พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อถูกเลิกจ้าง และการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้ ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างหามีสิทธิจะเรียกร้องไม่ลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้ ก็ต่อเมื่อถูกเลิกจ้างแล้วกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือลูกจ้างอาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้นับแต่วันถูกเลิกจ้างโจทก์ถูกเลิกจ้าง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์ฟ้อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี พ.ศ.2526 จึงไม่ขาด อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำงานครบตามที่ กำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยหาจำต้อง ทำงานในปีต่อไป จนครบ1 ปีไม่ ระเบียบการของจำเลย ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กำหนดว่า พนักงาน ที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 15 วันทำงานเมื่อโจทก์ทำงานครบ 5 ปีในปีใดในปีต่อไปย่อมเกิดสิทธิ แก่โจทก์ที่จะหยุดพักผ่อนได้15วันทำงานได้ทันทีจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 22 กุมภาพันธ์2528 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ประจำปี 2528 ได้ 15 วัน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2206/2528). ระเบียบการของธนาคารจำเลยมีว่า กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ ถึงทุพพลภาพ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ออกจากธนาคาร แล้วให้สั่งลูกจ้าง ออกจากงานได้จำเลยจึงมีอำนาจ เลิกจ้างโจทก์ได้ตามระเบียบการนี้ แต่เมื่อเลิกจ้างแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้อง พิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งมีข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ46 วรรคสามและข้อ47(1) ถึง(6) การเจ็บป่วยไม่มีประสิทธิภาพไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวประการใด ประการหนึ่งทั้งสิ้นจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ คำให้การของจำเลยตอนแรกมีความหมายเป็นนัยว่า เมื่อโจทก์ ออกจากงานได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชย อยู่แล้ว เหตุใดจึงมาเรียกค่าชดเชยซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าอยู่อีกส่วนความใน ตอนหลังปฏิเสธที่จะไม่จ่าย ค่าชดเชยเพราะเกี่ยวด้วยด้านตัวโจทก์เอง ที่ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กำหนดไว้ส่วนข้อที่เงินบำเหน็จซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์รับไปแล้วเป็นเงินประเภท เดียวกับ ค่าชดเชยหรือไม่โจทก์ฟ้องเรียกเงินประเภท เดียวซ้ำกันมาอีกหรือไม่ หามีในคำให้การไม่การที่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินบำเหน็จที่ โจทก์ได้รับไปแล้ว เป็นเงินต่างประเภทกับค่าชดเชยจึง เป็นการ วินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การไม่เป็นเหตุที่ จำเลยจะอุทธรณ์นอกประเด็น ตามคำคู่ความได้ และไม่เป็นการ ผูกพันศาลฎีกาจะต้องรับวินิจฉัย ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ข้อที่ว่าโจทก์ได้ทวงถามแล้วหรือไม่จำเลยมิได้ ปฏิเสธให้เป็น ประเด็นในคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเกิดเมื่อถูกเลิกจ้าง และอายุความในการฟ้องเรียกร้อง
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างหามีสิทธิจะเรียกร้องไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ลูกจ้างอาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้นับแต่วันถูกเลิกจ้าง โจทก์ถูกเลิกจ้าง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์ฟ้อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี พ.ศ.2526 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9)
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำงานครบตามที่ กำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยหาจำต้องทำงานในปีต่อไปจนครบ1 ปีไม่ ระเบียบการของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า พนักงานที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 15 วันทำงาน เมื่อโจทก์ทำงานครบ 5 ปีในปีใด ในปีต่อไปย่อมเกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะหยุดพักผ่อนได้15 วันทำงานได้ทันทีจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ประจำปี 2528 ได้ 15 วัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2206/2528).
ระเบียบการของธนาคารจำเลยมีว่า กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ ถึงทุพพลภาพ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ออกจากธนาคารแล้ว ให้สั่งลูกจ้างออกจากงานได้ จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ตามระเบียบการนี้ แต่เมื่อเลิกจ้างแล้วจำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งมีข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม และข้อ 47(1) ถึง (6) การเจ็บป่วยไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวประการใดประการหนึ่งทั้งสิ้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำให้การของจำเลยตอนแรกมีความหมายเป็นนัยว่า เมื่อโจทก์ออกจากงานได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชย อยู่แล้ว เหตุใดจึงมาเรียกค่าชดเชยซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าอยู่อีก ส่วนความในตอนหลังปฏิเสธที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเกี่ยวด้วยด้านตัวโจทก์เองที่ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลย อันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ กำหนดไว้ส่วนข้อที่เงินบำเหน็จซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์รับไปแล้วเป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชยหรือไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินประเภท เดียวซ้ำกันมาอีกหรือไม่ หามีในคำให้การไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์ได้รับไปแล้วเป็นเงินต่างประเภทกับค่าชดเชย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์นอกประเด็นตามคำคู่ความได้ และไม่เป็นการผูกพันศาลฎีกาจะต้องรับวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
ข้อที่ว่าโจทก์ได้ทวงถามแล้วหรือไม่ จำเลยมิได้ ปฏิเสธให้เป็นประเด็นในคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำงานครบตามที่ กำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยหาจำต้องทำงานในปีต่อไปจนครบ1 ปีไม่ ระเบียบการของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า พนักงานที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 15 วันทำงาน เมื่อโจทก์ทำงานครบ 5 ปีในปีใด ในปีต่อไปย่อมเกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะหยุดพักผ่อนได้15 วันทำงานได้ทันทีจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ประจำปี 2528 ได้ 15 วัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2206/2528).
ระเบียบการของธนาคารจำเลยมีว่า กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ ถึงทุพพลภาพ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ออกจากธนาคารแล้ว ให้สั่งลูกจ้างออกจากงานได้ จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ตามระเบียบการนี้ แต่เมื่อเลิกจ้างแล้วจำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งมีข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม และข้อ 47(1) ถึง (6) การเจ็บป่วยไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวประการใดประการหนึ่งทั้งสิ้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำให้การของจำเลยตอนแรกมีความหมายเป็นนัยว่า เมื่อโจทก์ออกจากงานได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชย อยู่แล้ว เหตุใดจึงมาเรียกค่าชดเชยซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าอยู่อีก ส่วนความในตอนหลังปฏิเสธที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเกี่ยวด้วยด้านตัวโจทก์เองที่ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลย อันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ กำหนดไว้ส่วนข้อที่เงินบำเหน็จซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์รับไปแล้วเป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชยหรือไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินประเภท เดียวซ้ำกันมาอีกหรือไม่ หามีในคำให้การไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์ได้รับไปแล้วเป็นเงินต่างประเภทกับค่าชดเชย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์นอกประเด็นตามคำคู่ความได้ และไม่เป็นการผูกพันศาลฎีกาจะต้องรับวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
ข้อที่ว่าโจทก์ได้ทวงถามแล้วหรือไม่ จำเลยมิได้ ปฏิเสธให้เป็นประเด็นในคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำงานวันหยุด/พักผ่อนเป็นสินจ้าง อายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 10 ปี
ค่าทำงานในวันหยุดและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแม้จะไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้ในวันหยุดซึ่ง ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทน การทำงานนอกเวลาปกติ และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทน แก่ลูกจ้าง กรณีที่ลูกจ้าง มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิ เงินทั้งสองประเภทนี้ นายจ้างผูกพันต้องจ่ายแก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นสินจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 อายุความแห่ง สิทธิเรียกร้อง เอาสินจ้างหรือเงินจ้างดังกล่าว จึงอยู่ภายใต้บังคับ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีกำหนด 2 ปี หาใช่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ การที่จำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์นั้นเป็น เพราะจำเลยเห็นว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องจ่าย ถือไม่ได้ ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจาก เหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงิน เพิ่มร้อยละสิบห้า ของเงินที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวันให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทำงานนอกเวลาและค่าวันหยุดพักผ่อน: สินจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 575 มีอายุความ 2 ปี
ค่าทำงานในวันหยุดและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแม้จะไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้ในวันหยุดซึ่ง ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติ และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนแก่ลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างมิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิ เงินทั้งสองประเภทนี้นายจ้างผูกพันต้องจ่ายแก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นสินจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างหรือเงินจ้างดังกล่าวจึงอยู่ภายใต้บังคับ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) ซึ่งมีกำหนด 2 ปี หาใช่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่
การที่จำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์นั้นเป็น เพราะจำเลยเห็นว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องจ่าย ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวันให้แก่โจทก์
การที่จำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์นั้นเป็น เพราะจำเลยเห็นว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องจ่าย ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวันให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: มาตรา 165(9) อายุความ 2 ปี มิใช่มาตรา 166 อายุความ 5 ปี
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดมิใช่จำนวนที่ตกลงไว้แน่นอนแม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาก็ตาม ฉะนั้นจึงไม่อยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) ใช้บังคับสำหรับบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างเพื่อแรงงานที่ทำดังนั้นจึงใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างองค์การของรัฐไม่ได้แต่เนื่องจากค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างอันถือเป็นเงินจ้างหรือค่าจ้าง กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีเช่นเดียวกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) ใช้บังคับสำหรับบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างเพื่อแรงงานที่ทำดังนั้นจึงใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างองค์การของรัฐไม่ได้แต่เนื่องจากค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างอันถือเป็นเงินจ้างหรือค่าจ้าง กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าล่วงเวลา: การตีความ 'คนงาน' ในมาตรา 165(9) และการพิจารณาจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน
คำว่า "หัตถกรรม" นั้น ประกอบคำว่า "โรงงาน" เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า "หัตถกรรม" หรือแม้กระทั่งคำว่า "โรงงานหัตถกรรม" หาได้ประกอบคำว่า "คนงาน" "ผู้ช่วยงาน" หรือ "ลูกมือฝึกหัด" ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าล่วงเวลา: ลูกจ้างเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากนายจ้างมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(9) หากเป็นเงินจ้างที่ไม่แน่นอน
คำว่า 'หัตถกรรม' นั้น ประกอบคำว่า 'โรงงาน' เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้นไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า 'หัตถกรรม' หรือแม้กระทั่งคำว่า'โรงงานหัตถกรรม' หาได้ประกอบคำว่า 'คนงาน''ผู้ช่วยงาน' หรือ 'ลูกมือฝึกหัด' ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165(9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากันจึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165(9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากันจึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166