คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา นาคพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่ก็เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจทำสัญญาประกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา106,113จึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันในฐานะเจ้าพนักงานตามอำนาจแห่งหน้าที่โดยชื่อตำแหน่งหน้าที่ของตนได้ส่วนกรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันจึงฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า (1) ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ (2) โจทก์หรือจำเลยทั้งหกเป็นฝ่ายผิดสัญญา (3) โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขาย และตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นการฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายกล่าวอ้างมาในฟ้องและที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบด้วย มาตรา 246 ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม มาตรา 249 แห่งบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานอกประเด็น: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง แม้ไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า(1)ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่(2)โจทก์หรือจำเลยทั้งหกเป็นฝ่ายผิดสัญญา(3)โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่เพียงใดโจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่2ถึงที่6มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1เป็นผู้ขายและตั้งหรือเชิดจำเลยที่1หรือยอมให้จำเลยที่1เชิดตัวเองเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทจำเลยที่2ถึงที่6ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายกล่าวอ้างมาในฟ้องและที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกาตามมาตรา249แห่งบทบัญญัติดังกล่าวศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำหลายกรรมต่างกัน และการปรับบทลงโทษ
จำเลยที่2และที่3กับพวกล่อลวงผู้ตายและผู้เสียหายมายังที่เกิดเหตุจุดแรกโดยมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายและทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสแต่ผู้ตายหลบหนีไปได้เสียก่อนการที่จำเลยที่2ที่3และ ฮ. ติดตามไปทันและฆ่าผู้ตายในภายหลังต่อเนื่องกันไปย่อมเห็นได้ว่าเพิ่งมี เจตนาฆ่าผู้ตายในขณะนั้นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่2ที่3และ ฮ.มีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่2และที่3ต่อผู้ตายและผู้เสียหายดังกล่าวเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันแต่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยที่2และที่3ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา289(4),83เพียงกรรมเดียวเมื่อโจทก์มิได้ฎีกาศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297(8)อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษา เพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา212ประกอบมาตรา225แต่ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ การที่จำเลยที่2และที่3อุทธรณ์ว่ามิใช่คนร้ายที่กระทำผิดตามฟ้องย่อมครอบคลุมไปถึงข้ออุทธรณ์ว่าไม่มีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำหลายกรรมต่างกัน และการปรับบทลงโทษในคดีอาญา
ผู้เสียหายเบิกความเป็นขั้นตอนเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผลโอกาสที่ผู้เสียหายจะจำจำเลยที่2และที่3ได้มีอยู่มากและการที่ผู้เสียหายตรงเข้าชกจำเลยที่2และที่3ด้วยความโกรธในทันทีที่พบกันตอนชี้ตัวย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายจำหน้าจำเลยที่2และที่3ได้โดยปราศจากการลังเลพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงเชื่อได้ว่าจำเลยที่2และที่3กับพวกร่วมกันล่อลวงพาผู้ตายและผู้เสียหายมาทำร้าย แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นคนร้ายทำร้ายผู้ตายแต่การที่ผู้ตายตกอยู่ในวงล้อมการทำร้ายของจำเลยที่2ที่3และ ฮ.ซึ่งมีชะแลงเหล็กเป็นอาวุธและเมื่อผู้ตายหลบหนีก็ปรากฏว่ามีบาดแผลจนถึงแก่ความตายในคืนเดียวกันเหตุการณ์เชื่อมโยงบ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ตายถูกจำเลยที่2ที่3และ ฮ. ร่วมกันใช้ชะแลงเหล็กตีทำร้ายผู้ตาย จำเลยที่2และที่3อุทธรณ์ว่ามิใช่คนร้ายที่กระทำผิดตามฟ้องจึงครอบคลุมไปถึงข้ออุทธรณ์ว่าไม่มีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนอยู่ด้วย ผู้ตายและผู้เสียหายไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองจำเลยที่2ที่3และ ฮ.มาก่อนทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบว่าจำเลยที่1มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่2และที่3ประการใดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นเหตุจูงใจให้จำเลยที่2และที่3กับพวกต้องฆ่าผู้ตายการที่จำเลยที่2ที่3และพวกล่อลวงผู้ตายกับผู้เสียหายมายังที่เกิดเหตุจุดแรกพร้อมกันและตรงเข้าทำร้ายผู้ตายกับผู้เสียหายพร้อมกันแต่ผู้ตายหลบหนีไปได้เสียก่อนในตอนแรกแสดงให้เห็นว่าเจตนาของจำเลยที่2ที่3และ ฮ.ที่มีต่อผู้ตายและผู้เสียหายในขณะนั้นเป็นเจตนาเดียวกันคือเจตนาทำร้ายการที่จำเลยที่2ที่3และ ฮ. ติดตามไปทันและฆ่าผู้ตายในภายหลังต่อเนื่องกันไปย่อมเห็นได้ว่าเพิ่งมีเจตนาฆ่าผู้ตายในขณะนั้นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่2ที่3กับ ฮ. มีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่2และที่3ต่อผู้ตายและผู้เสียหายเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันแต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่2และที่3อีกกรรมหนึ่งได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา212ประกอบมาตรา225แต่ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลต้องรับผิดชอบความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับรถยนต์ เนื่องจากละเลยไม่ดูแลรักษา แม้สภาพอากาศปกติ
