พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามส่งออกของโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร พฤติการณ์ใกล้ชิดความสำเร็จ การกระทำปกปิดความผิด
ได้ความจากร้อยตรี ณ. ว่าวันเกิดเหตุ ชุดปฏิบัติการของพยานเฝ้าระวังอยู่ที่บริเวณแยกหนองสังข์ ส่วนพยานคอยตรวจเส้นทางระหว่างตำบลหนองสังข์ไปยังอำเภอโคกสูง จนกระทั่งเวลา 14 นาฬิกา ได้รับแจ้งจากชุดระวังหน้าว่ามีรถเป้าหมายเข้าพื้นที่เป็นรถกระบะสีขาวและรถกระบะสีบรอนซ์ขับตามกันมา พยานสวนกับรถเป้าหมายจึงกลับรถเพื่อติดตามรถเป้าหมายไป ต่อมาเมื่อจับกุมจําเลยทั้งสี่ ได้ตรวจค้นรถกระบะคันที่จําเลยที่ 1 ขับ ก็พบรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนสี่คันของกลาง ชั้นจับกุมจําเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าได้รับการว่าจ้างจากลูกค้าไม่ทราบชื่อให้ขนส่งนํารถจักรยานยนต์ทั้งสี่คันมาส่งบริเวณใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา เขตอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว แล้วจะมีคนมารับช่วงนําข้ามไปยังฝั่งประเทศกัมพูชา โดยได้ค่าจ้าง 7,000 บาท ส่วนจําเลยที่ 3 รับว่าจะเป็นผู้รับช่วงต่อจากจําเลยที่ 1 และที่ 2 ในการนํารถจักรยานยนต์ส่งออกไปจําหน่ายยังประเทศกัมพูชา ตามบันทึกการจับกุม ซึ่งคำให้การชั้นจับกุมนี้ แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย จะห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานแต่กฎหมายห้ามมิให้รับฟังเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับเท่านั้น มิได้ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น จึงรับฟังบันทึกการจับกุมของจําเลยที่ 3 ประกอบคําเบิกความพยานโจทก์ผู้จับกุมและพยานหลักฐานอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 โดยชอบ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
พฤติการณ์ของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ที่รับจ้างขนส่งรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนจำนวนมาก แต่อ้างว่าไม่รู้ว่าผู้รับจ้างเป็นใคร กลับส่อแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดการกระทำความผิดโดยรู้ว่าเป็นการนํารถจักรยานยนต์ทั้งสี่คันของกลางออกนอกราชอาณาจักร และการที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของกลางบรรทุกมากับรถกระบะ เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ไปยังจุดเกิดเหตุ ห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชา เพียง 3 กิโลเมตร เพื่อจะส่งมอบแก่ผู้รับช่วงนํารถจักรยานยนต์ดังกล่าวส่งข้ามชายแดนไปประเทศกัมพูชาถือได้ว่าการกระทำของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จเข้าขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากเจ้าพนักงานพบเห็นและจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 เสียก่อน จําเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร มิใช่ไม่เป็นความผิดเพราะไม่ถึงขั้นลงมือกระทำความผิดดังที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา
การกระทำของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย สร้างความเสียหายในทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยต้องโทษจําคุกมาก่อน มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว รวมทั้งเหตุผลความจําเป็นประการอื่น ก็ยังไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ
พฤติการณ์ของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ที่รับจ้างขนส่งรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนจำนวนมาก แต่อ้างว่าไม่รู้ว่าผู้รับจ้างเป็นใคร กลับส่อแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดการกระทำความผิดโดยรู้ว่าเป็นการนํารถจักรยานยนต์ทั้งสี่คันของกลางออกนอกราชอาณาจักร และการที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของกลางบรรทุกมากับรถกระบะ เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ไปยังจุดเกิดเหตุ ห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชา เพียง 3 กิโลเมตร เพื่อจะส่งมอบแก่ผู้รับช่วงนํารถจักรยานยนต์ดังกล่าวส่งข้ามชายแดนไปประเทศกัมพูชาถือได้ว่าการกระทำของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จเข้าขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากเจ้าพนักงานพบเห็นและจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 เสียก่อน จําเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร มิใช่ไม่เป็นความผิดเพราะไม่ถึงขั้นลงมือกระทำความผิดดังที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา
การกระทำของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย สร้างความเสียหายในทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยต้องโทษจําคุกมาก่อน มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว รวมทั้งเหตุผลความจําเป็นประการอื่น ก็ยังไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6768/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมครอบครองยาเสพติด ค่าจ้างสูงกว่าปกติแสดงเจตนา
