พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดในที่ราชพัสดุ และการยุติของประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย และฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ 1 ปี เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุซึ่งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยขุดดินในที่ราชพัสดุขึ้นมาใช้ถมในการก่อสร้างโรงเรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดี โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิด เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และไม่ได้แก้อุทธรณ์ในประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่ 1จึงยุติในชั้นอุทธรณ์แล้ว ไม่เป็นประเด็นวินิจฉัยในชั้นฎีกา
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุซึ่งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยขุดดินในที่ราชพัสดุขึ้นมาใช้ถมในการก่อสร้างโรงเรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดี โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิด เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และไม่ได้แก้อุทธรณ์ในประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่ 1จึงยุติในชั้นอุทธรณ์แล้ว ไม่เป็นประเด็นวินิจฉัยในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินราชพัสดุและการฟ้องขับไล่: แม้เป็นที่ราชพัสดุ ผู้มีสิทธิครอบครองก่อนย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้จะไม่ปรากฏว่าขณะยื่นคำฟ้องที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่ แต่ก็ได้ความว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 75 ตารางวาใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัย ไม่ปรากฏว่าอยู่ในทำเลการค้า เชื่อว่าอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แม้ที่พิพาทจะเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังตาม พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5แต่เมื่อจำเลยทั้งสองเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยโจทก์อนุญาตให้เข้าไปอยู่อาศัยชั่วคราว จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: จำเลยไม่ใช่เจ้าของสิทธิโดยตรง โจทก์ฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปดูแล เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทโดยตรง ทั้งกฎหมายได้ให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุและมีหน้าที่ในกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้ทำการแทนหรือตัวแทนกระทรวงการคลังเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องกระทรวงการคลังเป็นจำเลยด้วยคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงไม่อาจผูกพันกระทรวงการคลังผู้เป็นเจ้าของสิทธิในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการกระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินราชพัสดุ: ผู้ครอบครองไม่มีสิทธิฟ้องบุกรุก แม้ครอบครองนานปี
ที่ราชพัสดุเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุฯ บัญญัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แม้โจทก์จะครอบครองมานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องจำเลยในข้อหาบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: คูเมืองเป็นที่ราชพัสดุ แม้มีการครอบครองทำประโยชน์ ก็ไม่มีสิทธิในที่ดิน
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) แม้จะมีสภาพเป็นที่ตกกล้า ทำนาหรือปลูกอาคารห้องแถวร้านค้า เป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินผู้ใดจะครอบครองช้านานเพียงใด ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ดังนั้น จำเลยจะยกระยะเวลาครอบครองขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้มีการครอบครองนาน ก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(3) แม้จะมีสภาพเป็นที่ตกกล้า ทำนาหรือปลูกอาคารห้องแถวร้านค้า เป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ใดจะครอบครองช้านานเพียงใด ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ ดังนั้น จำเลยจะยกระยะเวลาครอบครองขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470-3479/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่เวนคืนยังเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน แม้ยังมิได้ใช้ประโยชน์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่พิพาทยังมิได้มีพระราชบัญญัติเพิกถอนการเวนคืนจึงยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินได้แม้ทางราชการยังมิได้นำที่พิพาทไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ในการเวนคืน จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะครอบครองปรปักษ์
แม้พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุจะบัญญัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนฯ ให้เวนคืนที่พิพาทแก่กรมทางหลวง กรมทางหลวงจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลที่พิพาทโดยตรง และมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่พิพาทได้
แม้พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุจะบัญญัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนฯ ให้เวนคืนที่พิพาทแก่กรมทางหลวง กรมทางหลวงจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลที่พิพาทโดยตรง และมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินคูเมืองเก่าเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ผู้บุกรุกไม่มีสิทธิครอบครอง
ตัวเมืองนครศรีธรรมราชเก่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองล้อมรอบทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงเมืองมีคูล้อมรอบเช่นเดียวกันคูเมืองกว้างประมาณ 10 วาโดยตลอดตัวเมืองนครศรีธรรมราชเก่าเป็นของทางราชการและสถานที่ราชการใช้ บริหารราชการแผ่นดินในเขตเมืองนครศรีธรรมราช ฉะนั้น เมืองนครศรีธรรมราชเก่าจึงเป็นของหลวงหรือทรัพย์สินใช้เพื่อ ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะผู้ใดจะถือเอาครอบครองเป็น กรรมสิทธิ์ส่วนตัวหาได้ไม่แม้ต่อมาจะปรากฏว่าได้มีการรื้อกำแพงเมืองลงบางส่วนเหลือแต่ฐานกำแพงเมืองแล้วใช้ ฐานกำแพงทำเป็นถนนและคูเมืองได้ตื้นเขินขึ้นเป็นที่ราบ แล้วมีราษฎรไปครอบครองปลูกเรือนอยู่อาศัยและใช้เป็น ที่ทำกินรวมถึงที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองอยู่ด้วยก็หาได้ทำให้ฐานะของเมืองนครศรีธรรมราชเก่าพ้นสภาพจากการเป็นของหลวงหรือแผ่นดินไม่โดยเฉพาะคูเมืองแต่เดิมทางราชการสมัยก่อนใช้เป็นที่ป้องกันข้าศึกศัตรูจึงเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามอนุมาตรา (3) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และเป็นที่ราชพัสดุ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ด้วยแม้ที่พิพาทจะมีสภาพเป็นที่นาแต่ก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นที่ราชพัสดุจำเลยจึงหาได้ สิทธิครอบครองไม่
โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 โจทก์ร่วม ย่อมมีสิทธิให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทได้เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ไม่ยอมออกไปโจทก์และโจทก์ร่วม ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 โจทก์ร่วม ย่อมมีสิทธิให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทได้เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ไม่ยอมออกไปโจทก์และโจทก์ร่วม ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินคูเมืองเก่าเป็นที่ราชพัสดุสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้บุกรุกไม่มีสิทธิครอบครอง
ตัวเมืองนครศรีธรรมราชเก่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองล้อมรอบทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงเมืองมีคูล้อมรอบเช่นเดียวกันคูเมืองกว้างประมาณ 10 วาโดยตลอดตัวเมืองนครศรีธรรมราชเก่าเป็นของทางราชการและสถานที่ราชการใช้ บริหารราชการแผ่นดินในเขตเมืองนครศรีธรรมราช ฉะนั้น เมืองนครศรีธรรมราชเก่าจึงเป็นของหลวงหรือทรัพย์สินใช้เพื่อ ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะผู้ใดจะถือเอาครอบครองเป็น กรรมสิทธิ์ส่วนตัวหาได้ไม่แม้ต่อมาจะปรากฏว่าได้มีการรื้อกำแพงเมืองลงบางส่วนเหลือแต่ฐานกำแพงเมืองแล้วใช้ ฐานกำแพงทำเป็นถนน และคูเมืองได้ตื้นเขินขึ้นเป็นที่ราบ แล้วมีราษฎรไปครอบครองปลูกเรือนอยู่อาศัยและใช้เป็น ที่ทำกินรวมถึงที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองอยู่ด้วย ก็หาได้ทำให้ฐานะของเมืองนครศรีธรรมราชเก่าพ้นสภาพจากการเป็นของหลวงหรือแผ่นดินไม่โดยเฉพาะคูเมืองแต่เดิมทาง ราชการสมัยก่อนใช้เป็นที่ป้องกันข้าศึกศัตรูจึงเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามอนุมาตรา (3) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และเป็นที่ราชพัสดุ ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 ด้วยแม้ที่พิพาทจะมีสภาพเป็นที่นาแต่ก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นที่ราชพัสดุจำเลยจึงหาได้ สิทธิครอบครองไม่ โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 5 โจทก์ร่วม ย่อมมีสิทธิให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทได้เมื่อจำเลยเข้า ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ไม่ยอมออกไปโจทก์และโจทก์ร่วม ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินสาธารณะ: ที่ดินที่ได้จากเงินบริจาคของราษฎรเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎร ได้บริจาคเงินสมทบกับเงินบำรุงอำเภอ ซื้อไว้ใช้ในราชการของอำเภอ โดยเป็นที่พักหรือที่ทำงานปลัดอำเภอประจำตำบลในขณะนั้น ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นที่สาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) และเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ มาตรา 4 ซึ่งตามมาตรา 5 ประกอบด้ยมาตรา 11 ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรสิทธิ์ที่ราชพัสดุ กรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติบักษณะปกครองท้องที่ มาตรา 132 นายอำเภอจึงไม่มีอำนาจฟ้องขัยไล่ผู้อยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อกระทรวงการคลังโดยโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา ก็ต้องยกฟ้อง