คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา นาคพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ: ไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมหากไม่ขัดกับกฎหมาย
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคสอง เป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 132 (2)ด้วย ถึงแม้มาตราดังกล่าววรรคแรกจะบัญญัติให้ศาลที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร แต่บทบัญญัติที่ว่านี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่และหากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว คำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับ ป.วิ.พ.มาตรา 151วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะดังนี้เมื่อบทบัญญัติมาตรา 151 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 198 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 132 (2) ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีและการคืนค่าธรรมเนียมศาล: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมเมื่อจำหน่ายคดีตามมาตรา 198 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 198 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 132(2) จึงไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความและการคืนค่าฤชาธรรมเนียมศาล ศาลมีอำนาจพิจารณาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองนั้นเป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(2)ด้วยแม้มาตราดังกล่าววรรคแรกจะบัญญัติให้ศาลที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรแต่ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่หากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าวคำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151วรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะดังนี้เมื่อมาตรา151ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองประกอบด้วยมาตรา132(2)จึงไม่จำต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการแบ่งแยกโฉนดและการสวมสิทธิของผู้จัดการมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อท. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วท. เป็นตัวแทนของโจทก์ไปยื่นเรื่องราวขอแบ่งแยกออกโฉนดใหม่และจะได้โอนให้โจทก์ต่อไปแต่ท. ถึงแก่ความตายเสียก่อนจำเลยซึ่งเป็นบุตรของท. ได้เข้าสวมสิทธิในการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทจนทางราชการออกโฉนดให้ในนามของจำเลยแต่จำเลยให้การเพียงว่าท. กับโจทก์จะตกลงกันเป็นตัวการตัวแทนเพื่อยื่นเรื่องราวขอให้ทางราชการแบ่งแยกที่ดินพิพาทหรือไม่จำเลยไม่ทราบไม่รับรองและไม่ปรากฏหลักฐานดังนี้จำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุการณ์แห่งการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าท. ได้ขอออกโฉนดที่ดินส่วนที่ขายให้โจทก์ในนามท. แล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ทั้งการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และท. ตกเป็นโมฆะเพราะทำการซื้อขายที่ดินโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีนั้นจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ไว้ย่อมไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสินค้าชำรุด การบอกเลิกสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขาย
สัญญาซื้อขายข้อ3ระบุว่าจำเลยผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในวันที่15ตุลาคม2528ส่วนข้อ10ระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาแล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และข้อ11ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสองของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องและในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฎิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายล่าช้านับแต่วันถึงกำหนดจนถึงวันส่งมอบรวม13วันโจทก์มีสิทธิ์เรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยทั้งสองได้รวมเป็นเงิน23,920บาทเมื่อหักเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นเงิน920,000บาทแล้วโจทก์จึงชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองไปเป็นเงิน896,080บาทแต่ต่อมาภายหลังโจทก์พบว่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองส่งมอบชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาดังนี้ผลการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่กระทบกระทั่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการส่งมอบของล่าช้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคท้ายการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยทั้งสองนั้นย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าแก่จำเลยทั้งสองไปจำนวน920,000บาทเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาคู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองจึงต้องคืนราคาสินค้าเต็มจำนวนเป็นเงิน920,000บาทแก่โจทก์ สัญญาซื้อขายข้อ10วรรคสองระบุว่า"ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาด้วย"คดีนี้จำเลยทั้งสองได้ส่งมอบสินคาแก่โจทก์แล้วต่อมาเมื่อโจทก์นำสินค้าไปใช้ปรากฎว่าสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรและให้จำเลยรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเนื่องจากโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นได้ตามสัญญาซื้อขายข้อ10วรรคสองเท่านั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเนื่องจากเหตุดังกล่าวแล้วจึงเป็นเรื่องโจทก์ไม่ได้รับสินค้าตามที่สัญญากำหนดไว้ถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบสินค้ามิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองได้ส่งมอบสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาแก่โจทก์และโจทก์ยอมรับไว้โดยจะใช้สิทธิปรับเป็นรายวันโจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบอกเลิกสัญญาซื้อขายและเรียกค่าเสียหายจากการส่งมอบสินค้าล่าช้าและชำรุด
