คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 165 (9)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่ไม่ผูกพันคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่แยกจากคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน-ตามประเพณี: สิทธิเกิดเมื่อเลิกจ้าง/ไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามกำหนด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้าง เมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้งอยังไม่เกินกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 9กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย แสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้น นายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้วกรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้ว นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่ 12มิถุนายน 2525 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2526 โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้าง และนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ 2 ครั้ง คือวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 2ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน-ตามประเพณี: สิทธิเกิดเมื่อเลิกจ้าง/ไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามกำหนด
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ45กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้างเมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้งอยังไม่เกินกำหนด2ปีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ9กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วยแสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้นนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้วกรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้วนายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้างสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่12มิถุนายน2525ถึงวันที่12มิถุนายน2526โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้างและนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ2ครั้งคือวันที่1และวันที่16ของเดือนดังนั้นสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่16มิถุนายน2526เป็นต้นไปเมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน2ปีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเริ่มนับจากวันเลิกจ้าง ส่วนค่าจ้างวันหยุดตามประเพณีเริ่มนับจากวันจ่ายค่าจ้างปกติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้าง เมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้องยังไม่เกินกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 9 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย แสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้น นายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว กรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้ว นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2525 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2526 โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้าง และนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ 2 ครั้ง คือวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ดังนั้นสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างและผลของการไม่บังคับใช้สิทธิเรียกร้องในคดีแรงงาน
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างมีอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(9)วรรคแรกเมื่อกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือนหนึ่งวันการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่1ถึงวันที่25ตุลาคม2523ก่อนโจทก์ถูกสั่งพักงานจึงตกเป็นวันที่30ตุลาคม2523โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาการถูกสั่งพักงานถูกข้อหาปล้นทรัพย์ถูกดำเนินคดีอาญาไม่เป็นอุปสรรคกีดกันมิให้โจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้และไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงโจทก์มิได้บังคับตามสิทธิของตนภายในเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลแรงงานกลางมิได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางจดประเด็นข้อพิพาทศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องดังนี้คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ปฏิเสธไม่ยอมจดประเด็นข้อพิพาทเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(2)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างและการไม่จดประเด็นข้อพิพาท: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างมีอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) วรรคแรก เมื่อกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือนหนึ่งวัน การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2523 ก่อนโจทก์ถูกสั่งพักงานจึงตกเป็นวันที่ 30 ตุลาคม 2523 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา การถูกสั่งพักงาน ถูกข้อหาปล้นทรัพย์ถูกดำเนินคดีอาญา ไม่เป็นอุปสรรคกีดกันมิให้โจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ และไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์มิได้บังคับตามสิทธิของตนภายในเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ศาลแรงงานกลางมิได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางจดประเด็นข้อพิพาท ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ปฏิเสธไม่ยอมจดประเด็นข้อพิพาทเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างและการไม่จดประเด็นข้อพิพาท: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างมีอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9)วรรคแรกเมื่อกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือนหนึ่งวัน การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2523ก่อนโจทก์ถูกสั่งพักงานจึงตกเป็นวันที่ 30 ตุลาคม 2523โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา การถูกสั่งพักงาน ถูกข้อหาปล้นทรัพย์ถูกดำเนินคดีอาญา ไม่เป็นอุปสรรคกีดกันมิให้โจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ และไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์มิได้บังคับตามสิทธิของตนภายในเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ศาลแรงงานกลางมิได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางจดประเด็นข้อพิพาท ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องดังนี้ คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ปฏิเสธไม่ยอมจดประเด็นข้อพิพาทเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินรางวัลประจำปีไม่ใช่ค่าจ้าง มีอายุความ 10 ปี การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เงินรางวัลประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะที่เป็นพนักงานประจำซึ่งตั้งใจมาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและสม่ำเสมอไม่ขาด ลา สาย หรือกลับก่อนเวลาเลิกงาน ตามที่ระเบียบกำหนดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษ จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของมาตรา 165 (9) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2 แต่เป็นเงินประเภทอื่นที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเรียกร้องไว้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนดไว้ เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินรางวัลประจำปีไม่ใช่ค่าจ้าง มีอายุความ 10 ปี การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องเป็นไปตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์
เงินรางวัลประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะที่เป็นพนักงานประจำซึ่งตั้งใจมาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและสม่ำเสมอไม่ขาดลาสายหรือกลับก่อนเวลาเลิกงานตามที่ระเบียบกำหนดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของมาตรา165(9)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ2แต่เป็นเงินประเภทอื่นที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเรียกร้องไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164. การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518กำหนดไว้เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่.
of 3