คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา นาคพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การที่ถูกต้อง การนัดสืบพยานย่อมยกเลิกหากยังไม่ได้ไต่สวนคำร้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่27ธันวาคม2536และจำเลยทราบนัดแล้วแต่ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อวันที่21ธันวาคม2536ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องวันที่7พฤศจิกายน2536จึงได้ติดต่อโจทก์โจทก์นัดให้จำเลยมาทำยอมที่ศาลวันที่17ธันวาคม2536ครั้นถึงกำหนดนัดโจทก์ไม่มาศาลโจทก์หลอกลวงจำเลยเพื่อให้พ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นสั่งคำร้องจำเลยในวันเดียวกันว่า"สำเนาให้โจทก์นัดไต่สวนให้จำเลยนำส่งภายใน7วันไม่พบหรือไม่มีผู้รับให้ปิด"ดังนี้จำเลยต้องนำส่งสำเนาให้แก่โจทก์ภายในวันที่28ธันวาคม2536ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะส่งหมายให้แก่โจทก์ได้หรือไม่หรืออาจจะต้องปิดหมายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นกรณีถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ เมื่อยังไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่หรือมีเหตุสมควรประการอื่นใดศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามที่จำเลยร้องขอเมื่อศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนไว้แม้จะมิได้กำหนดวันนัดไต่สวนไว้ด้วยก็ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการนัดไต่สวนคำร้องวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในวันที่27ธันวาคม2536ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การให้แก่โจทก์ย่อมถือว่ายกเลิกไปโดยปริยายจนกว่าศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วเสร็จและมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การเสียก่อนการที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่27ธันวาคม2536ว่านัดสืบพยานโจทก์และนัดไต่สวนขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยจำเลยไม่มาศาลถือว่าจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนคำร้องให้ฟังได้ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจและยกคำร้องนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคหนึ่งและวรรคสองเพราะศาลชั้นต้นมิได้นัดไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยในวันดังกล่าวและการที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกันเพราะคดียังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอยื่นคำให้การแก่โจทก์และวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นอันยกเลิกไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ชำระค่าขึ้นศาลฟ้องแย้งทำให้ศาลมีอำนาจไม่รับฟ้องแย้ง แม้มีการอุทธรณ์คำสั่งเรื่องค่าขึ้นศาล
จำเลยชำระค่าขึ้นศาลตามฟ้องแย้งไม่ครบถ้วนศาลชั้นต้นสั่งให้ชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งไม่รับคำฟ้องแย้งของจำเลยได้จำเลยจะอ้างการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าขึ้นศาลมาเป็นเหตุไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดิน และสิทธิในการติดตามเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้มารดาโจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อ ส.และ ล.น้องของโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ แต่มารดาโจทก์กลับไปกรอกข้อความดำเนินการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่ตนเอง แล้วมารดาโจทก์จดทะเบียนยกให้แก่จำเลยต่อไป และคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือมอบอำนาจกับหนังสือสัญญาขายที่ดินตามฟ้องเป็นโมฆะ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและยกให้ดังกล่าว ทั้งขอให้พิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องด้านทิศใต้เนื้อที่ 6 ไร่เป็นของโจทก์ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยมิชอบ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิดังกล่าว เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน: สิทธิติดตามทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ไม่ผูกพันอายุความทั่วไป
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้มารดาโจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อส. และล. น้องของโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์แต่มารดาโจทก์กลับไปกรอกข้อความดำเนินการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่ตนเองแล้วมารดาโจทก์จะทะเบียนยกให้แก่จำเลยต่อไปและคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือมอบอำนาจกับหนังสือสัญญาขายที่ดินตามฟ้องเป็นโมฆะให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและยกให้ดังกล่าวทั้งขอให้พิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องด้านทิศใต้เนื้อที่6ไร่เป็นของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยมิชอบโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิดังกล่าวเว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา227ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200บาทตามตาราง1ข้อ2ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกและการตัดสิทธิทายาทโดยธรรมเนื่องจากพินัยกรรม
ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ค.9 และ ค.11 ทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก และให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าพินัยกรรม เอกสารหมาย ค.11 ไม่มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 เพราะมีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นก็ตาม พินัยกรรมฉบับนี้ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.9 ซึ่งไม่มีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้น ทั้งไม่ปรากฎว่าคู่ความได้โต้แย้งว่าเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้แต่อย่างใด พินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.9 จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ย่อมต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1608 วรรคท้าย ผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นทายาทที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ปรากฎว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้ว และหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทย บริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 1 เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยืนยันชัดแจ้งว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม, การตัดทายาท, ผู้จัดการมรดก, การไม่มีส่วนได้เสีย, การเพิกถอนคำสั่งศาล