จำเลยที่ 5 ได้รับค่าจ้างขับรถจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ครั้งแรก 25,000 บาท ครั้งที่สอง 50,000 บาท ค่าจ้างดังกล่าวเมื่อรวมกับค่าบัตรโดยสารเครื่องบินของจำเลยที่ 5 และที่ 6 อีกสองครั้งที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระให้แล้ว จึงเป็นค่าจ้างที่สูงกว่าปกติสำหรับการรับจ้างขับรถยนต์ตามปกติทั่วไป จำเลยที่ 5 ให้การในชั้นสอบสวนหลังถูกจับเพียง 1 วัน โดยมีทนายความร่วมฟังการสอบสวนและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องด้วย น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 5 ให้การด้วยความสมัครใจตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น จึงใช้ยันจำเลยที่ 5 ในชั้นพิจารณาได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวแล้ว ก็ปรากฏว่าสอดคล้องกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในชั้นจับกุม ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว เชื่อว่าจำเลยที่ 5 ทราบว่าภายในรถยนต์ ยี่ห้อซันยอง มีเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนอยู่ก่อนที่จะรับจ้าง ขณะจำเลยที่ 5 ขับรถจากจังหวัดสมุทรสาครไปอำเภอหาดใหญ่ จำเลยที่ 5 จึงเป็นผู้ครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 5 กับพวกจึงเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าจำเลยที่ 5 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6766/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีความผิดฐานขายคีตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลใช้พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพของผู้ร่วมกระทำผิดประกอบคำเบิกความของพยาน
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 84 ววรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 จะห้ามมิให้รับฟังคำรับสารภาพชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐาน แต่กฎหมายห้ามมิให้รับฟังถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับเท่านั้น แต่มิได้ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ร่วมกระทำความผิดอื่น จึงรับฟังบันทึกการจับกุม บันทึกถ้อยคำ และภาพถ่ายการชี้ตัว ประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ผู้จับกุมเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 ออกใช้บังคับ และให้ยกเลิก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แต่ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มีกำหนดโทษตามมาตรา 118 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 ออกใช้บังคับ และให้ยกเลิก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แต่ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มีกำหนดโทษตามมาตรา 118 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6304/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมจำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ข้อความในบันทึกคำรับสารภาพที่จำเลยทั้งสามต่างเขียนขึ้นเองมีข้อความในส่วนที่ตรงกันสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสามปรึกษาและออกเงินรวบรวมให้จำเลยที่ 1 ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ส. โดยระบุจำนวนเงินของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ด้วย ทั้งยังได้ความจากบันทึกคำรับสารภาพของจำเลยที่ 3 เพิ่มเติมว่า ที่มีการปรึกษาและรวบรวมเงินไปซื้อเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเนื่องจาก ด. โทรศัพท์ขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 3 และตามคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็สอดคล้องกันในส่วนที่แสดงว่า จำเลยที่ 1 ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนมาให้จำเลยที่ 3 เพื่อขายให้แก่ ด. ประกอบกับเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจพบยึดได้ที่บ้านจำเลยที่ 2 อยู่ในลักษณะที่เปิดเผยบนโต๊ะและตกบนพื้นบ้าน การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่สำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้จำเลยที่ 3 ได้เมทแอมเฟตามีนมาขายให้ ด. ได้สำเร็จ แม้ไม่ปรากฏหลักฐานของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนในการตกลงจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ ด. ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนมาให้ ส่วนจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายแก่ ด. ข้อเท็จจริงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางบางส่วนตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการตรวจค้นยาเสพติด: การรับฟังพยานหลักฐาน, คำรับสารภาพ, และการแก้ไขบทกฎหมายโทษ
ตามบันทึกการจับกุม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก ห. ชาวเขาเผ่าลีซอ โดยไปซื้อที่บริเวณหมู่บ้านทับเดื่อก่อนที่จะเข้ามาพักที่โรงแรมในราคาถุงละ 8,700 บาท ในการไปซื้อและรับเมทแอมเฟตามีนครั้งนี้มีจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเจ้าของเงินทุนที่ใช้ซื้อเมทแอมเฟตามีน และจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ขับรถยนต์ แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 บัญญัติมิให้นำคำรับสารภาพชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความอื่นซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งกฎหมายมิได้ห้ามนำมารับฟังเสียทีเดียว ที่จำเลยที่ 1 เบิกความว่า เหตุที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุม เนื่องจากเจ้าพนักงานบอกให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ โดยไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่าน และจำเลยที่ 2 เบิกความว่าเจ้าพนักงานตำรวจนำเอกสารมาให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกาย จึงเกิดความกลัว และลงชื่อในเอกสารดังกล่าว โดยเจ้าพนักงานตำรวจมิได้ให้จำเลยที่ 2 อ่าน มิฉะนั้นแล้วคงไม่ต้องทำบันทึกการจับกุมก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ง่ายต่อการกล่าวอ้าง ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอยโดยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองผู้ร่วมจับกุมในข้อหานี้ไว้ด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มานำสืบในภายหลังเช่นนี้ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ เชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การชั้นจับกุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจ จึงนำไปรับฟังประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองได้ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10546/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์ – พยานหลักฐานไม่เพียงพอ – จำเลยปฏิเสธ – ศาลยกฟ้อง
