คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา นาคพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลังฆ่าผู้อื่น และการพิพากษาความรับผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช
การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังจากฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แต่การที่จำเลยที่ 1 ออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวมา หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกเลย และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติราชการได้แล้ว อีกทั้งสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายก็เนื่องจากผู้ตายด่าว่าดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการีวงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้สำนึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะและฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซ่อนเร้นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมด้วยรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซุกซ่อนไว้อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงชัดว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงมีความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและยังมีความโลภที่จะได้ทรัพย์สินของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลังฆ่าผู้อื่น และประเด็นความสามารถในการรับผิดชอบทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช
การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังจากฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แต่การที่จำเลยที่ 1 ออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวมา หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกเลย และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติราชการได้แล้ว อีกทั้งสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายก็เนื่องจากผู้ตายด่าว่าดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการีวงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้สำนึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะและฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซ่อนเร้นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมด้วยรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซุกซ่อนไว้อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงชัดว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงมีความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและยังมีความโลภที่จะได้ทรัพย์สินของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ที่ฐานะไม่มั่นคง ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ในขณะที่เจ้าหนี้เข้าเป็นกรรมการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ก็มีหนี้สินมาก อย่างน้อยธนาคาร อ. ก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ และถึงขนาดที่มีการตรวจสอบฐานะและต้องแนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าไปบริหารของลูกหนี้แล้ว ฐานะของลูกหนี้จึงมิได้อยู่ในสภาพที่ดีหรือมั่นคง ตรงกันข้ามการที่เจ้าหนี้ต้องค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับในฐานะส่วนตัวต่อธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่แนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้เข้าไปบริหารงานของลูกหนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดถึงภาวะความมีหนี้สินล้นพ้นตัวถึงขนาดที่ลำพังฐานะของลูกหนี้อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจได้แล้วแน่ชัด ฉะนั้น การที่เจ้าหนี้ยังยอมตนเข้าค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับ จึงเป็นการกระทำที่เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ที่มีฐานะล้มละลาย ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ในขณะที่เจ้าหนี้เข้าเป็นกรรมการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ก็มีหนี้สินมาก อย่างน้อยธนาคาร อ. ก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ และถึงขนาดที่มีการตรวจสอบฐานะและต้องแนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าไปบริหารของลูกหนี้แล้ว ฐานะของลูกหนี้จึงมิได้อยู่ในสภาพที่ดีหรือมั่นคง ตรงกันข้ามการที่เจ้าหนี้ต้องค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับในฐานะส่วนตัวต่อธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่แนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้เข้าไปบริหารงานของลูกหนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดถึงภาวะความมีหนี้สินล้นพ้นตัวถึงขนาดที่ลำพังฐานะของลูกหนี้อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจได้แล้วแน่ชัด ฉะนั้น การที่เจ้าหนี้ยังยอมตนเข้าค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับ จึงเป็นการกระทำที่เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกและการแบ่งปันมรดกโดยผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขีเจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6 แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่นเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1722

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกและการยึดทรัพย์สิน ต้องมีสิทธิและส่วนได้เสียโดยตรง
