คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 165 (9)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไม่ชอบ และสิทธิค่าจ้างช่วงพักงานยังคงมีอยู่
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างเหตุว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์เช่นนี้ เป็นการขัดกับคำสั่งพักงานเดิม และขัดกับคำพิพากษาในคดีอาญา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้นโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องมาจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างจึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานและเลิกจ้างโดยไม่ชอบ คดีอาญาหมดข้อกล่าวหา นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้น โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไปการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไม่ชอบ การจ่ายค่าจ้างช่วงพักงานยังคงมีผลบังคับใช้
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้น โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้าง จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างปิดงานขาดอายุความ ย่อมทำให้สิทธิรับเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าหายไปด้วย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยในระหว่างที่จำเลยปิดงานและโจทก์ไม่ได้ทำงานตามปกติค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกนี้ไม่ใช่เงินเดือนค้างจ่ายที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แต่เป็นสินจ้างคนงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) มีอายุความ2 ปี ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสองนั้น ต้องมีสิทธิได้รับค่าจ้างที่ค้างชำระด้วยจึงจะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มเมื่อค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยขาดอายุความ สิทธิในการรับเงินเพิ่มย่อมหมดไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน, การลงโทษทางวินัย, และสิทธิการพิจารณาขึ้นเงินเดือนของลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอันสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 8(1)(2)และ(5)แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกลงโทษตัดเงินเดือนโดยโดยไม่มีความผิด ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษแล้วให้บังคับจำเลยขึ้นเงินเดือนตามสิทธิ คำฟ้องและคำขอที่เรียกเงินเดือนดังกล่าวไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างโดยตรง จะปรับใช้อายุความว่าด้วยการเรียกเงินจ้างอันมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ไม่ได้ การที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างประการใดได้ก็ต่อเมื่อข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานได้กำหนดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำว่าเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ นายจ้างจะถือเอาการปฎิบัติอันเป็นประเพณีมาลงโทษลูกจ้างมิได้ การให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ลูกจ้างเป็นอำนาจโดยเฉพาะของนายจ้าง อำนาจนี้เป็นสิทธิของนายจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินกิจการที่นายจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง หาใช่สิทธิของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการฟ้องร้องกรณีลงโทษทางวินัย, การขึ้นเงินเดือน, และการเรียกร้องค่าเสียหายของลูกจ้าง
คดีก่อนมีประเด็นว่า คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยชอบหรือไม่ โจทก์ถูกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบหรือไม่ และควรขึ้นค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกสอบสวนหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยชอบหรือไม่ ควรขึ้นเงินเดือนโจทก์ระหว่างถูกสอบสวนหรือไม่ โจทก์ควรได้ค่าจ้างส่วนที่ขาด โบนัส และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่ ซึ่งประเด็นและเหตุในคดีทั้งสองต่างกัน การพิจารณาคดีทั้งสองมีมูลฐานที่พิจารณาจากคำสั่งต่างฉบับกัน และคำขอท้ายฟ้องแตกต่างกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอันสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ.2522 มาตรา 8 (1) (2) และ (5) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกลงโทษตัดเงินเดือนโดยไม่มีความผิด ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษแล้วให้บังคับจำเลยขึ้นเงินเดือนตามสิทธิคำฟ้องและคำขอที่เรียกเงินเดือนดังกล่าวไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างโดยตรง จะปรับใช้อายุความว่าด้วยการเรียกเงินจ้างอันมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) ไม่ได้
การที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างประการใดได้ก็ต่อเมื่อข้อบังคับหรือระเบียบการทำงานได้กำหนดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำว่าเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ นายจ้างจะถือเอาการปฏิบัติอันเป็นประเพณีมาลงโทษลูกจ้างมิได้
การให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้าง อำนาจนี้เป็นสิทธิของนายจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินกิจการที่นายจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้างสิทธิของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: การคำนวณเริ่มจากวันสิ้นเดือนที่ค้างจ่าย ไม่ใช่แค่วันออกจากงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือนหมายความว่าหากไม่จ่ายค่าจ้างของเดือนใด นับแต่วันสิ้นเดือนนั้นโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้อง ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 อายุความเรียกร้องค่าจ้างมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 165(9) โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2531 ค่าจ้างค้างจ่ายเดือนสุดท้ายที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ย้อนหลังไป 2 ปี คือค่าจ้างเดือนมีนาคม 2529 ค่าจ้างนอกจากนั้นขาดอายุความ
พ. กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความต่อศาลแรงงานกลางว่า จำเลยค้างค่าจ้างโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2527 เป็นเพียงการเบิกความในฐานะพยานจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: นับจากวันสิ้นเดือนที่ค้างจ่าย ไม่ใช่วันออกจากงาน และการเบิกความต่อศาลไม่ถือเป็นการรับสภาพหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือนหมายความว่าหากไม่จ่ายค่าจ้างของเดือนใด นับแต่วันสิ้นเดือนนั้นโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้อง ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 อายุความเรียกร้องค่าจ้างมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 165(9) โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2531 ค่าจ้างค้างจ่ายเดือนสุดท้ายที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ย้อนหลังไป2 ปี คือค่าจ้างเดือนมีนาคม 2529 ค่าจ้างนอกจากนั้นขาดอายุความ
พ. กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความต่อศาลแรงงานกลางว่า จำเลยค้างค่าจ้างโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2527 เป็นเพียงการเบิกความในฐานะพยานจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างและการรับสภาพหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความเริ่มนับจากวันสิ้นเดือน และการเบิกความต่อศาลไม่ถือเป็นการรับสภาพหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือนหมายความว่าหากไม่จ่ายค่าจ้างของเดือนใด นับแต่วันสิ้นเดือนนั้นโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 อายุความเรียกร้องค่าจ้างมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 165(9) โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 ค่าจ้างค้างจ่ายเดือนสุดท้ายที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ย้อนหลังไป 2 ปี คือค่าจ้างเดือนมีนาคม 2529 ค่าจ้างนอกจากนั้นขาดอายุความ พ. กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความต่อศาลแรงงานกลางว่า จำเลยค้างค่าจ้างโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2527 เป็นเพียงการเบิกความในฐานะพยานจำเลย จึงไม่ใช่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง แรงงาน: ศาลแรงงานพิจารณาจากข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณา ไม่ผูกติดคำพิพากษาคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงานหาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9).
of 3