พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9517/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยกันสาด: สุจริตไม่ต้องรื้อ และค่าเสียหายต้องมีหลักฐานชัดเจน
บริษัทร. ได้ก่อสร้างอาคารตึกแถวขายพร้อมกับที่ดินโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่40724เนื้อที่28ตารางวาพร้อมกับอาคารตึกแถวเลขที่1535/83ส่วนจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่40722เนื้อที่17ตารางวาพร้อมอาคารตึกแถวเลขที่1535/85ต่อมาโจทก์ขอรังวัดที่ดินเพื่อต่อเติมอาคารปรากฏว่าอาคารตึกแถวของจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตซึ่งสร้างขึ้นพร้อมอาคารดังนี้เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารตึกแถวพิพาทรวมทั้งกันสาดคอนกรีตที่สร้างพร้อมกับอาคารตึกแถวดังกล่าวและเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกมาใช้บังคับโดยถือว่าการที่กันสาดคอนกรีตดังกล่าวรุกล้ำนั้นเป็นมาโดยสุจริตจำเลยจึงไม่จำต้องรื้อกันสาดคอนกรีตที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ ที่โจทก์ฎีกาว่าฉ. เจ้าพนักงานผู้รังวัดทำแผนที่วิวาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นรังวัดผิดพลาดเพราะมิได้รังวัดโดยถือเอาหลักหมุดด้านหน้าที่ดินของโจทก์เป็นหลักคำเบิกความของฉ. จึงไม่ควรแก่การรับฟังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยมิได้ปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตเท่านั้นทั้งตามฎีกาของโจทก์ก็ขอเพียงให้จำเลยรื้อกันสาดคอนกรีตและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้นมิได้ขอให้รื้ออาคารตึกแถวพิพาทด้วยประเด็นในชั้นฎีกาจึงไม่มีว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่และการรังวัดทำแผนที่วิวาทชอบหรือไม่ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารและกันสาดส่วนที่รุกล้ำออกไปและขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายขาดประโยชน์ในการที่จะใช้สอยอาคารส่วนที่ถูกรุกล้ำของโจทก์เป็นรายเดือนเดือนละ5,000บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีไปจนกว่าจะรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำจึงเป็นคดีที่มีคำขอที่ไม่มีและมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วยจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9412/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานก่อนฟ้องในคดีอาญาเมื่อจำเลยไม่ต้องการทนายความ และประเด็นความร่วมมือในการกระทำความผิด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 237 ทวิที่ให้ศาลซักถามพยานนั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาต้องการทนายความและศาลเห็นว่าไม่สามารถตั้งทนายความหรือผู้ต้องหาไม่อาจตั้งทนายความได้ทัน เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ต้องการทนายความ หากแม้ศาลจะมิได้ซักถามพยานนั้นให้แทนจำเลยทั้งสาม การสืบพยานก็ชอบ และรับฟังคำเบิกความของพยานในการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยทั้งสามถูกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9392/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าฝากขายและการเบียดบังทรัพย์สิน การกระทำผิดฐานยักยอก
จำเลยเป็นตัวแทนขายเครื่องพิมพ์ดีดของผู้เสียหายโดยได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายเครื่องละ 100 บาท จำเลยติดต่อนำเครื่องพิมพ์ดีดของผู้เสียหายไปฝากขายที่ร้านค้าของผู้อื่น และมีสิทธิรับเครื่องพิมพ์ดีดนั้นคืนได้ การที่จำเลยรับเครื่องพิมพ์ดีดคืนจำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวโดยชอบ มีสิทธินำไปขายหรือส่งมอบคืนผู้เสียหายได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยนำเครื่องพิมพ์ดีดที่รับคืนมาไปเป็นประโยชน์ส่วนตน เป็นการเบียดบังเอาเครื่องพิมพ์ดีดนั้นเป็นของตนโดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานยักยอกที่ได้ความตามทางพิจารณาแตกต่างจากความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ไม่ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9059/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้พินัยกรรมที่ขัดแย้งกัน และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมตามเอกสารหมายค.8นั้นผู้ร้องเบิกความว่าพินัยกรรมฉบับนี้ถูกเพิกถอนไปแล้วโดยผู้ร้องเป็นผู้ขีดฆ่าและเขียนยกเลิกพินัยกรรมต่อหน้าผู้ตายแม้จะเป็นจริงดังว่าก็มิใช่การทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรมเองอันเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1695วรรคหนึ่งพินัยกรรมเอกสารหมายค.8จึงยังมีผลใช้บังคับได้ ส่วนพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมายค.3นั้นแม้จะปรากฏว่าต่อมาผู้ตายได้ทำคำร้องและบันทึกขอถอนพินัยกรรมโดยอ้างว่าจะยกเลิกพินัยกรรมดังกล่าวและรับพินัยกรรมคืนไปแล้วก็ตามแต่ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ทำลายหรือขีดฆ่าต้นฉบับกับคู่ฉบับของพินัยกรรมอันจะมีผลให้เป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1695วรรคหนึ่งพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมายค.3จึงยังมีผลบังคับอยู่เช่นกัน เมื่อพินัยกรรมของผู้ตายทั้งฉบับเอกสารหมายค.8และฉบับเอกสารหมายค.3ยังมีผลบังคับอยู่ทั้ง2ฉบับทั้งพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.3ซึ่งทำในภายหลังมิได้มีข้อความตอนใดระบุให้เพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.8เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่นและปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1697ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะในส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้นจึงถือว่าพินัยกรรมฉบับเอกสารหมายค.8เป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับเอกสารหมายค.3เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่ดิน2แปลงตามข้อ2และข้อ3เท่านั้นที่พินัยกรรมเอกสารหมายค.3ระบุให้ตกแก่ผู้ร้องและให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับนี้ซึ่งย่อมหมายถึงให้ผู้ร้องมีสิทธิจัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง2แปลงดังกล่าวส่วนทรัพย์มรดกอื่นๆคงเป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.8ข้อ4ถึงข้อ11ซึ่งกำหนดให้ผู้คัดค้านที่4เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าวผู้ร้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง2แปลงตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.3ตามเจตนาของผู้ตายในข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ2 