ตามพินัยกรรมเอกสารหมายค.9และค.11ทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกและให้ผู้คัดค้านที่2เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวแม้จะฟังว่าพินัยกรรมเอกสารหมายค.11ไม่มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1686เพราะมีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นก็ตามพินัยกรรมฉบับนี้ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.9ซึ่งไม่มีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นทั้งไม่ปรากฏว่าคู่ความได้โต้แย้งว่าเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้แต่อย่างใดพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.9จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายเมื่อพินัยกรรมดังกล่าวกำหนดให้ผู้คัดค้านที่2เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ย่อมต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608วรรคท้ายผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นทายาทที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713วรรคหนึ่งจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727วรรคหนึ่ง ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่1ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้วและหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทยบริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้วจึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ผู้คัดค้านที่1เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทยดังนี้เมื่อผู้คัดค้านที่1ยืนยันชัดแจ้งว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทยย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเดิมแก้ไขไม่ได้ ต้องรอคำพิพากษาศาลสูงกว่า การฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งเดิมในคดีเดิมเป็นเรื่องข้อปลีกย่อย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้จัดการมรดกของล. เป็นโมฆะนั้นตามกฎหมายคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีจะถูกศาลพิพากษาเป็นโมฆะไม่ได้เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียโดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่าและที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าใบแต่งทนายความและกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งคำเบิกความของพยานก็รบฟังไม่ได้นั้นก็เป็นกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดก็ดีเมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ในคดีของศาลชั้นต้นจึงมีผลเช่นเดียวกับการขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นโมฆะเช่นกันส่วนที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่1เป็นโมฆะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้นการจะพิพากษาให้บังคับตามคำขอนี้ได้จะต้องให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นตกเป็นโมฆะเสียก่อนเมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ขอให้ศาลพิพากษาในข้อที่ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้โดยชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้ฎีกาของโจทก์ซึ่งล้วนกล่าวอ้างข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้พิจารณาจึงเป็นข้อปลีกย่อยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและเมื่อคำฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้เช่นนี้ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลชี้ขาดคดีมีผลผูกพัน การขอให้พิพากษาให้คำสั่งศาลเป็นโมฆะต้องด้วยเงื่อนไขตามกฎหมาย หากคำขอไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชอบยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้จัดการมรดกของ ล.เป็นโมฆะนั้น ตามกฎหมายคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีจะถูกศาลพิพากษาเป็นโมฆะไม่ได้ เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียโดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่า และที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าใบแต่งทนายความและกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำเบิกความของพยานก็รับฟังไม่ได้นั้นก็เป็นกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดคดี เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ในคดีของศาลชั้นต้น จึงมีผลเช่นเดียวกับการขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นโมฆะเช่นกัน ส่วนที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นโมฆะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้นการจะพิพากษาให้บังคับตามคำขอนี้ได้จะต้องให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นตกเป็นโมฆะเสียก่อน เมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ขอให้ศาลพิพากษาในข้อที่ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้โดยชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ซึ่งล้วนกล่าวอ้างข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้พิจารณาจึงเป็นข้อปลีกย่อยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและเมื่อคำฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้เช่นนี้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินขอบเขตฟ้อง: คดีเช่าที่ดิน การตีราคาและขอบเขตการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินบางส่วนของโจทก์เพื่อปลูกบ้านขอให้รื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์ย่อมมีความหมายว่าขอให้ ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่จำเลยเช่าแม้จำเลยให้การว่ามีสิทธิครอบครองเกินส่วนที่เช่าเพื่อปลูกบ้านแต่จำเลยมิได้ ฟ้องแย้งไว้ดังนั้นจึงพิพาทกันเฉพาะที่ดินที่จำเลยเช่าเพื่อปลูกบ้านเท่านั้นเมื่อที่ดินดังกล่าวมีราคาพิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทในชั้นอุทธรณ์คู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลพิพากษาให้จำเลยออกไปจากที่ดินเกินส่วนที่พิพาทจึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่ปรากฏในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาล: การบังคับตามคำฟ้องเฉพาะเนื้อที่เช่า การพิพากษาเกินฟ้องเป็นอธิกรณ์ต้องห้าม
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างชัดแจ้งว่าจำเลยเช่าที่ดินโจทก์เนื้อที่30ตารางวาและปลูกบ้านเลขที่16/4บนที่ดินดังกล่าวอยู่อาศัยตลอดมาโดยขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่16/4ออกไปจากที่ดินโจทก์ที่จำเลยทำสัญญาเช่ามามิได้ขอให้บังคับขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์เนื้อที่เกินกว่า30ตารางวาแม้จะกล่าวอ้างด้วยว่าที่ดินที่จำเลยเช่าเป็นแปลงเดียวกับที่ดินเนื้อที่11ไร่เศษและจำเลยให้การว่าที่ดินตามฟ้องจำเลยมีสิทธิครอบครองอยู่4ไร่โดยโจทก์มอบให้เพื่อชำระราคาที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งไว้คดีจึงไม่มีประเด็นพิพาทว่าจำเลยครอบครองที่ดินในส่วนที่เกินกว่า30ตารางวาคงพิพาทและบังคับกันได้เฉพาะที่พิพาทตามฟ้องเนื้อที่30ตารางวาศาลย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยเลยไปถึงว่าให้จำเลยออกไปจากที่ดินเนื้อที่3ไร่เศษของโจทก์ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง
of 36