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ครบองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าวและให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจริง จึงจะลงโทษจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์รูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ รูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี รูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สของผู้เสียหาย โดยจำเลยนำเอากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์จำนวน 24 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบีจำนวน 132 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์และของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม จำนวน 14 ชิ้น และกล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์ส จำนวน 5,330 ชิ้น ของกลางซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังนี้ โจทก์จึงต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยรวม 5 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 ข้อเท็จจริงที่ว่ากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ของกลางจำนวน 24 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ จำนวน 132 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี จำนวน 14 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และจำนวน 5,330 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 3 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้ขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปซึ่งสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่บรรจุอยู่ในกล่องของกลางดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ประการที่ 4 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อหากำไร และประการที่ 5 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 และที่ 4 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อการค้า
โจทก์มี ม. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายมาเบิกความลอย ๆ เพียงว่า ม. พบว่ามีสินค้าที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ของผู้เสียหาย โดยไม่ปรากฏจากคำเบิกความของ ม. ว่ารูปการ์ตูนหุ่นยนต์ที่ปรากฏอยู่บนกล่องสินค้าของกลางเป็นงานที่ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพราะเหตุใด รูปการ์ตูนดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอย่างไร ม. เคยเห็นรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือไม่ก็ไม่ปรากฏ ทั้งไม่ปรากฏว่า ม. ได้นำวัตถุพยานของกลางไปตรวจสอบกับรูปการ์ตูนซึ่งเป็นงานศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายว่ารูปการ์ตูนบนกล่องสินค้าของกลางได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปการ์ตูนของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายอย่างไร นอกจากนี้ ม. พยานโจทก์เป็นเพียงพนักงานบริษัท ว. ซึ่งประกอบกิจการดูแลการละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าวัตถุพยานของกลางมีงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหาย พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่า กล่องสินค้าวัตถุพยานของกลาง มีรูปการ์ตูนที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนที่พยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อมีการจับกุมจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมนั้น ถ้อยคำของจำเลยผู้ถูกจับตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและไม่อาจนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังที่โจทก์ฟ้อง ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์รูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ รูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี รูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สของผู้เสียหาย โดยจำเลยนำเอากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์จำนวน 24 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบีจำนวน 132 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์และของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม จำนวน 14 ชิ้น และกล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์ส จำนวน 5,330 ชิ้น ของกลางซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังนี้ โจทก์จึงต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยรวม 5 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 ข้อเท็จจริงที่ว่ากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ของกลางจำนวน 24 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ จำนวน 132 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี จำนวน 14 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และจำนวน 5,330 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 3 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้ขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปซึ่งสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่บรรจุอยู่ในกล่องของกลางดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ประการที่ 4 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อหากำไร และประการที่ 5 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 และที่ 4 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อการค้า