สัญญาซื้อขายข้อ 3 ระบุว่าจำเลยผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2528 ส่วนข้อ 10 วรรคแรกระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และข้อ 11 วรรคแรก ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 10 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสองของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนและในวรรคสามกำหนดว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกัน กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ คดีนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายล่าช้านับแต่วันถึงกำหนดจนถึงวันส่งมอบรวม 13 วัน โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยทั้งสองได้รวมเป็นเงิน 23,920 บาท เมื่อหักเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นเงิน 920,000 บาท แล้ว โจทก์จึงชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองไปเป็นเงิน 896,080 บาท ต่อมาภายหลังปรากฏว่า สินค้าที่จำเลยทั้งสองส่งมอบชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ดังนี้ ผลการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่กระทบกระทั่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการส่งมอบของล่าช้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคท้าย การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาข้อ 11 เพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองส่งมอบของล่าช้าโดยหักออกจากราคาที่โจทก์จะชำระแก่จำเลยทั้งสองนั้น ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีถือว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าแก่จำเลยทั้งสองไปจำนวน 920,000บาท เมื่อมีการเลิกสัญญากัน คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนราคาสินค้าเต็มจำนวนเป็นเงิน 920,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์ที่ดินจัดสรร: สิทธิใช้ทาง & การรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน2515 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ประกอบข้อ 32 จะเห็นได้ว่า ถึงแม้การจัดสรรที่ดิน ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินกระทำอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 32 จะไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 30 กล่าวคือ ถือว่าสาธารณูปโภคเช่นว่านั้นตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และจากถ้อยคำในข้อ 32ที่ว่า "ผู้ใดจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา และ...หรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภค...หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรมไปแล้วบางส่วน...ฯลฯ" ย่อมมีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่า สาธารณูปโภคดังกล่าวคือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หาใช่สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินภายหลังประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับไม่เมื่อบริษัท น.ดำเนินการจัดสรรที่ดินหมู่บ้าน ม.เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2516 และถนนซอยพิพาทเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นก่อนที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ใช้บังคับ ถนนซอยพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 และ 32 ถึงแม้ถนนซอยพิพาทเป็นทางเข้าออกบ้านของจำเลยทั้งสองสู่ถนนสายหลักของหมู่บ้าน ม.และถนนสาธารณะ โดยผ่านรั้วด้านข้างบ้านของโจทก์และเจ้าของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งไม่มีประตูที่รั้วด้านดังกล่าว แต่ในเมื่อถนนซอยพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30และ 32 โจทก์ในฐานะเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่ดินจัดสรร จึงมีสิทธิใช้ถนนซอยพิพาทได้ซึ่งอาจจะใช้เป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว เช่น ในยามเกิดอัคคีภัยเป็นต้นที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดทำประตูรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาท ย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วเหล็กดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมในที่ดินจัดสรร: การจัดสรรก่อนประกาศคณะปฏิวัติฯ มิได้หลุดพ้นการตกอยู่ภายใต้ภารจำยอม
