คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา นาคพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: ถ้อยคำท้าทายต่อสู้ไม่ถึงขั้นดูถูกเหยียดหยาม
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 คือ "ดูหมิ่น" ซึ่งหมายถึงการด่า ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทให้อับอายถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อ ข. เจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ว่า "แน่จริงมึงถอดเสื้อมาต่อยกับกูเลย" เป็นการกล่าวท้าทายให้ ข. ออกมาต่อสู้กับจำเลยเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นที่พอจะให้เข้าใจว่าจำเลยมีความมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทให้ ข. อับอายแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นทางวาจา: ถ้อยคำท้าทายไม่ได้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 136
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136 คือ "ดูหมิ่น" ซึ่งหมายถึงการด่า ดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาทให้อับอาย ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อสิบตำรวจตรี ข.ว่า "แน่จริงมึงถอดเสื้อมาต่อยกับกูเลย" เห็นได้ว่าเป็นการกล่าวท้าทายให้สิบตำรวจตรี ข.ออกมาต่อสู้กับจำเลย อันเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควร ยังไม่ถึงขั้นที่พอจะให้เข้าใจว่าจำเลยมีความมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทให้สิบตำรวจตรี ข.อับอาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3918/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รวมชอบธรรม หากเกี่ยวข้องกับประเด็นฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งหรือใช้ราคาแทน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยผู้เดียว โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแทนจำเลยขอให้บังคับโจทก์ถอนชื่อออกจากการเป็นเจ้าของรวม ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำฟ้องแย้งจึงมีว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทหรือไม่ คำฟ้องและคำฟ้องแย้งจึงเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน ชอบที่จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ: กรณีทายาทผู้รับมรดก
โจทก์และผู้ร้องต่างก็เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส.ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างที่ ส.ทำไว้กับโจทก์ และชำระหนี้ที่ ส.กู้ยืมไปจากผู้ร้องให้แก่ผู้ร้อง หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์ที่ ส.จำนองไว้เป็นประกันหนี้ผู้ร้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องได้ จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์และผู้ร้อง โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ ส.จำนองไว้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นมรดกของ ส.เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาจ้างที่ส.ทำไว้กับโจทก์บางส่วน แต่ได้ชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่อาจบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญ ตาม ป.พ.พ.มาตรา702 วรรคสอง และ ป.วิ.พ.มาตรา 289 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ แม้ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับ ส.อันเป็นมูลหนี้ในคดีนี้จะมีผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งผู้ร้องทราบดีว่า หาก ส.ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของ ส.ก็ตาม ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้สิทธิในการขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นของผู้ร้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่าง-ทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร
ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง นั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปี ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นระยะเวลาที่สมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน 20 ปีเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปี นับจากวันเกิดเหตุไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา ซึ่งค่าฤชา-ธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเสียชีวิต/บาดเจ็บ, การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ, ดอกเบี้ย, ค่าฤชาธรรมเนียม, และการรับผิดร่วม
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสองนั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปีย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปี จึงเป็นระยะเวลาที่สมควร ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน20 ปี เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสามบัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปีนับจากวันเกิดเหตุไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถาซึ่งค่าฤชาธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควรศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้ หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลงแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อก่อนกรณีเช่าตึกแถว: สิทธิมีเฉพาะเมื่อผู้ให้เช่าจะขายก่อนครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
ข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร" เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ให้เช่าจะขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาโดยจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบเสียก่อน เพื่อผู้เช่าจะได้ใช้สิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นเท่านั้น แต่หาได้ให้สิทธิผู้เช่าที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นตลอดไปจนพ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาให้แก่จำเลยที่ 3 หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะเช่าตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาอยู่ต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าแก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดจากล้มละลาย: พิจารณาจากทรัพย์สิน, การบริหารจัดการ, และความสามารถในการชำระหนี้
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 เป็น บุคคล ล้มละลาย เมื่อ นับ ถึง วันที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ยื่น คำร้องขอ ปลด จาก ล้มละลาย เป็น เวลา เพียง 2 ปี 7 เดือน เศษ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม และ ทำ บัญชี ส่วนแบ่ง ให้ โจทก์ ได้รับ ชำระหนี้ เพียง ครั้งเดียว เป็น เงิน 729,785.96 บาท หรือ คิด เป็น ร้อยละ 1.54 ของ หนี้ ทั้งหมด โจทก์ ยัง มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ อีก 46,568,912.44 บาท และ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ไม่สามารถ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม ได้ อีก และ การ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มี ทรัพย์สิน เหลือ ไม่ถึง ห้า สิบ ใน ร้อย ของ หนี้ ที่ ไม่มี ประกัน ไม่ใช่ ผล ธรรมดา อัน เนื่องมาจาก การค้า ขาย ขาดทุน และ ไม่ใช่ เป็นเหตุ สุดวิสัย แต่ เป็น เพราะ ความผิด พลาด ใน การ บริหาร งาน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อันควร จะ ตำหนิ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่อาจ แสดง ให้ เป็น ที่ พอใจ ต่อ ศาล ได้ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มีเหตุ ผล ที่ ควร เชื่อ ได้ว่า ตน สามารถ ชำระหนี้ โจทก์ ได้ จึง ได้ ก่อหนี้ ขึ้น เป็น จำนวน มาก ทั้ง มิได้ นำ บัญชี ใน การ ประกอบ ธุรกิจ และ งบดุล ประจำปี ใน ระยะเวลา 3 ปี ก่อน ล้มละลาย มา แสดง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ เห็น ฐานะ ของ กิจการ โดย ถูกต้อง ตาม จริง พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ต้องด้วย สันนิษฐาน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 74 ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ขืน กระทำการ ค้าขาย ต่อไป อีก โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า ไม่สามารถ จะ ชำระหนี้ ได้ ต้องด้วย ข้อกำหนด มาตรา 73(1) และ (3) ประกอบ กับ โจทก์ คัดค้าน การ ขอ ปลด จาก ล้มละลาย ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง นับ ว่า มีเหตุ ที่ ไม่สมควร ปลด จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จาก ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดจากล้มละลายต้องพิจารณาความผิดพลาดในการบริหารงานและเจตนาของผู้ล้มละลาย
ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงให้ได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73 แล้วจึงมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีทรัพย์สินเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันไม่ใช่ผลธรรมดาอันเนื่องมาจากการค้าขายขาดทุนและไม่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารงานของจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลอันมีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองสามารถชำระหนี้โจทก์ได้จึงได้ก่อหนี้ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งมิได้นำบัญชีในการประกอบธุรกิจและงบดุลประจำปีในระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายมาแสดงต่อศาลเพื่อให้เห็นฐานะของกิจการโดยถูกต้องตามจริง พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 74 ว่าจำเลยทั้งสองขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดตามมาตรา 73(1) และ (3)ประกอบกับโจทก์คัดค้าน จึงนับว่ามีเหตุที่ไม่สมควรปลดจำเลยทั้งสองจากล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอปลดจากล้มละลายถูกปฏิเสธเนื่องจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการทรัพย์สินและเจตนาฉ้อฉล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอปลดจากล้มละลายเป็นเวลาเพียง 2 ปี 7 เดือนเศษเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามและทำบัญชีส่วนแบ่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้เพียงครั้งเดียวเป็นเงิน 729,785.96 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.54 ของหนี้ทั้งหมดโจทก์ยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้อีก46,568,912.44 บาท และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามได้อีก และการที่จำเลยที่ 2และที่ 3 มีทรัพย์สินเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน ไม่ใช่ผลธรรมดาอันเนื่องมาจากการค้าขายขาดทุนและไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อันควรจะตำหนิจำเลยที่ 2และที่ 3 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าตนสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ จึงได้ก่อหนี้ขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งมิได้นำบัญชีในการประกอบธุรกิจและงบดุลประจำปี ในระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายมาแสดงต่อศาลเพื่อให้เห็นฐานะของกิจการโดยถูกต้องตามจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องด้วยสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 74 ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ต้องด้วยข้อกำหนดมาตรา 73(1) และ (3) ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอปลดจากล้มละลายของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงนับว่ามีเหตุที่ไม่สมควรปลดจำเลยที่ 2 และที่ 3 จากล้มละลาย
of 36