ต้นสนที่อยู่ข้างถนนซึ่งเทศบาลจำเลยที่1มีหน้าที่ดูแลมีสภาพผุกลวงแม้จะมีฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุแต่ก็เป็นฝนตกเล็กน้อยและปานกลางในช่วงสั้นๆและความเร็วของลมก็เป็นความเร็วลมปกติการที่ต้นสนล้มลงทับรถยนต์โจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนแต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่1จึงต้องรับผิด ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตโดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เสียสมรรถภาพทางเพศและไม่สามารถเดินได้กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินทั้งสองกรณีอันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกันจึงแยกจำนวนให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลต้องรับผิดต่อความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับเนื่องจากละเลยดูแล แม้ไม่มีเหตุสุดวิสัย
ต้นสนที่ล้มทับรถยนต์ของโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับอันตรายสาหัส มีสภาพผุกลวงอยู่ในความครอบครองดูแลของเทศบาลเมืองสงขลาจำเลยที่ 1วันเกิดเหตุมีฝนตกเล็กน้อยและปานกลางเป็นช่วงสั้น ๆ และมีฟ้าคะนอง ความเร็วลมเพียง 5 ถึง 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นความเร็วลมปกติ การที่ต้นสนดังกล่าวล้มลงทับรถของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนดังกล่าวเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต โดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เสียสมรรถภาพทางเพศ และไม่สามารถเดินได้ กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตนั้น ถือเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ทั้งสองกรณี อันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกัน จึงแยกจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนต้องมีพยานหลักฐานประกอบอื่นที่ไม่ใช่คำของพนักงานสอบสวนจึงจะใช้ลงโทษจำเลยได้
พยานหลักฐานประกอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 จะต้องไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ การรับฟังคำรับชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธในชั้นพิจารณามาใช้ลงโทษจำเลยโจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริงโดยพยานประกอบนั้นต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวนคำรับนั้น ส่วนบันทึกการจับกุม คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายประกอบการนำชี้ที่เกิดเหตุแม้จะมีภาพจำเลยและมีข้อความระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงหรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก
การถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) มีสองกรณี กรณีแรกคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด กรณีที่สองหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสียเมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งกรณีที่สองนี้แปลความได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีก็คือศาลที่ออกหมายบังคับคดีอันได้แก่ศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาจนกระทั่งจำเลยต้องชำระเงินแก่โจทก์ไปบางส่วน แต่ในเมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำเงินที่รับชำระไปบางส่วนดังกล่าวนั้นมาคืนให้แก่จำเลยแสดงว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีแล้ว จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3)
ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ในศาลฎีกา ปรากฏว่าคดีประธานของคดีนี้ ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ชนะคดีบางส่วน ซึ่งยังไม่ทราบจำนวนแน่นอน หากจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปเกินกว่าที่โจทก์ชนะคดี โจทก์ก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินไปจากที่โจทก์ชนะคดีนั้นให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดี และการคืนเงินที่รับชำระเกินจำนวนที่ชนะคดี
การถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 295(3) มีสองกรณี กรณีแรกคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด กรณีที่สองหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสียเมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งกรณีที่สองนี้แปลความได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีก็คือศาลที่ออกหมายบังคับคดีอันได้แก่ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาจนกระทั่งจำเลยต้องชำระเงินแก่โจทก์ไปบางส่วน แต่ในเมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำเงินที่รับชำระไปบางส่วนดังกล่าวนั้นมาคืนให้แก่จำเลยแสดงว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีแล้วจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ในศาลฎีกา ปรากฏว่าคดีประธานของคดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ชนะคดีบางส่วนซึ่งยังไม่ทราบจำนวนแน่นอน หากจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปเกินกว่าที่โจทก์ชนะคดี โจทก์ก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินไปจากที่โจทก์ชนะคดีนั้นให้แก่จำเลย
of 36