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ข้อ30วรรคหนึ่งประกอบข้อ32จะเห็นได้ว่าถึงแม้การจัดสรรที่ดินซึ่งผู้จัดสรรที่ดินกระทำอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ32จะไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ตามแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่่อการจัดสรรที่ดินจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ30กล่าวคือถือว่าสาธารณูปโภคเช่นว่านั้นตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและจากถ้อยคำในข้อ32ที่ว่า"ผู้ใดจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและหรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือที่ประกอบการอุตสาหกรรมไปแล้วบางส่วนฯลฯย่อมมีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่าสาธารณูปโภคดังกล่าวคือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหาใช่สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่่อการจัดสรรที่ดินภายหลังประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับไม่เมื่อบริษัทน. ดำเนินการจัดสรรที่ดินหมู่บ้านม.เมื่อวันที่4มกราคม2516และถนนซอยพิพาทเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นก่อนที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ใช้บังคับถนนซอยพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ข้อ30และ32ถึงแม้ถนนซอยพิพาทเป็นทางเข้าของจำเลยทั้งสองสู่ถนนสายหลักของหมู่บ้านม. และถนนสาธารณะโดยผ่านรั้วด้านข้างบ้านของโจทก์และเจ้าของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งไม่มีประตูที่รั้วด้านดังกล่าวแต่ในเมื่อถนนซอยพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่่286ข้อ30และ32โจทก์ในฐานะเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่ดินจัดสรรจึงมีสิทธิใช้ถนนซอยพิพาทได้ซึ่งอาจจะใช้เป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวเช่นในยามเกิดอัคคีภัยเป็นต้นที่่จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดทำประตูรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาทย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วเหล็กดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นภาระจำยอมต่อเนื่องเกิน 10 ปี
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า10ปีทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบมาตรา1382จำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2กั้นรั้วสังกะสีในทางพิพาทอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์จึงต้องรวมรับผิดกับจำเลยที่2ด้วยแม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายด้วยถ้อยคำว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและด้วยเจตนาให้เป็นภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีแต่ก็ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่60457และ70344และที่ดินโฉนดเลขที่60458ของจำเลยที่1ซึ่งโอนขายให้แก่จำเลยที่2เดิมเป็นของล. ก่อนที่ล. จะจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่60458ให้จำเลยที่1ล. ได้แบ่งแยกที่ดินในนามเดิมโดยกันที่ดินส่วนหนึ่งกว้าง1เมตรยาว12เมตรด้านทิศตะวันตก(ทางพิพาท)ให้เป็นภาระจำยอมต่อมาจำเลยที่1ซึ่งได้รับโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่60458นำช่่างแผนที่ไปรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่60458ด้านทิศตะวันตกรุกล้ำแนวเขตที่ดินที่เป็นทางภารจำยอมดังกล่าวแล้วกั้นรั้วสังกะสีปิดกั้นทางเดินทำให้ที่ดินที่เป็นภารจำยอมนั้นลดและแคลงคงเหลือกว้าง1เมตรยาว12เมตรเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเคยปฏิบัติกันมาตามปกติที่เคยใช้เป็นทางภารจำยอมกว้าง2เมตรยาว12เมตรมานานไม่น้อยกว่า20ปีเศษข้อความที่ว่าล. กันทางพิพาทให้เป็นภารจำยอมและโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทอย่างภารจำยอมดังกล่าวเข้าออกสู่ทางสาธารณะตามปกติอย่างภารจำยอมไม่น้อยกว่า20ปีเศษนั้นมีความหมายเช่นเดียวกับข้อความว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นภารจำยอมเกินกว่า10ปีถือได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายข้อความครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบมาตรา1382แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และการรุกล้ำแนวเขตทางเดิน
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 กั้นรั้วสังกะสีในทางพิพาทอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายด้วยถ้อยคำว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและด้วยเจตนาให้เป็นภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ก็ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่60457 และ 70344 และที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 เดิมเป็นของ ล. ก่อนที่ ล.จะจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่60458 ให้จำเลยที่ 1 ล.ได้แบ่งแยกที่ดินในนามเดิมโดยกันที่ดินส่วนหนึ่งกว้าง1 เมตร ยาว 12 เมตร ด้านทิศตะวันตก (ทางพิพาท) ให้เป็นภาระจำยอมต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 นำช่างแผนที่ไปรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 ด้านทิศตะวันตกรุกล้ำแนวเขตที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอมดังกล่าวแล้วกั้นรั้วสังกะสีปิดกั้นทางเดินทำให้ที่ดินที่เป็นภาระจำยอมนั้นลดและแคบลงคงเหลือกว้าง 1 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเคยปฏิบัติกันมาตามปกติที่เคยใช้เป็นทางภาระจำยอม กว้าง 2 เมตร ยาว 12 เมตร มานานไม่น้อยกว่า 20 ปีเศษข้อความที่ว่า ล.กันทางพิพาทให้เป็นภาระจำยอมและโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทอย่างภาระจำยอมดังกล่าวเข้าออกสู่ทางสาธารณะตามปกติอย่างภาระจำยอมไม่น้อยกว่า 20 ปีเศษนั้น มีความหมายเช่นเดียวกับข้อความว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี ถือได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายข้อความครบถ้วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา1382 แล้ว
of 36