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขี เจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่งเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่ และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก: ทายาทผู้รับโอนมีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย การแบ่งมรดกไม่ถือเป็นการยักย้ายทรัพย์
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขี เจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่งเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่ และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6604/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงต้องมีตั้งแต่ต้น แม้พัฒนาที่ดินไม่เสร็จก็ไม่ถึงขั้นฉ้อโกงหากมีการดำเนินการบางส่วนและผู้เสียหายพอใจ
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง ของความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ก็คือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการกระทำดังกล่าวผู้กระทำจะต้องมีเจตนามาตั้งแต่ต้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคหนึ่ง ได้ความว่าโจทก์ร่วมซื้อที่ดินเนื้อที่ 500 ไร่ แล้วพาจำเลยไปดูที่ดินดังกล่าวเพื่อปรึกษาว่าจะพัฒนาที่ดินอย่างไร หลังจากนั้นจำเลยมาเสนอให้โจทก์ร่วมปลูกมันสำปะหลังหรือทำการเกษตรแบบผสมซึ่งโจทก์ร่วมเห็นชอบด้วยจำเลยบอกว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับ พื้นที่ โจทก์ร่วมตกลงให้จำเลยดำเนินการโดยจ่ายเงินให้จำเลยเป็นค่าใช้จ่ายหลังจากที่ได้จ่ายเงินครั้งที่สามแล้วโจทก์ร่วมไปดูที่ดินพบว่ามีการปรับพื้นที่ไปประมาณ 5 ถึง 6 ไร่ซึ่งโจทก์ร่วมตรวจดูมิได้คัดค้านแต่ประการใด ตรงกันข้ามกลับจ่ายค่าพัฒนาที่ดินให้จำเลยอีกถึง 85,000 บาท แสดงว่าโจทก์ร่วมพอใจในการพัฒนาที่ดินของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ได้ดำเนินการพัฒนาที่ดินต่อไปจนเสร็จสิ้นซึ่งจะต้องด้วยเหตุผลประการใดก็ตามกรณีจึงยังฟังไม่ได้โดยแน่ชัดว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมมาตั้งแต่ต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยใช้มีดพร้าที่มีความยาวจากปลายมีดถึงด้าม 3 ฟุต ฟันผู้เสียหายบริเวณศีรษะด้านหลังซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหนังศีรษะหลุดขาด บาดแผลกว้างถึง 5 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลกศีรษะ แสดงว่าจำเลยฟันผู้เสียหายอย่างแรง เมื่อพิจารณาถึงมีดพร้าที่จำเลยใช้เป็นอาวุธฟันทำร้ายผู้เสียหาย โอกาสที่ฟันโดยเลือกฟันตรงอวัยวะสำคัญ และบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับดังกล่าวมารวมตลอดถึงมูลเหตุโกรธเคืองระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายซึ่งทะเลาะวิวาทกันมาก่อนจะมาเกิดเหตุและพฤติการณ์ของจำเลยที่ฟันผู้เสียหายซ้ำอีกหลายครั้งแม้จะฟันถูกที่ขาอ่อนข้างขวาเพียงครั้งเดียวก็ตาม ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6376/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางจำเป็นเมื่อแบ่งแยกที่ดินทำให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เดิมที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 6045 และที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6046 ของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินโฉนดเลขที่ 4094 ซึ่ง ส.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ต่อมา ส.แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4094 ออกเป็นแปลงย่อยอีก5 โฉนด และเป็นโฉนดเดิม 1 โฉนดในคราวเดียวกันเป็นแปลงย่อย โฉนดเลขที่ 6044,6045(ของโจทก์),6046 (ที่ดินพิพาท),6047 และ 6048 และในการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวเป็นเหตุ ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6045 ของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ จึงได้เกิดทางจำเป็นในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6046ของจำเลยทั้งสองเพื่อให้ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ดังนี้จึงเป็นกรณีที่ดินโฉนดเลขที่ 4094 แบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ ที่ดินแปลงหนึ่งคือที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์ย่อม ได้สิทธิทางจำเป็นที่จะสัญจรในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6046ซึ่งเป็นแปลงที่ได้แบ่งแยกกัน การที่ ส.เจ้าของที่ดินเดิมแบ่งแยกที่ดินพิพาทมาเพื่อให้เป็นทางสัญจรแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นที่ดินแปลงในได้ออกสู่ทางสาธารณะและมีความกว้าง 3 เมตร เพื่อให้ที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นทางเข้าออกสำหรับรถยนต์ มิฉะนั้นจะยากแก่การจำหน่ายที่ดินแปลงในและจะทำให้ที่ดินแปลงในมีราคาต่ำ ดังนั้นทางพิพาทซึ่งมีความกว้าง 3 เมตร ย่อมพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงใน และถือได้ว่าทางพิพาทที่มีความกว้าง 3 เมตร ทำให้ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6046 ของจำเลยทั้งสองเสียหายน้อยที่สุดตรงตามเจตนารมณ์ของเจ้าของที่ดิน เดิมที่แบ่งแยกทางพิพาทออกมาเป็นแปลงย่อย ดังที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสามประกอบมาตรา 1350 แล้ว กรณีแบ่งแยกที่ดินกันเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งคือที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ และโจทก์ได้สิทธิทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าทดแทนแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
of 36