โจทก์มี ม. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายมาเบิกความลอย ๆ เพียงว่า ม. พบว่ามีสินค้าที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ของผู้เสียหาย โดยไม่ปรากฏจากคำเบิกความของ ม. ว่ารูปการ์ตูนหุ่นยนต์ที่ปรากฏอยู่บนกล่องสินค้าของกลางเป็นงานที่ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพราะเหตุใด รูปการ์ตูนดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอย่างไร ม. เคยเห็นรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือไม่ก็ไม่ปรากฏ ทั้งไม่ปรากฏว่า ม. ได้นำวัตถุพยานของกลางไปตรวจสอบกับรูปการ์ตูนซึ่งเป็นงานศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายว่ารูปการ์ตูนบนกล่องสินค้าของกลางได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปการ์ตูนของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายอย่างไร นอกจากนี้ ม. พยานโจทก์เป็นเพียงพนักงานบริษัท ว. ซึ่งประกอบกิจการดูแลการละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าวัตถุพยานของกลางมีงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหาย พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่า กล่องสินค้าวัตถุพยานของกลาง มีรูปการ์ตูนที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนที่พยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อมีการจับกุมจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมนั้น ถ้อยคำของจำเลยผู้ถูกจับตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและไม่อาจนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังที่โจทก์ฟ้อง ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19672/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ได้มาจากการจับกุมในคดีอื่น ไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักฐานในคดีปัจจุบันได้
แม้บันทึกคำรับสารภาพจำเลยกระทำขึ้นเนื่องจากจำเลยถูกจับในคดีอื่น แต่ในบันทึกนั้นจำเลยก็ได้กล่าวถึงการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย อันมีลักษณะเป็นถ้อยคำรับสารภาพว่า จำเลยผู้ถูกจับกุมได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14953/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคำให้การของผู้ต้องหา การแจ้งสิทธิ และการล้างมลทิน
หลังจากเกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจทำการสืบสวนทราบว่า ในช่วงเวลาใกล้กับเวลาเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองกับพวกนั่งอยู่ที่บริเวณหน้าบ้านเกิดเหตุ จึงสืบหาที่พักของจำเลยที่ 1 และนำจำเลยทั้งสองกับพวกอีก 2 คน มาสอบถามเหตุการณ์ว่ารู้เห็นเรื่องปล้นทรัพย์หรือไม่ จำเลยทั้งสองกับพวกยอมรับว่าพวกตนเป็นคนร้าย ตามบันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำ จากนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกพาเจ้าพนักงานตำรวจไปเอาของกลางที่ข้างหลังที่พักของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกการตรวจยึด การให้ถ้อยคำของจำเลยทั้งสองรวมทั้งการนำเจ้าพนักงานตำรวจไปเอาของกลาง เชื่อว่าเกิดจากความสมัครใจของจำเลยทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานตำรวจตามบันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำ เป็นการกระทำก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับกุมจำเลยทั้งสองเป็นผู้ต้องหา ซึ่งในกรณีที่มีความผิดอาญาเกิดขึ้นย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะดำเนินการสืบสวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานในการหาตัวคนร้าย การที่จำเลยทั้งสองให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการให้ถ้อยคำในฐานะผู้ถูกจับไม่ จึงไม่จำเป็นต้องมีการแจ้งสิทธิแก่จำเลยทั้งสองก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย และสามารถนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพของผู้ต้องหาใช้เป็นพยานหลักฐานต่อผู้ร่วมกระทำผิดได้ แต่ห้ามใช้พิสูจน์ความผิดผู้ให้การ
ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย บัญญัติห้ามมิให้รับฟังถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือตำรวจในชั้นจับกุม ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดนั้น กฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับกุมเท่านั้น แต่มิได้ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น ดังนั้น คำให้การในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 ที่ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้จ้างให้ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนที่ประเทศกัมพูชา และจำเลยที่ 2 เป็นผู้นัดสถานที่เพื่อรอรับเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงสามารถนำมารับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10427/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเพียงเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของพยานโจทก์ผู้ร่วมจับกุมประกอบคำรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยแล้ว เชื่อว่าพยานโจทก์เบิกความตามความเป็นจริง ฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงว่า คำเบิกความของพยานโจทก์มีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ และจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมโดยไม่สมัครใจเนื่องจากถูกข่มขู่และทำร้ายร่างกาย ศาลอุทธรณ์รับฟังคำเบิกความของพยานโจทก์ผู้ร่วมจับกุมแล้ว ฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องโดยมิได้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยมาฟังลงโทษจำเลยแต่อย่างใด ที่จำเลยฎีกาว่า คำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย จึงเป็นฎีกาที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย