คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ, อัตราแลกเปลี่ยน, การชำระหนี้, สิทธิของเจ้าหนี้
คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายให้เห็นว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยระบุจำนวนเงินราคาสินค้าว่าเป็นเท่าไร จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวนเท่าไร เหลือหนี้ค่าสินค้าอีกเท่าไรที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ย โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทมาด้วย ถือเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการฟ้องขอบังคับให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายข้อเท็จจริงอื่นใดอีก
การที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 หรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณา
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริงในใบแจ้งหนี้เป็นเงิน 195,846.02ดอลลาร์สิงคโปร์ แต่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้แก่จำเลยด้วยราคาที่ต่ำกว่าที่ซื้อขายกันจริงซึ่งรวมเป็น 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องมาจากการร้องขอของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้ผู้เสียภาษีอากรดังกล่าวจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและจำเลยยังไม่ถูกกล่าวหาตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย แต่โจทก์จำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเป็นการเอาเปรียบประเทศไทย ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจจะยกเอาความไม่สุจริตขึ้นมาเรียกร้องเอาเงินได้เต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งมีจำนวนที่หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้าจำนวน 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้ว
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายสินค้ากันด้วยเงินดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยไม่ชำระ จำเลยก็ต้องรับผิดชำระเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงติดต่อซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวันได้ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินจึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ดังนั้น คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์ จะเกิดผลว่าหากอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอ ศาลฎีกาจึงกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน การชำระหนี้ และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในคำพิพากษา
คำฟ้องเป็นเพียงการสรุปข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร พร้อมคำขอบังคับจำเลยเพียงเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้อง เพื่อที่จะให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องเท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์จำนวนเท่าไร ชำระให้โจทก์แล้วเท่าไรเหลือหนี้อีกเท่าไรที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทมาด้วยนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้วทั้งการที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172หรือไม่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณาแต่อย่างใด
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการชำระหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จ คือต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากร ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวขึ้นมาเรียกร้องราคาสินค้าเต็มจำนวนตามที่ซื้อขายกันจริง ซึ่งมีจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงต้องรับผิดต่อโจทก์เท่ากับราคาที่สำแดงต่อกรมศุลกากรเพื่อเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ตามที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระให้ตามกำหนด จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทแล้ว จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงิน ตาม มาตรา 196 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินนั้นชอบแล้ว
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่สุจริตในการซื้อขาย, การหลีกเลี่ยงภาษี, และการชำระหนี้ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน
โจทก์ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จ คือต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากร ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวขึ้นมาเรียกร้องราคาสินค้าเต็มจำนวนตามที่ซื้อขายกันจริง ซึ่งมีจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงต้องรับผิดต่อโจทก์เท่ากับราคาที่สำแดงต่อกรมศุลกากรเพื่อเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ตามที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระให้ตามกำหนด จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทแล้ว จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้ค่าสินค้า เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ ตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7843/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดบทลงโทษที่ถูกต้องตามฟ้อง และการแยกความผิดตามกรรมต่างหากในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมปนน้ำมันเครื่องอันเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อจำหน่ายและเพื่อให้บุคคลอื่นใช้และขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 นั้น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพด้วยแต่โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงไว้ในฟ้องแต่อย่างใด ส่วนคำฟ้องที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฯ มาตรา 31,52 นั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตอันจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวได้ ดังนั้น แม้จำเลยรับสารภาพศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องแยกมาเป็นข้อ 2.กกับข้อ2.ข แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยต่างกรรมกัน แต่โจทก์บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยหลายข้อหารวมกันในคำฟ้องข้อเดียวกันในข้อ 2.