คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา นาคพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายหลังอุบัติเหตุ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หากรายละเอียดไม่ชัดเจนและยังมีการผ่อนผัน
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในรายงานประจำวันธุรการว่าจำเลยตกลงออกเงินค่าซ่อมรถยนต์บรรทุกคันถูกชนและออกเงินค่ารักษาพยาบาลให้ ส. ผู้ขับขี่นั้นไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทให้เสร็จสิ้นไปทีเดียวเพราะไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนอันปราศจากการโต้แย้งและไม่มีข้อความว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอะไรจากจำเลยอีกอันจะแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในมูลละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นทางสาธารณะ & สัญญาประนีประนอม: การวินิจฉัยนอกประเด็นและการอุทธรณ์ซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาททั้ง 6 สาย เป็นทางสาธารณะ จำเลยที่ 4 ก่อสร้างตึกแถวลงบนทางสาธารณะดังกล่าว ขอให้ระงับการก่อสร้างและนำสิ่งกีดขวางออกจากแนวเขตทางดังกล่าว จำเลยที่ 4 ให้การว่าทางทั้ง 6 สายมิใช่ทางสาธารณะ ตามคำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่า ทางทั้ง 6 สายเป็นทางภาระจำยอมและศาลชั้นต้นก็ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางทั้ง 6 สายเป็นทางสาธารณะหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าทางทั้ง 6 สาย ไม่ใช่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 3 อุทธรณ์ว่าทางทั้ง 6 สายเป็นทางสาธารณะ ปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียงว่าทางทั้ง 6 สายเป็นทางสาธารณะหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางสายที่ 1 ที่ 2 และที่ 3เป็นทางภาระจำยอมสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กับพวก สมคบกันใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์ทั้งหกจนโจทก์ทั้งหกกับพวกยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ให้การว่า สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายทำขึ้นโดยสมัครใจ มิได้มีการใช้กลอุบายหลอกลวง โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการสมประโยชน์แก่จำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ได้ ศาลยกฟ้อง
ตามฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาททั้งหกสายเป็นทางสาธารณะหรือไม่และในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นสมประโยชน์แก่จำเลยแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในกองมรดก: ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 มีสิทธิเหนือทายาทลำดับที่ 3 แม้มีการประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่1อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเกิดจากผู้คัดค้านที่1ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแม้ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองจะขอถอนคำคัดค้านก็เพียงทำให้ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านระงับไปหาทำให้คำคัดค้านทั้งหมดรวมตลอดถึงเอกสารที่แนบมาไม่มีผลต่อคดีไม่เพราะผู้คัดค้านไม่ได้ยอมรับด้วยว่าคำคัดค้านพร้อมเอกสารที่เสนอต่อศาลไม่ถูกต้องทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอต่อศาลภายหลังยื่นคำคัดค้านก็ไม่ได้มีการเพิกถอนจึงรับฟังประกอบการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องได้ แม้ผู้คัดค้านที่2จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8เดือนว่าผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตามผู้คัดค้านที่2ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1558วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่1ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยธรรมและการเกิดหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย รวมถึงการตีความ 'ผู้มีส่วนได้เสีย' ในมรดก
ผู้คัดค้านเพิ่งคลอดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของผู้คัดค้าน ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8 เดือนว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายซึ่งกรณีถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องภายในอายุความมรดก ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1558 วรรคแรก สิทธิดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมาไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ มาตรา 1629, 1630
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังเช่นในคดีนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายทางภารจำยอม: หลักประนีประนอมระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
ทางภารจำยอมเดิมเป็นที่ต่ำ ยามฝนตกน้ำท่วมขังต้องใช้ไม้พาดเป็นทางเดิน ส่วนทางที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์สร้างขึ้นใหม่เป็นคอนกรีตเดินได้ทุกฤดูกาลสะดวกกว่าทางภารจำยอมเดิม แม้จะคดโค้งหักงอเป็นข้อศอกแต่ก็ไม่ทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้นมากนัก เมื่อพิจารณาถึงความสะดวกของเส้นทางดังกล่าวซึ่งมีมากกว่าทางภารจำยอมเดิมประกอบกับประโยชน์ที่เจ้าของภารยทรัพย์ได้รับจากการปลูกสร้างบ้านในบริเวณที่เหมาะสมภายในที่ดินของตนโดยไม่ต้องรื้อถอนสิ่งที่ปลูกสร้างไว้ให้เสียหาย รวมตลอดถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1392 ที่ต้องการให้เป็นหลักประนีประนอมอันดีระหว่างประโยชน์ของเจ้าของภารยทรัพย์และความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ไม่ให้ถือเคร่งตามสิทธิเกินไป การย้ายทางภารจำยอมไปยังทางที่สร้างขึ้นใหม่จึงไม่ทำให้ความสะดวกของจำเลยลดน้อยลง โจทก์จึงเรียกให้ย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายทางภารจำยอม: ศาลพิจารณาความสะดวก, ประโยชน์เจ้าของที่ดิน, และเจตนารมณ์ประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ทางภารจำยอมเดิมเป็นที่ต่ำยามฝนตกน้ำท่วมขังต้องใช้ไม้พาดเป็นทางเดินส่วนทางที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์สร้างขึ้นใหม่เป็นคอนกรีตเดินได้ทุกฤดูกาลสะดวกกว่าทางภารจำยอมเดิมแม้จะคดโค้งหักงอเป็นข้อศอกแต่ก็ไม่ทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้นมากนักเมื่อพิจารณาถึงความสะดวกของเส้นทางดังกล่าวซึ่งมีมากกว่าทางภารจำยอมเดิมประกอบกับประโยชน์ที่เจ้าของภารยทรัพย์ได้รับจากการปลูกสร้างบ้านในบริเวณที่เหมาะสมภายในที่ดินของตนโดยไม่ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไว้ให้เสียหายรวมตลอดถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1392ที่ต้องการให้เป็นหลักประนีประนอมอันดีระหว่างประโยชน์ของเจ้าของภารยทรัพย์และความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ไม่ให้ถือเคร่งตามสิทธิเกินไปการย้ายทางภารจำยอมไปยังทางที่สร้างขึ้นใหม่จึงไม่ทำให้ความสะดวกของจำเลยลดน้อยลงโจทก์จึงเรียกให้ย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีและการแก้ไขหมายบังคับคดี: การดำเนินการภายใน 10 ปี และการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย จึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกา คดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2525 โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2535 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271
เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษา ก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้คำพิพากษา เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยรับผิดตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีภายใน 10 ปี และแก้ไขหมายบังคับคดีให้ถูกต้องตามคำพิพากษา
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่2อยู่ด้วยจึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกาคดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์เมื่อวันที่8พฤศจิกายน2525โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่16กันยายน2535ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271 เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษาก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้ไขคำพิพากษาเมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางผ่านที่ดิน: การก่อสร้างทางจำเป็นของจำเลยทำให้โจทก์หมดสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยเปิดทางจำเป็นเพราะเหตุมีการแบ่งแยกที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 ระหว่างพิจารณาคดี จำเลยทำการก่อสร้างทางผ่านที่ดินของโจทก์ ทำให้ที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินของจำเลยเพื่อใช้เป็นทางผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
of 36