พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7502/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างเหมา: ต่างจากอายุความชำรุดบกพร่อง หากมีข้อตกลงพิเศษเรื่องการซ่อมแซม
กรณีตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่บทบัญญัติแห่งมาตรา601นั้นใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตามมาตรา600กล่าวคือถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเมื่อได้ส่งมอบงานกันแล้วปรากฏว่างานที่จ้างมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลังจึงกำหนดให้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นซึ่งผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งต่างหากถ้าการชำรุดบกพร่องนั้นเป็นกรณีที่จำเลยต้องรับผิดและจำเลยได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์แล้วไม่ทำการซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์มีสิทธิจ้างผู้อื่นทำแทนและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไปเพราะจ้างผู้อื่นทำแทนนั้นได้เมื่อมีข้อสัญญาตกลงกันไว้เช่นนี้และจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามย่อมถือว่าเป็นการผิดสัญญาซึ่งเข้าลักษณะสัญญาจ้างธรรมดาโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยผู้รับจ้างรับผิดต่อโจทก์ได้กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7502/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของที่ไม่ใช่การชำรุดบกพร่อง ใช้บังคับตามอายุความทั่วไป 10 ปี
กรณีตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 601 ไม่บทบัญญัติแห่งมาตรา 601 นั้นใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตามมาตรา 600 กล่าวคือถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา เมื่อได้ส่งมอบงานกันแล้วปรากฏว่างานที่จ้างมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลัง จึงกำหนดให้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น แต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นซึ่งผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ถ้าการชำรุดบกพร่องนั้นเป็นกรณีที่จำเลยต้องรับผิด และจำเลยได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์แล้วไม่ทำการซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายใน30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์มีสิทธิจ้างผู้อื่นทำแทนและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไปเพราะจ้างผู้อื่นทำแทนนั้นได้ เมื่อมีข้อสัญญาตกลงกันไว้เช่นนี้และจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตาม ย่อมถือว่าเป็นการผิดสัญญา ซึ่งเข้าลักษณะสัญญาจ้างธรรมดาโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยผู้รับจ้างรับผิดต่อโจทก์ได้ กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ดำเนินกระบวนการซ้ำต้องห้าม แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยได้ แต่คดีไม่มีประโยชน์พิจารณาต่อ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ในศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจำเลยที่1และที่2ให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ออกน.ส.3ก.ทับที่ดินของจำเลยขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.ของโจทก์ส่วนจำเลยที่3ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)และให้สืบพยานจำเลยที่1และที่2ตามฟ้องแย้งต่อไปแล้วพิพากษาให้จำเลยที่1และที่2ชนะคดีตามฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่1และที่2เป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันและมีประเด็นขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.เช่นเดียวกันแม้การทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้นหามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่1และที่2ยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไปเมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายจำเลยตามฟ้องแย้งการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่1และที่2อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144วรรคหนึ่ง ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ภาค3เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา246ประกอบมาตรา142(5) ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่3โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีแต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่1กับที่3และจำเลยที่2กับที่3ร่วมกันเพิกถอนน.ส.3ก.ซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นเจ้าของในแต่ละแปลงโดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออกน.ส.3ก.ทั้งสองฉบับเมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่1และที่2ให้เพิกถอนน.ส.3ก.ดังกล่าวได้แล้วสภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่3จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้คดีสำหรับจำเลยที่3จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำหลังทิ้งฟ้อง: ศาลพิจารณาฟ้องแย้งเดิมได้ และจำกัดสิทธิการบังคับคดีกับจำเลยที่ 3
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ในศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ออก น.ส.3 ก.ทับที่ดินของจำเลย ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) และให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามฟ้องแย้งต่อไป แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชนะคดีตามฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันและมีประเด็นขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก.เช่นเดียวกัน แม้การทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้น หามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไป เมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายจำเลยตามฟ้องแย้ง การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องแย้ง: การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง และผลกระทบต่อฟ้องแย้ง
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1และ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินของจำเลย ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามฟ้องแย้งต่อไป แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง โจทก์อุทธรณ์ และโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. เช่นเดียวกันการทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อน มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้นหามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ด้วยไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไป การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก. ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอน น.ส.3 ก.ในแต่ละฉบับได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนี้ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7189/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพถูกตัดออกโดยไม่สมัครใจ: การคืนเงินค่าหุ้นไม่ใช่การขาดสมาชิกภาพ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการดำเนินงาน ต่อมาจำเลยที่ 1 ตัดชื่อโจทก์ทั้งหมดออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าโจทก์บางคน รวมทั้งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้เข้าร่วมประชุมติดต่อกัน 3 ปี ตามมติที่ประชุมใหญ่ที่ประชุมเมื่อปี 2524 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตัดชื่อโจทก์ที่ 2 ออกจากสมาชิกภาพและส่งเงินค่าหุ้นคืนไปให้แก่โจทก์ที่ 2 เอง มิใช่กรณีที่โจทก์ที่ 2 ขอรับเงินค่าหุ้นคืนเองโดยสมัครใจ ดังนี้ จะถือว่าโจทก์ที่ 2 ขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, คำสั่งศาลเลื่อนคดี: กรณีศึกษาความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วมและการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้อง ของ จำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้นโดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท. ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคาร ท. มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ด้วย กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 และแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ ดังนั้นโจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่ และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เพียงไรจะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง 2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อมจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, การประวิงคดี: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173(1) หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา24 ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่ และสิทธิในที่ดิน การขาดนัดยื่นคำให้การทำให้จำเลยไม่อาจยกประเด็นใหม่ได้
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้นจำเลยไม่มีสิทธิ์อ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่คงมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์เพื่อที่จะหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้นการเบิกความของจำเลยในข้อที่ไม่ได้เป็นประเด็นในคดีจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิในการยกข้อเท็จจริงใหม่จำกัด
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่มีสิทธิอ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ คงมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์เพื่อที่จะหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้น การเบิกความของจำเลยในข้อที่ไม่ได้เป็นประเด็นในคดี จึงรับฟังไม่ได้