ง (TimeCharter) ซึ่งนายเรือยังคงเป็นตัวแทนของเจ้าของเรืออยู่ และแม้ใบตราส่งดังกล่าวจะมีข้อความบางประการพาดพิงถึงสัญญาเช่าเรือ แต่ผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งก็ไม่อาจทราบเงื่อนไขและรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าเรือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้เช่าเรือ เมื่อนายเรือได้ลงชื่อออกใบตราส่งโดยไม่ได้ระบุว่ากระทำการแทนผู้ใด ย่อมต้องถือว่ากระทำการในฐานที่เป็นตัวแทนของจำเลยผู้เป็นเจ้าของเรือ จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่ง
ฝ่ายผู้ขนส่งเป็นผู้จัดหาเรือลำเลียงมาขนถ่ายสินค้าพิพาทไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่กรุงเทพมหานคร เมื่อจำเลยผู้ขนส่งได้รับสินค้าพิพาทไว้จากผู้ส่งในสภาพเรียบร้อย แต่สินค้าพิพาทเมื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งมีสภาพเสียหายโดยขาดจำนวนและปนเปื้อนในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยซึ่งตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 กำหนดให้ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังและปฏิบัติการให้เหมาะสมในการบรรทุกลงเรือ การเก็บรักษาการดูแลและการขนถ่ายซึ่งของที่ตนทำการขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายและเสียหายของสินค้าพิพาทตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามมาตรา 10 ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าในการบรรทุกสินค้าลงเรือผู้ส่งไม่ได้จัดหาวัสดุป้องกันการปนเปื้อนไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า ตาม พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล
ใบตราส่งอันเป็นเอกสารหรือหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเลแสดงว่าผู้ออกใบตราส่งคือนายเรือ ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยผู้เป็นเจ้าของเรือสำหรับสัญญาที่จำเลยอ้างว่า ค.ได้เช่าเรือไปจากจำเลย ก็เป็นสัญญาเช่าเรือแบบเพื่อกำหนดระยะเวลาหนึ่ง (Time Charter) ซึ่งนายเรือยังคงเป็นตัวแทนของเจ้าของเรืออยู่ และแม้ใบตราส่งดังกล่าวจะมีข้อความบางประการพาดพิงถึงสัญญาเช่าเรือ แต่ผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งก็ไม่อาจทราบเงื่อนไขและรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าเรือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้เช่าเรือ เมื่อนายเรือได้ลงชื่อออกใบตราส่งโดยไม่ได้ระบุว่ากระทำการแทนผู้ใด ย่อมต้องถือว่ากระทำการในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยผู้เป็นเจ้าของเรือ จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่ง
ฝ่ายผู้ขนส่งเป็นผู้จัดหาเรือลำเลียงมาขนถ่ายสินค้าพิพาทไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่กรุงเทพมหานคร เมื่อจำเลยผู้ขนส่งได้รับสินค้าพิพาทไว้จากผู้ส่งในสภาพเรียบร้อย แต่สินค้าพิพาทเมื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งมีสภาพเสียหายโดยขาดจำนวนและปนเปื้อนในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยซึ่งตามมาตรา 10แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 กำหนดให้ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังและปฏิบัติการให้เหมาะสมในการบรรทุกลงเรือ การเก็บรักษาการดูแลและการขนถ่ายซึ่งของที่ตนทำการขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายและเสียหายของสินค้าพิพาทตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และเมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามมาตรา 10 ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าในการบรรทุกสินค้าลงเรือผู้ส่งไม่ได้จัดหาวัสดุป้องกันการปนเปื้อนไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างการขนส่ง
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้รับสินค้าพิพาทจากผู้ส่งในสภาพเรียบร้อยแต่เมื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง สินค้าพิพาทมีสภาพเสียหายโดยขาดจำนวนและปนเปื้อนในระหว่างอยู่ในความดูแลของตน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายและเสียหายของสินค้าพิพาท จะอ้างว่าในการบรรทุกสินค้าลงเรือ ผู้ส่งไม่ได้จัดหาวัสดุป้องกันการปนเปื้อนไว้ ตนจึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีซื้อขายสินค้าข้ามประเทศ: การพิจารณาอำนาจศาลเพื่อรับฟ้องคดีสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
กรณีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และได้เสนอให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 9 ซึ่งประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: การพิจารณาคำฟ้องในคดีที่เกี่ยวข้อง
กรณีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และได้เสนอให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 ซึ่งประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟ้องได้
คดีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่และได้เสนอให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 9 เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่าคดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเก่าแก่ การใช้จริง และความคล้ายคลึงจนอาจทำให้สับสน
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MITSUBA สำหรับสินค้าจำพวกที่ 9 ในรายการสินค้าที่รวมถึงสวิตช์สัญญาณเตือนภัยด้วย แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนเนื่องจากเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า MITSURA ของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 12 รายการสินค้าสัญญาณกันขโมยสำหรับยานพาหนะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 13 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MITSUBA กับสินค้าของโจทก์มาก่อนที่จำเลยจะใช้เครื่องหมาย การค้าคำว่า MITSURA กับสินค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจะใช้กับสินค้าต่างจำพวกกัน แต่มีลักษณะอย่างเดียวกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MITSURA ของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหายและราคาสินค้าที่แท้จริง การบังคับคดีดอกเบี้ยเกินคำฟ้อง
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางอากาศ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ส่งสินค้าซึ่งทำด้วยทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น ไปให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ลูกค้าที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทางเครื่องบินของจำเลยที่ 2 เมื่อเครื่องบินขนสินค้ามาถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 30 สิงหาคม 2540 ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหีบห่อ โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ขอชดใช้ให้เป็นเงินจำนวน 15,000 บาท มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ประเด็นแรกว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องไว้จากบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วหรือไม่ ในประเด็นนี้นางสาวมาลีตันฑ์วณิช ผู้จัดการฝ่ายรับประกันวินาศภัยของโจทก์เบิกความว่า โจทก์รับประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น จากบริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ซึ่งจะขนสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยทางเครื่องบิน โดยรับประกันภัยไว้เป็นเงินจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ขายได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์โดยทางเครื่องบินเพื่อส่งมอบให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าดังกล่าว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1ได้รับสินค้าไว้เรียบร้อยครบจำนวนแล้วได้ออกใบตราส่งทางอากาศให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งตามเอกสารหมาย จ.6 จากนั้นจำเลยที่ 1ได้จ้างจำเลยที่ 2 อีกทอดหนึ่งให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์ เครื่องบินลำที่ขนส่งสินค้าดังกล่าวไปถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2540 แต่ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวสูญหายไปทั้งหีบห่อในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 เมื่อสินค้าสูญหายบริษัทผู้เอาประกันภัยได้เรียกร้องค่าเสียหายไปยังจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ชดใช้ให้ บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงเรียกร้องมายังโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย โจทก์พิจารณาเห็นว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายไปทั้งหมดจริง จึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัทดังกล่าวไปจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ307,294 บาท เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2541 แล้วบริษัทผู้เอาประกันภัยดังกล่าวได้ออกใบรับช่วงสิทธิให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามเอกสารหมาย จ.9เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้รับประกันภัยจากบริษัทเอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด พร้อมทั้งมีกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.4 มาแสดง นอกจากนั้นเมื่อสินค้าได้สูญหายและโจทก์ได้ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียลงวันที่ 15 มกราคม 2541 ตามเอกสารหมาย จ.9 ให้โจทก์ ซึ่งถ้าหากมิได้มีการประกันภัยสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 817 ชิ้นที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องกันไว้และมิได้มีการใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กันจริง โจทก์ก็คงจะไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่แฟคตอรี่ จำกัด และบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ก็คงจะไม่ออกใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียให้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่พอให้เชื่อว่าโจทก์ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด โดยไม่ได้มีการประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แล้วโจทก์สมคบกันกับบริษัทดังกล่าวโดยทุจริตยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทนั้นไปเพียงเพื่อจะได้เข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทนั้นมาฟ้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งแต่อย่างใด เชื่อว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องและได้จ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจริงส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างในอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้รับประกันภัยก่อนขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้นั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายโจทก์ถามติงว่า เหตุที่วันที่ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นวันหลังจากวันที่ออกใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 เพราะโจทก์ตกลงกับบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ซึ่งเป็นนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ว่า ให้ออกเอกสารแสดงการรับประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยไปก่อนและรวบรวมส่งให้โจทก์เป็นรายเดือน แล้วโจทก์ก็จะนำไปออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับสมบูรณ์คือเอกสารหมาย จ.4 ในเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 แผ่นแรก ก็ระบุถึงวันที่บริษัทนายหน้าออกเอกสารไว้ว่า วันที่ 29 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ทำการขนส่งดังที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.6จากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเชื่อว่าบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัดรับประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องไว้แทนโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2540ก่อนที่จะเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่เอาประกันภัย ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพันต่อผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้านั้นที่จะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องที่ต้องสูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางอากาศของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ และที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นเพียงสำเนาเอกสาร รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามกฎหมายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านไว้แล้วนั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4มีเอกสารแนบท้ายซึ่งเป็นของบริษัทนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ เอกสารที่แนบท้ายเอกสารดังกล่าวมีเพียงฉบับเดียว ดังปรากฏตามที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยทำเป็นคู่ฉบับ ซึ่งเป็นต้นฉบับ 2 ฉบับ และทำสำเนาหลายฉบับ ส่งไปให้ผู้เอาประกันภัย 1 ฉบับ และตัวแทนรับประกันภัยของโจทก์ 1 ฉบับ ด้วยอันแสดงว่าเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 บริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้นเพียงฉบับเดียว ดังนั้น ต้นฉบับจึงต้องอยู่กับผู้เอาประกันภัย คือบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัดเพราะโจทก์ต้องส่งต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมเอกสารแนบท้ายไปให้ผู้เอาประกันภัยด้วย โจทก์จึงเหลือเพียงต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารหมาย จ.4 อีก 1 ฉบับ และสำเนาเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ที่โจทก์ทำไว้เท่านั้น เหตุที่ต้นฉบับเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 มิได้อยู่ที่โจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบ และรับฟังสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า สินค้าที่ขนส่งมีราคาเท่าใด และจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดนั้น เห็นว่า ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 ในช่องลักษณะและจำนวนของสินค้า (รวมทั้งขนาดวัดและความจุ) แจ้งรายละเอียดว่าเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอย สินค้ามีขนาดวัด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ต้นกำเนิดประเทศไทย ใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็ม เอ 004/97 และเมื่อพิจารณาประกอบกับใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็มเอ 004/97 ตามเอกสารหมาย จ.5แล้วปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดว่า รวมราคาสินค้าส่งถึงบนเครื่องบิน กรุงเทพฯ จำนวน 817 ชิ้น น้ำหนัก 1,931 กรัม จำนวน1,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเชื่อว่าราคาสินค้าที่ขนส่งเป็นเงินจำนวน11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จริง ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมายจ.6 ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าสินค้ามีราคาเพียง15,000 บาท ตามราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอชดใช้ให้โจทก์นั้น ปรากฏว่าสินค้าที่สูญหายไปเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยซึ่งเป็นของมีค่าและมีจำนวน817 ชิ้น มีน้ำหนักถึง 1,931 กรัม ซึ่งย่อมจะต้องมีราคาสูง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้เพราะขัดต่อเหตุผล เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ทำให้สินค้าอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งซึ่งเอาประกันภัยสินค้านั้นไว้แก่โจทก์ตามราคาสินค้าที่ขนส่งที่แท้จริง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษามาชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มกราคม 2541 อันเป็นวันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์นั้นปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปคือวันที่ 15 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันฟ้องเป็นเวลา 7 เดือนเศษ แต่โจทก์ขอคิดเพียง 7 เดือน ไม่ขอคิดดอกเบี้ยในเศษ 13 วัน ด้วย เป็นเงินดอกเบี้ยจำนวน 13,444.11 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 320,738.11 บาท และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 320,738.11 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี ในต้นเงินจำนวน 307,294 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาท เป็นเวลา 13 วัน ซึ่งโจทก์มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระรวมเข้าไปด้วย อันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 320,738.11บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง.
of 69