คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา นาคพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตาม แต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไป และหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระ คดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ (1) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้อง ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้ว ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้น หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่ การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การพิจารณาประเภทคดีมีทุนทรัพย์ การทิ้งฟ้อง และคำสั่งระหว่างพิจารณา
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119วรรคสองและวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้านผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตามแต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไปและหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระคดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง1ข้อ(1)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา179วรรคท้ายซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้นหามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(1)ประกอบมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี2534ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่3กันยายนปีเดียวกันการที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14วรรคหนึ่งอนุมาตรา1เท่านั้นหาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา193/24อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้วแม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่3กันยายน2534นั้นเองจึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา193/15วรรคสองเมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่29มิถุนายน2537ซึ่งเป็นวันฟ้องพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา448วรรคหนึ่งและเนื่องจากจำเลยที่2ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ตามมาตรา193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่1จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่2ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการนับอายุความใหม่
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี 2534 ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว ก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา 1 เท่านั้นหาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24 อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว แม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่ 3 กันยายน 2534 นั้นเอง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2537 ซึ่งเป็นวันฟ้อง พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามมาตรา 193/29
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี 2534 ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว ก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งอนุมาตรา 1 เท่านั้น หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24 อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว แม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่ 3 กันยายน2534 นั้นเอง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2537 ซึ่งเป็นวันฟ้อง พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามมาตรา 193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการถอนคำขอรับชำระหนี้ และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขอให้ยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ได้รับชำระหนี้และยกคำขอของเจ้าหนี้รายที่1การที่เจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ที่จะสละสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ถอนคำขอรับชำระหนี้กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงไม่ถูกต้องและเมื่อไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตเสียแล้วกรณีก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยหรือจะต้องไต่สวนคำร้องคัดค้านของจำเลยก่อน ศาลฎีกาได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา84และ87มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้4รายสำหรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่1ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำขอส่วนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ได้มีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้แล้วจึงไม่มีเจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ต่อไปดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตามมาตรา135(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการถอนคำขอรับชำระหนี้และการยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้รับชำระหนี้และยกคำขอของเจ้าหนี้รายที่ 1 การที่เจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่จะสละสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ถอนคำขอรับชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงไม่ถูกต้อง และเมื่อไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตเสียแล้ว กรณีก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยหรือจะต้องไต่สวนคำร้องคัดค้านของจำเลยก่อน
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 84 และ 87 มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 4 รายสำหรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำขอ ส่วนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้มีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้แล้วจึงไม่มีเจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ต่อไป ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตามมาตรา 135 (2) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการถอนคำขอรับชำระหนี้ และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขอให้ยกเลิกการล้มละลาย
การขอถอนคำขอรับชำระหนี้ที่ศาลอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้ว เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะทำได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงไม่ถูกต้อง และเมื่อศาลชั้นต้นไม่ต้องอนุญาต จึงไม่จำต้องสอบถามจำเลยหรือจะต้องไต่สวนคำร้องคัดค้านของจำเลยก่อน
ศาลพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 84 และ 87 มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 4 ราย สำหรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำขอ ส่วนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้มีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้แล้วจึงไม่มีเจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ต่อไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเนื่องจากตกลงชำระหนี้เป็นที่พอใจ ย่อมทำให้หนี้ระงับสิ้นไป
คำแถลงของโจทก์ที่ขอถอนการยึดและการบังคับคดีมีข้อความว่า"ขณะนี้โจทก์และจำเลยตกลงกันได้แล้วและได้รับชำระหนี้เป็นที่พอใจแล้วโจทก์ไม่ประสงค์บังคับคดีนี้ต่อไปจึงขอถอนการยึดทรัพย์คดีนี้และขอถอนการบังคับคดีเสียทั้งสิ้นต่อไปด้วยฯลฯ"ข้อความดังกล่าวชัดแจ้งว่าโจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเพราะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองเป็นที่พอใจแล้วตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันดังนี้เมื่อโจทก์ตกลงยกหรือปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยแล้วหนี้ส่วนที่เหลือจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340โจทก์ไม่อาจจะนำหนี้ดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการตกลงชำระหนี้และการถอนฟ้องล้มละลาย
คำแถลงของโจทก์ที่ขอถอนการยึดและการบังคับคดีมีข้อความว่า".....ขณะนี้โจทก์และจำเลยตกลงกันได้แล้ว และได้รับชำระหนี้เป็นที่พอใจแล้วโจทก์ไม่ประสงค์บังคับคดีนี้ต่อไป จึงขอถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ และขอถอนการบังคับคดีเสียทั้งสิ้นต่อไปด้วย ฯลฯ" ข้อความดังกล่าวชัดแจ้งว่า โจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเพราะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองเป็นที่พอใจแล้วตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกัน ดังนี้เมื่อโจทก์ตกลงยกหรือปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยแล้ว หนี้ส่วนที่เหลือจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 340 โจทก์ไม่อาจจะนำหนี้ดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายได้
of 36