ก ส่วนหนึ่งและข้อ 2.ข อีกส่วนหนึ่ง โดยการกระทำที่บรรยายฟ้องรวมอยู่ในแต่ละข้อหานั้น โจทก์มิได้บรรยายแยกแยะ การกระทำของจำเลยให้ปรากฏชัดแจ้งพอที่จะให้เห็นได้ว่าประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ 2.กและข้อ 2.ข ในแต่ละข้อหาเป็นแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในทุกข้อหาตามฟ้องข้อ 2.กและข้อ2.ขเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันนอกเหนือไปจากคำฟ้องหาได้ไม่เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7843/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา จำเลยรับสารภาพ แต่คำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลฎีกาแก้คำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมปนน้ำมันเครื่องอันเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อจำหน่ายและเพื่อให้บุคคลอื่นใช้และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 236 นั้น ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 236 จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพด้วย แต่โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงนั้นไว้ในฟ้องแต่อย่างใด ส่วนคำฟ้องที่โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฯ มาตรา 31, 52 นั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตอันจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวได้ ดังนั้น แม้จำเลยรับสารภาพศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นข้อ 2. ก กับข้อ 2. ข แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยต่างกรรมกัน แต่โจทก์บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยหลายข้อหารวมกันในคำฟ้องข้อเดียวกันในข้อ 2. ก ส่วนหนึ่ง และข้อ 2. ข อีกส่วนหนึ่งโดยการกระทำที่บรรยายฟ้องรวมอยู่ในแต่ละข้อหานั้น โจทก์มิได้บรรยายแยกแยะการกระทำของจำเลยให้ปรากฏชัดแจ้งพอที่จะให้เห็นได้ว่า ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ 2. ก และ 2. ข ในแต่ละข้อหาเป็นแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในทุกข้อหาตามฟ้องข้อ 2. ก และ 2. ข เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันนอกเหนือไปจากคำฟ้องหาได้ไม่ เพราะขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าโดยใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ การลงชื่อในเอกสารถือเป็นการสนองรับซื้อ สัญญาผูกพันจำเลยในฐานะตัวแทน
การที่โจทก์ส่งใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ไปถึงจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดของสินค้าราคาและวิธีการชำระหนี้ ย่อมเป็นคำเสนอขายสินค้าเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้ซื้อในเอกสารดังกล่าวแล้วส่งคืนให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาสนองรับซื้อแทนจำเลยที่ 1 สัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกรายนี้จึงเกิดขึ้นมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ยอมรับรู้ให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การค้าขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1มุ่งเอาการที่จำเลยที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก่อนจึงจะถือว่าการซื้อขายสำเร็จไปแต่ละรายการ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายทุกรายการไม่ชอบเพราะโจทก์ยังนำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ในคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างขึ้นลอย ๆ ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ โดยมิได้ยกเหตุผลใด ๆ มาประกอบข้ออ้างเลยว่า โจทก์นำสืบอย่างไรจึงถือว่านำสืบไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอซื้อขายและสนองรับ การผูกพันตามสัญญาซื้อขาย และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
การที่โจทก์ส่งใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ไปถึงจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดของสินค้าราคาและวิธีการชำระหนี้ ย่อมเป็นคำเสนอขายสินค้าเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้ซื้อในเอกสารดังกล่าวแล้วส่งคืนให้โจทก์ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาสนองรับซื้อแทนจำเลยที่ 1 สัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกรายนี้จึงเกิดขึ้นมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ยอมรับรู้ให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การค้าขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1มุ่งเอาการที่จำเลยที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก่อนจึงจะถือว่าการซื้อขายสำเร็จไปแต่ละรายการ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายทุกรายการไม่ชอบ เพราะโจทก์ยังนำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ในคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างขึ้นลอย ๆว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ โดยมิได้ยกเหตุผลใด ๆ มาประกอบข้ออ้างเลยว่า โจทก์นำสืบอย่างไรจึงถือว่านำสืบไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับขนสินค้าไม่ต้องรับผิดในสัญญา หากผู้ขนส่งทำสัญญาและออกใบตราส่งเอง
จำเลยมิได้เป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ แต่เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการเป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับผู้ส่งโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งในฐานะเป็นผู้ขนส่งเองโดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับขนสินค้า: ความรับผิดตามสัญญาเมื่อตัวการทำสัญญาเอง
จำเลยมิได้เป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ แต่เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการเป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับผู้ส่งโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งในฐานะเป็นผู้ขนส่งเองโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 824
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 69