พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินและการมีทางออกสู่สาธารณะ ทำให้สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นสิ้นสุด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยเปิดทางจำเป็นเพราะเหตุมีการแบ่งแยกที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350ระหว่างพิจารณาคดีจำเลยทำการก่อสร้างทางผ่านที่ดินของโจทก์ทำให้ที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินของจำเลยเพื่อใช้เป็นทางผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินและการมีทางออกสู่สาธารณะ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องทางผ่าน แม้จะเคยถูกแบ่งแยก
เมื่อจำเลยได้ทำถนนขึ้นมาใหม่เพื่อใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกทางสาธารณะของประชาชนในหมู่บ้านเชื่อมต่อระหว่างถนนสาธารณะเดิมกับที่ดินของโจทก์แล้วยกให้แก่เทศบาลทำให้ที่ดินของโจทก์ซึ่งเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของจำเลยและเดิมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะกลับมีทางออกสู่สาธารณะโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินของจำเลยเพื่อใช้เป็นทางผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยเรียกค่าเสียหายทั้งหมดรวมกันมาเป็นจำนวน 247,600 บาท แม้ค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ ค่าเสื่อมราคาและค่าปลงศพ มีจำนวนรวม 37,600 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันซึ่งไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาจำนวน 210,000 บาท เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม เมื่อปรากฏว่าค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนมีจำนวนใกล้เคียงกัน และเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยทั้งสามในปัญหาว่าเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1หรือไม่และจำนวนค่าเสียหายมีเพียงใดซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาว. ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาท, การแบ่งค่าเสียหาย, ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา, ความประมาท
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยเรียกค่าเสียหายทั้งหมดรวมกันมาเป็นจำนวน 247,600 บาท แม้ค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ค่าเสื่อมราคา และค่าปลงศพ มีจำนวนรวม 37,600 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันซึ่งไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาจำนวน 210,000 บาท เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม เมื่อปรากฏว่าค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนมีจำนวนใกล้เคียงกัน และเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยทั้งสามในปัญหาว่าเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1 หรือไม่และจำนวนค่าเสียหายมีเพียงใดซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ว.ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาท ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ว.ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาท ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกา, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา, ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง, การประมาท, ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน
ทุนทรัพย์พิพาท ชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมี สิทธิเรียกร้อง ซึ่ง ค่าขาดอุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคนเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาทย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯโดยโจทก์ที่1ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลอนุญาตส่วนโจทก์ที่2แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่2ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายด้วยข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงย่อมมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองในคดีแพ่งว่าจำเลยที่1มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมใช้สิทธิในที่ดินต้องไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น การปลูกสร้างกีดขวางทางพิพาทถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิในที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมเช่นกันการที่จำเลยปลูกบ้านคร่อมทางพิพาทที่โจทก์ใช้เดินเป็นปกติจนได้รับความเดือดร้อนถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิของตนขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นแล้วทั้งเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกคร่อมปิดทางพิพาทออกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรตาม พรบ.เช่าที่ดินฯ เหนือกว่าสิทธิผู้ซื้อที่ดินเมื่อผู้ขายแจ้งความจำนงขาย
โจทก์ทราบแล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยแม้สัญญาดังกล่าวจะมีข้อตกลงให้จำเลยจัดการให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินพิพาทให้เรียบร้อยก่อนวันโอนกรรมสิทธิ์แต่เมื่อจำเลยแจ้งแก่ผู้เช่าที่ดินพิพาทว่าจะขายที่ดินพิพาทผู้เช่าที่ดินก็แสดงความจำนงจะขอซื้อที่ดินพิพาทย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา53โดยมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์จึงไม่เป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์แต่เมื่อโจทก์เองก็มิได้ผิดสัญญาด้วยจำเลยจึงต้องคืนมัดจำให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรก่อนการซื้อขาย: คุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ มาตรา 53-54
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินนาจากจำเลยและวางเงินมัดจำไว้โดยโจทก์ทราบอยู่แล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อผู้เช่านาทราบว่าจำเลยจะขายที่ดินพิพาท จึงแสดงความจำนงจะซื้อที่ดินพิพาทเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก. ตำบล และทำเรื่องคัดค้านขอเช่าและซื้อที่ดินต่อทางอำเภอ จำเลยเพียงแต่แจ้งแก่ผู้เช่านาว่าจะขายที่ดินพิพาท มิได้ทำเป็นหนังสือดังนี้ ผู้เช่านาย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 มาตรา 53 โดยมีสิทธิจะซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์ การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์ ก็เนื่องจากผู้เช่านาจะขอซื้อที่ดินพิพาท โดยดำเนินการถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 53 ทุกประการและโจทก์รู้ดีว่าที่ดินพิพาทมีผู้เช่าทำนา หากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปเพราะเหตุมิได้ปฏิบัติตามมาตารา 53 ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ได้ตามมาตรา 54 และในกรณีกลับกัน หากจำเลยแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 53 ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์เช่นกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ก็มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรกรรมในการซื้อที่ดินก่อน กรณีเจ้าของที่ดินจะขาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินนาจากจำเลยและวางเงินมัดจำไว้โดยโจทก์ทราบอยู่แล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อผู้เช่านาทราบว่าจำเลยจะขายที่ดินพิพาทจึงแสดงความจำนงจะซื้อที่ดินพิพาทเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลและทำเรื่องคัดค้านขอเช่าและซื้อที่ดินต่อทางอำเภอจำเลยเพียงแต่แจ้งแก่ผู้เช่านาว่าจะขายที่ดินพิพาทมิได้ทำเป็นหนังสือดังนี้ผู้เช่านาย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา53โดยมีสิทธิจะซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์ก็เนื่องจากผู้เช่านาจะขอซื้อที่ดินพิพาทโดยดำเนินการถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา53ทุกประการและโจทก์รู้ดีว่าที่ดินพิพาทมีผู้เช่าทำนาหากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปเพราะเหตุมิได้ปฏิบัติตามมาตรา53ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ได้ตามมาตรา54และในกรณีกลับกันหากจำเลยแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา53ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์เช่นกันการกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์โจทก์ก็มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่อย่างใดจำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมเพื่อขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ไม่ตรงตามมาตรา 234 แต่แสดงเจตนาดี จึงรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลหรือนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันไว้ต่อศาลภายใน15วันอันเป็นการให้จำเลยเลือกปฏิบัติทางใดทางหนึ่งซึ่งแม้จะไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234เมื่อจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นโดยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางภายในกำหนดจึงมีเหตุน่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนไม่นำเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