คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา นาคพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล: เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปีนับจากรู้เหตุ
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้
เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2531 เป็นเวลาเกินกว่า1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 และพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: นับจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่วันที่ผู้ร้องทราบ
พระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 113 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ อายุความที่ใช้บังคับจึงถือตามอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องขอให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24 มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เกณฑ์การนับเริ่มต้นจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่อายุความที่ใช้บังคับจึงถือตามอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อพ้น1ปีนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องขอให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เริ่มนับจากเจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเบิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล: เกณฑ์การนับอายุความตามสิทธิเจ้าหนี้
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม2531 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 และ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัย การพิมพ์วันที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่โจทก์เองไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ให้โจทก์ฟังเมื่อวันที่7กันยายน2538โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันที่10ตุลาคม2538ศาลชั้นต้นยกคำร้องโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกเมื่อวันที่11ตุลาคม2538โดยอ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์พิมพ์วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค2เพื่อแจ้งอัยการสูงสุดผิดพลาดเป็นวันที่11กันยายน2538ทำให้อัยการสูงสุดเข้าใจว่าครบกำหนดยื่นฎีกาในวันที่10ตุลาคม2538จึงยื่นคำร้องครั้งแรกในวันนั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทราบวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ดีอยู่แล้วโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าวและเหตุที่โจทก์อ้างเป็นข้อผิดพลาดภายในหน่วยงานของโจทก์เองถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยการที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตตามคำขอของโจทก์จึงไม่ชอบโจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การต้องพิจารณาการได้รับหมายเรียกโดยชอบและเจตนาของจำเลย
การขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา197วรรคแรกย่อมขึ้นอยู่กับว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้วหรือไม่ด้วยที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้วอันมีผลให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงตรงประเด็นแล้ว จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องที่จำเลยอ้างว่าจำเลยย้ายไปอยู่ที่อื่นแต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านออกไปถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หรือหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้วจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยจึงเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรประการอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การต้องพิจารณาการได้รับหมายเรียกโดยชอบและการจงใจขาดนัด
การขาดนัดยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรกย่อมขึ้นอยู่กับว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้วหรือไม่ด้วย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้ว อันมีผลให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงตรงประเด็นแล้ว จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องที่จำเลยอ้างว่าจำเลยย้ายไปอยู่ที่อื่นแต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านออกไป ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หรือหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยจึงเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรประการอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: การส่งหมายเรียกโดยชอบ และการมีภูมิลำเนาหลายแห่ง
การขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคแรกย่อมขึ้นอยู่กับว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้วหรือไม่ด้วย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้ว อันมีผลให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงตรงประเด็นแล้ว
จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องที่จำเลยอ้างว่าจำเลยย้ายไปอยู่ที่อื่นแต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านออกไป ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หรือหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลย เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยจึงเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรประการอื่น
of 36