ในชั้นต้นผู้คัดค้านที่1และที่2ยื่นคำร้องคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยผู้ร้องและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่3เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านที่1และที่2ยื่นอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ตั้งผู้คัดค้านที่4เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งก็ตรงกับความประสงค์แต่แรกของผู้คัดค้านที่1และที่2แต่ในชั้นนี้ผู้คัดค้านที่1และที่2กลับยื่นฎีกาขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องจึงเป็นได้ว่าฎีกาของผู้คัดค้านที่1และที่2เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9059/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้พินัยกรรมหลายฉบับ และการจัดการมรดกตามเจตนาผู้ตาย
พินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 นั้น ผู้ร้องเบิกความว่าพินัยกรรมฉบับนี้ถูกเพิกถอนไปแล้ว โดยผู้ร้องเป็นผู้ขีดฆ่าและเขียนยกเลิกพินัยกรรมต่อหน้าผู้ตาย แม้จะเป็นจริงดังว่า ก็มิใช่การทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรมเองอันเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา1695 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมเอกสารหมาย ค.8 จึงยังมีผลใช้บังคับได้
ส่วนพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ค.3 นั้นแม้จะปรากฏว่าต่อมาผู้ตายได้ทำคำร้องและบันทึกขอถอนพินัยกรรม โดยอ้างว่าจะยกเลิกพินัยกรรมดังกล่าว และรับพินัยกรรมคืนไปแล้วก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ทำลายหรือขีดฆ่าต้นฉบับกับคู่ฉบับของพินัยกรรมอันจะมีผลให้เป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1695 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ค.3 จึงยังมีผลบังคับอยู่เช่นกัน
เมื่อพินัยกรรมของผู้ตายทั้งฉบับเอกสารหมาย ค.8 และฉบับเอกสารหมาย ค.3 ยังมีผลบังคับอยู่ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.3 ซึ่งทำในภายหลังมิได้มีข้อความตอนใดระบุให้เพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่นและปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ป.พ.พ.มาตรา 1697 ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะในส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้นจึงถือว่าพินิยกรรมฉบับเอกสารหมาย ค.8 เป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับเอกสารหมาย ค.3 เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่ดิน 2 แปลง ตามข้อ 2 และข้อ 3 เท่านั้น ที่พินัยกรรมเอกสารหมาย ค.3 ระบุให้ตกแก่ผู้ร้องและให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับนี้ ซึ่งย่อมหมายถึงให้ผู้ร้องมีสิทธิจัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง 2 แปลง ดังกล่าว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆคงเป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 ข้อ 4 ถึงข้อ 11ซึ่งกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ผู้ร้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย จึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง 2 แปลง ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.3 ตามเจตนาของผู้ตายในข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 2
ในชั้นต้นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยผู้ร้องและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็ตรงกับความประสงค์แต่แรกของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 แต่ในชั้นนี้ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กลับยื่นฎีกาขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก หรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง จึงเห็นได้ว่าฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ค.3 นั้นแม้จะปรากฏว่าต่อมาผู้ตายได้ทำคำร้องและบันทึกขอถอนพินัยกรรม โดยอ้างว่าจะยกเลิกพินัยกรรมดังกล่าว และรับพินัยกรรมคืนไปแล้วก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ทำลายหรือขีดฆ่าต้นฉบับกับคู่ฉบับของพินัยกรรมอันจะมีผลให้เป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1695 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ค.3 จึงยังมีผลบังคับอยู่เช่นกัน
เมื่อพินัยกรรมของผู้ตายทั้งฉบับเอกสารหมาย ค.8 และฉบับเอกสารหมาย ค.3 ยังมีผลบังคับอยู่ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.3 ซึ่งทำในภายหลังมิได้มีข้อความตอนใดระบุให้เพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่นและปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ป.พ.พ.มาตรา 1697 ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะในส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้นจึงถือว่าพินิยกรรมฉบับเอกสารหมาย ค.8 เป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับเอกสารหมาย ค.3 เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่ดิน 2 แปลง ตามข้อ 2 และข้อ 3 เท่านั้น ที่พินัยกรรมเอกสารหมาย ค.3 ระบุให้ตกแก่ผู้ร้องและให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับนี้ ซึ่งย่อมหมายถึงให้ผู้ร้องมีสิทธิจัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง 2 แปลง ดังกล่าว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆคงเป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 ข้อ 4 ถึงข้อ 11ซึ่งกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ผู้ร้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย จึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง 2 แปลง ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.3 ตามเจตนาของผู้ตายในข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 2
ในชั้นต้นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยผู้ร้องและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็ตรงกับความประสงค์แต่แรกของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 แต่ในชั้นนี้ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กลับยื่นฎีกาขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก หรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง จึงเห็นได้ว่าฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: กลุ่มบุคคลไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคล โดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ก็ได้ เมื่อกลุ่มครูโรงเรียนอุดรเจ้าหนี้มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพราะเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร ไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดร โดยนายเรืองยศ รมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว ฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร ไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดร โดยนายเรืองยศ รมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว ฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลุ่มบุคคลไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากมิได้มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคลโดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้เมื่อกลุ่มครูโรงเรียนอุดรเจ้าหนี้มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพราะเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดรไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนแม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวมแต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่าผู้ขอรับชำระหนี้คือ"กลุ่มครูโรงเรียนอุดรโดยนายเรืองยศรมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ"ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลุ่มบุคคลไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีกรรมการ แต่ไม่ได้ยื่นในฐานะกรรมการ
เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคล กลุ่มครูโรงเรียนอุดร เจ้าหนี้เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อีกทั้งไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่เมื่อระบุในคำขอรับชำระหนี้ว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดรโดย ร. ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ และสิทธิในการขอคืนรถยนต์ที่ถูกริบ
จำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่4ซึ่งจะต้องชำระภายในวันที่9กรกฎาคม2536เป็นต้นมาเพิ่งชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหนี้ทั้งหมดในวันที่18มกราคม2537ก่อนที่จำเลยที่1จะถูกจับมาดำเนินคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้เพียง1วันรายการชำระค่าเช่าซื้องวดที่4ถึงที่8จึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นการลงรายการชำระค่าเช่าซื้อย้อนหลังเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่1ไม่ได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันหลายงวดอันเป็นการส่อถึงความไม่สุจริตในการยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลางเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่1ว่าหลังจากได้รับรถยนต์กระบะของกลางคืนแล้วผู้ร้องจะให้จำเลยที่1เช่าซื้อต่อไปรวมตลอดถึงข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อข้อ9ว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อแต่ไม่สามารถส่งมอบคืนให้ได้ผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ราคาทรัพย์สินเท่าราคาค่าเช่าซื้อพร้อมกับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและค่าเสียหายต่างๆให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้นผู้ร้องจึงเพิกเฉยไม่บอกเลิกสัญญาไม่ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนทั้งๆที่จำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันมาหลายงวดจนกระทั่งจำเลยที่1นำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดและถูกริบในคดีนี้ผู้ร้องจึงมาขอรถยนต์ดังกล่าวคืนอันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1เข้าลักษณะเป็นผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่1ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของผู้ร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง หากมีเจตนาช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้ร้องจะไม่มีสิทธิขอคืน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 ซึ่งจะต้องชำระภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นมา เพิ่งชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดในวันที่ 18 มกราคม 2537 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะถูกจับมาดำเนินคดีในความผิดต่อพ.ร.บ.ป่าไม้เพียง 1 วัน รายการชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 4 ถึงที่ 8 จึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นการลงรายการชำระค่าเช่าซื้อย้อนหลังเพื่อเป็นหลักฐานว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันหลายงวด อันเป็นการส่อถึงความไม่สุจริตในการยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ว่า หลังจากได้รับรถยนต์กระบะของกลางคืนแล้ว ผู้ร้องจะให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อต่อไป รวมตลอดถึงข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ แต่ไม่สามารถส่งมอบคืนให้ได้ ผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ราคาทรัพย์สินเท่าราคาค่าเช่าซื้อพร้อมกับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ และค่าเสียหายต่าง ๆ ให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ผู้ร้องจึงเพิกเฉยไม่บอกเลิกสัญญาไม่ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันมาหลายงวด จนกระทั่งจำเลยที่ 1 นำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดและถูกริบในคดีนี้ผู้ร้องจึงมาขอรถยนต์ดังกล่าวคืนอันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง