พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
F.I.O.T. ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดความเสียหายสินค้า หากเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือการขนส่งทางทะเล
การขนส่งภายใต้เงื่อนไข F.I.O.T. ซึ่งหมายความว่าสินค้าจะทำการขนถ่ายโดยผู้ส่งและผู้รับสินค้าเท่านั้น กล่าวคือ ณ ท่าเรือต้นทางผู้ส่งสินค้าจะต้องรับผิดชอบในการขนสินค้าลงเรือ และท่าเรือปลายทางผู้รับตราส่งจะต้องดำเนินการขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือเอง จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าปุ๋ยที่เสียหายและสูญหายมิได้เกิดขึ้น ระหว่างการขนส่งทางทะเลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์: สัญญาจ้างไม่สมบูรณ์ ผู้รับจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการโฆษณา
งานสร้างสรรค์ที่ผู้รับจ้างทำขึ้นมาจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ต่อเมื่อการว่าจ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพันกันโดยชอบ โจทก์สร้างสรรค์งานภาพเขียนขึ้น แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่ามีเหตุมาจากการที่จำเลยมาติดต่อกับโจทก์เพื่อให้โจทก์จัดทำป้ายโฆษณาการคล้องช้างในงานอยุธยามรดกโลกก็ตาม แต่ในชั้นแรกโจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องราคาค่าจ้างรวมทั้งรายละเอียดของภาพโฆษณา ต่อมาโจทก์ได้เขียนภาพต้นแบบขึ้นนำไปให้จำเลยพิจารณาจำเลยก็ขอให้ปรับปรุงรายละเอียดบางประการ จากนั้นโจทก์จึงเสนอราคาค่าจ้างแต่จำเลยเห็นว่าแพงไปและตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงไม่ว่าจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณา ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังตกลงกันในเรื่องสาระสำคัญของสัญญาไม่ได้ การว่าจ้างหรือสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ งานสร้างสรรค์ภาพ "พิธีคล้องช้าง" ที่โจทก์ทำขึ้นจึงหาตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่ แต่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว
ได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงการกระทำเพื่อโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีการคล้องช้างของจำเลยก็ตาม จำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยได้ดำเนินการจัดทำขึ้นไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง จึงปรับบทลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 69 วรรคแรก เท่านั้น
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณานั้นจะมีถึง 4 ป้าย ด้วยกัน แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้าย และนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง นั้น จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือ เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงการกระทำเพื่อโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีการคล้องช้างของจำเลยก็ตาม จำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยได้ดำเนินการจัดทำขึ้นไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง จึงปรับบทลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 69 วรรคแรก เท่านั้น
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณานั้นจะมีถึง 4 ป้าย ด้วยกัน แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้าย และนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง นั้น จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือ เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยดัดแปลงภาพถ่ายโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีเจตนาค้ากำไรโดยตรง
โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเป็นผู้คิดสร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรมขึ้นมา โจทก์ย่อมเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานภาพเขียนดังกล่าวและมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามมาตรา 6,8 และ 15 แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯส่วนจำเลยจะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานภาพเขียนดังกล่าวที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นเพราะโจทก์สร้างสรรค์งานนี้โดยการรับจ้างจำเลยหรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 10
งานสร้างสรรค์ที่ผู้รับจ้างทำขึ้นมาจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ต่อเมื่อการว่าจ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพันกันโดยชอบ การที่โจทก์สร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง" ขึ้นมานั้น แม้จะมีเหตุมาจากที่จำเลยมาติดต่อกับโจทก์เพื่อให้โจทก์จัดทำป้ายโฆษณาคล้องช้างในงานอยุธยามรดกโลกก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องที่สำคัญคือราคาค่าจ้างรวมทั้งรายละเอียดของภาพโฆษณา ต่อมาโจทก์ได้เขียนภาพต้นแบบขึ้นนำไปให้จำเลยพิจารณา จำเลยขอให้ปรับปรุงรายละเอียดบางประการ จากนั้นโจทก์จึงเสนอราคาค่าจ้าง แต่จำเลยเห็นว่าแพงไปและตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงไม่ว่าจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณาแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังตกลงกันในเรื่องสาระสำคัญของสัญญาไม่ได้ การว่าจ้างหรือสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ งานที่โจทก์ทำขึ้นจึงไม่ตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย แต่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว
ภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ของโจทก์และภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยทำขึ้นเป็นภาพที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ลักษณะเค้าโครงของภาพท่าทางของช้างและลักษณะเฉพาะของช้าง เช่นการงอเท้าและการยื่นเท้าคล้ายกัน และลักษณะการขยายส่วนของภาพจากภาพต้นแบบไปเป็นภาพในป้ายโฆษณาขนาดใหญ่มีขนาดของส่วนขยายที่คล้ายกัน ช้างตัวหน้ายกขาเหมือนกันตำแหน่งช้างก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ช้างตัวหลังมีท่าเดินเหมือนกันบรรยากาศ หรือส่วนประกอบของภาพก็เหมือนกัน ภาพในป้ายโฆษณาเป็นภาพที่มาจากต้นแบบ โดยดูจากการจัดองค์ประกอบของภาพทั้งหมด ตำแหน่งของการวางรูปช้างการยืนและท่าทางของช้าง รวมทั้งฉากหลังภาพซึ่งเป็นเพนียดท่าทางของคนที่อยู่บนหลังช้างรวมทั้งสีของภาพและลักษณะการคล้องช้าง ประกอบกับจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดทำป้ายโฆษณาขึ้นโดยการถือเอาภาพ "พิธีคล้องช้าง" ของโจทก์เป็นต้นแบบจึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
การทำป้ายโฆษณาของจำเลยอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นเพียงการโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีคล้องช้างของจำเลยก็ตามจำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 69 วรรคสอง
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณาอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์จะมีถึง 4 ป้ายด้วยกันก็ตาม แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้ายและนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
งานสร้างสรรค์ที่ผู้รับจ้างทำขึ้นมาจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ต่อเมื่อการว่าจ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพันกันโดยชอบ การที่โจทก์สร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง" ขึ้นมานั้น แม้จะมีเหตุมาจากที่จำเลยมาติดต่อกับโจทก์เพื่อให้โจทก์จัดทำป้ายโฆษณาคล้องช้างในงานอยุธยามรดกโลกก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องที่สำคัญคือราคาค่าจ้างรวมทั้งรายละเอียดของภาพโฆษณา ต่อมาโจทก์ได้เขียนภาพต้นแบบขึ้นนำไปให้จำเลยพิจารณา จำเลยขอให้ปรับปรุงรายละเอียดบางประการ จากนั้นโจทก์จึงเสนอราคาค่าจ้าง แต่จำเลยเห็นว่าแพงไปและตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงไม่ว่าจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณาแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังตกลงกันในเรื่องสาระสำคัญของสัญญาไม่ได้ การว่าจ้างหรือสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ งานที่โจทก์ทำขึ้นจึงไม่ตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย แต่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว
ภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ของโจทก์และภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยทำขึ้นเป็นภาพที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ลักษณะเค้าโครงของภาพท่าทางของช้างและลักษณะเฉพาะของช้าง เช่นการงอเท้าและการยื่นเท้าคล้ายกัน และลักษณะการขยายส่วนของภาพจากภาพต้นแบบไปเป็นภาพในป้ายโฆษณาขนาดใหญ่มีขนาดของส่วนขยายที่คล้ายกัน ช้างตัวหน้ายกขาเหมือนกันตำแหน่งช้างก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ช้างตัวหลังมีท่าเดินเหมือนกันบรรยากาศ หรือส่วนประกอบของภาพก็เหมือนกัน ภาพในป้ายโฆษณาเป็นภาพที่มาจากต้นแบบ โดยดูจากการจัดองค์ประกอบของภาพทั้งหมด ตำแหน่งของการวางรูปช้างการยืนและท่าทางของช้าง รวมทั้งฉากหลังภาพซึ่งเป็นเพนียดท่าทางของคนที่อยู่บนหลังช้างรวมทั้งสีของภาพและลักษณะการคล้องช้าง ประกอบกับจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดทำป้ายโฆษณาขึ้นโดยการถือเอาภาพ "พิธีคล้องช้าง" ของโจทก์เป็นต้นแบบจึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
การทำป้ายโฆษณาของจำเลยอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นเพียงการโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีคล้องช้างของจำเลยก็ตามจำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 69 วรรคสอง
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณาอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์จะมีถึง 4 ป้ายด้วยกันก็ตาม แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้ายและนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างร้านเช่าวิดีโอไม่จำเป็นต้องขออนุญาตประกอบกิจการตามพรบ.ควบคุมกิจการเทปฯ หากไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ประกอบการ
บทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการที่ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกให้เช่า จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาเดียวกัน ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขโทษต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดหากโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง ส่วนการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55, 78วรรคหนึ่ง การที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด 2 ฐานนี้ออกจากกันดังนั้นแม้ว่าจำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางใช้ร่วมกันได้ และเจตนาของจำเลยในการมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางเป็นการมีไว้เพื่อความประสงค์อันเดียวกันก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
ความผิดฐานมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่2 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่ศาลชั้นต้นระวางโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ให้จำคุก1 ปี จึงต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่2 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่ศาลชั้นต้นระวางโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ให้จำคุก1 ปี จึงต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาเดียวกัน
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง ส่วนการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง การที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด 2 ฐานนี้ออกจากกัน ดังนั้นแม้ว่าจำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางใช้ร่วมกันได้ และเจตนาของจำเลยในการมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางเป็นการมีไว้เพื่อความประสงค์อันเดียวกันก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
ความผิดฐานมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่ศาลชั้นต้นระวางโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ให้จำคุก 1 ปี จึงต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่ศาลชั้นต้นระวางโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ให้จำคุก 1 ปี จึงต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นฉ้อฉล แม้มีสัญญาสิทธิอาศัยก่อนยึดทรัพย์และทราบการยึด
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ทำกันและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ทำสัญญาดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยให้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจึงไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทได้ ต้องเลี่ยงมาทำสัญญาสิทธิอาศัย และการที่จำเลยทั้งสามไม่ได้นำพาที่จะดำเนินการจดทะเบียนโดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบ 10 ปีก็ไม่ได้ทำให้สัญญาสิทธิอาศัยเสียไป เมื่อสิทธิอาศัยดังกล่าวมีอยู่ก่อนหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ครบถ้วนตามที่จำเลยทั้งสามได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ชอบที่จะขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะทราบว่าโจทก์ได้ยึดทรัพย์สินของ จำเลยที่ 1 รวมทั้งห้องชุดพิพาทก่อนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็เป็นการใช้สิทธิโดยชอบของจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริต โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของนิติกรรมขายที่ดินและการรับชำระราคา: ศาลฎีกายืนว่าโจทก์ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตและรับเงินค่าที่ดินแล้ว
ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการป่วยทางสมองอย่างชัดแจ้งถึงขนาดเป็นคนวิปลาส ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบ เนื่องจากโจทก์ยังคงช่วยเหลือตนเองได้ในระดับกิจวัตรประจำวัน มีการตัดสินใจพอใช้ มีสติสัมปชัญญะรู้ได้ในระดับทั่วไป และสามารถพูดจาโต้ตอบได้ อีกทั้งยังปรากฏว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทหลังจากโจทก์ไปทำงานตามปกติประมาณ 1 เดือน ซึ่งโจทก์ระบุว่าเหตุที่ไปทำงานเพื่อที่จะได้วันเวลาราชการโดยไม่ต้องลาป่วยหรือขาดราชการ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีความรำลึก มีความรู้สึก และมีความรับผิดชอบเช่นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะทั่วๆ ไป อาการป่วยของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นบุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ใน ม. 30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองจึงไม่ตกเป็นโมฆียะตาม ม. 30 ดังกล่าว ดังนั้นนิติกรรมการขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทสมบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวเพื่อเพิกถอนนิติกรรมและไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินราคา 400,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้ว เมื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวโจทก์ไม่เคยได้รับค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวน 400,000 บาท จากจำเลยทั้งสอง เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้องฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ได้รับชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ขายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาขายที่ดิน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินราคา 400,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้ว เมื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวโจทก์ไม่เคยได้รับค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวน 400,000 บาท จากจำเลยทั้งสอง เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้องฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ได้รับชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ขายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาขายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด สัญญาซื้อขายหุ้นที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ป. น. และ ส. มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัท ก. เป็นผู้ขายหุ้นของ ป. น. และ ส. ถือไม่ได้ว่า ป. น. และ ส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป. น. และ ส. โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ ป. น. และ ส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของ ป. น. และ ส. ได้โอนไปยังโจทก์แล้ว ป. น. และ ส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงบริษัท: การถือหุ้น, การประชุมผู้ถือหุ้น, และการประทับตราบริษัท
ป.น.และส.มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจ ให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัทก. เป็นผู้ขายหุ้นของป.น.และส.ถือไม่ได้ว่าป.น.และส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป.น. และส.โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ป.น. และส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอน กับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็น อย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของป.น.และส.ได้โอนไปยังโจทก์แล้วป.น.และส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทก. สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขาย ได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตาม ข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นายว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อ นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองเพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสาร การโอนหุ้นตามมาตรา 1129 วรรคสอง ป.น.และส.จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก.