พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยาน, พฤติการณ์ผิดปกติ, และการยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีวางเพลิง
พฤติการณ์ของพยานที่ยินยอมออกจากบ้านไปกับจำเลยในยามค่ำมืดล่วงเลยกำหนดเวลาที่บุคคลทั่วไปจะรับประทานขนมโดยยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยทุกประการไม่ว่าจำเลยจะสั่งให้ขับรถจักรยานยนต์ไปในทิศทางใดและจอดหยุดรอณที่ใดแม้จะให้นำรถจักรยานยนต์ไปซ่อนไว้ในคูข้างถนนและเฝ้ารถจักรยานยนต์ไว้ขณะที่จำเลยกับพวกนำถึงปุ๋ยเข้าไปในโรงเรียนที่เกิดเหตุพยานก็ยินยอมปฏิบัติตามโดยดีอีกทั้งไม่ได้แสดงอาการตื่นเต้นตกใจเมื่อไฟไหม้โรงเรียนแต่กลับขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยกับพวกไปส่งยังสถานที่ซึ่งจำเลยซ่อนรถจักรยานยนต์ของตนไว้ทั้งๆที่ทราบดีว่าจำเลยกับพวกวางเพลิงพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการผิดปกติวิสัยของบุคคลผู้ถูกหลอกลวงให้เดินทางไปกับคนร้ายและพบการกระทำความผิดที่ร้ายแรงเพราะโดยสัญชาตญาณของผู้ที่ประสบเหตุร้ายแรงดังกล่าวและในฐานะที่เป็นชาวมุสลิมเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ในละแวกที่เกิดเหตุพยานน่าที่จะร้องตะโกนบอกให้ประชาชนเหล่านั้นทราบเพื่อจะได้ช่วยกันดับเพลิงและแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบในโอกาสต่อมาแต่ไม่ปรากฏว่าพยานได้ดำเนินการใดๆคงเก็บงำไว้เป็นเวลานานถึง2วันจึงเล่าให้ส. เพื่อนร่วมงานฟังเป็นการผิดปกติวิสัยของบุคคลผู้อยู่ในภาวะเช่นพยานจะพึงกระทำจึงเป็นการส่อพิรุธว่าพยานอาจจะไม่รู้เหตุการณ์ดังที่เบิกความในคืนเกิดเหตุนอกจากจะมีการวางเพลิงโรงเรียนที่เกิดเหตุแล้วยังมีการวางเพลิงโรงเรียนอื่นในเขตจังหวัดสงขลายะลาปัตตานีและนราธิวาสในเวลาเดียวกันได้ใช้วิธีการและวัสดุเชื้อเพลิงเหมือนๆกันอีกถึง37แห่งเชื่อว่าเป็นการกระทำของกลุ่มขบวนการก่อการร้ายเดียวกันซึ่งดำเนินงานอย่างมีระบบโดยวางแผนกำหนดตัวบุคคลวิธีการปฏิบัติตลอดถึงวัสดุเชื้อเพลิงที่ใช้ไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมงานก่อการร้ายจึงสำเร็จลุล่วงไปได้ตัวบุคคลผู้ดำเนินงานจึงน่าจะเป็นผู้ที่อยู่ในขบวนการเดียวกันและไว้วางใจได้ไม่มีเหตุอันใดที่จะชักชวนบุคคลอื่นซึ่งอยู่นอกขบวนการให้เข้ามาทำงานเพราะอาจทำให้แผนงานที่กำหนดไว้เสียหายและยังเป็นการเปิดเผยความลับของขบวนการแก่บุคคลภายนอกอีกด้วยฉะนั้นคำเบิกความของพยานจึงขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อถือพยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้หรือไม่จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ทายาทรับมรดกแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ มีผลผูกพันทางกฎหมาย ทายาทอื่นไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ตามบันทึกถ้อยคำที่จ. ให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความสำคัญว่าที่ดินพิพาทมีชื่อฉ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์วันนี้ทายาทของฉ. คือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของฉ. จ.เป็นทายาทของฉ.ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวดังนี้ไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา850,852และ1750โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้อื่นรับมรดกแทนและผลผูกพันทางกฎหมาย: สิทธิในการฟ้องแบ่งมรดก
บันทึกที่จ. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความสำคัญว่าที่ดินมรดกที่มีชื่อฉ. ผู้ตายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์นี้ทายาทของผู้ตายคือจำเลยและจ. แต่จ. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใดและยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียวนั้นเป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่24(พ.ศ.2516)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯซึ่งถ้อยคำดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกถ้อยคำของจ. ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850,852และ1750ทั้งตามโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยส่งศาลในวันชี้สองสถานระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้นโดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจ.ไม่คัดค้านความถูกต้องถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ทายาทอื่นรับมรดกที่ดิน ย่อมทำให้ผู้รับมรดกมีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์
บันทึกที่ จ.ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใจความว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อ ฉ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ตายไปแล้ว วันนี้ (วันที่ 2 ธันวาคม 2530) ทายาทของผู้ตายคือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ ฉ. จ.ได้รับทราบเรื่องราวและประกาศขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้โดยตลอดแล้ว จ.เป็นทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ด้วย แต่ จ.ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใด และยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียว เช่นนี้ถ้อยคำของ จ.เป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตาม ป.ที่ดิน มาตรา 81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งถ้อยคำของ จ.ดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ.มาตรา 1612 เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด แต่บันทึกถ้อยคำของนายจำรัสดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ มีผลบังคับได้ตาม มาตรา 850, 852 และ 1750ทั้งตามโฉนดที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้น อันถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ จ.จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้อื่นรับมรดก ย่อมตัดสิทธิทายาทอื่นในการเรียกร้องแบ่งมรดก
บันทึกที่จ. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใจความว่าที่ดินพิพาทมีชื่อฉ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ตายไปแล้ววันนี้(วันที่2ธันวาคม2530)ทายาทของผู้ตายคือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของฉ. จ.ได้รับทราบเรื่องราวและประกาศขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้โดยตลอดแล้วจ. เป็นทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ด้วยแต่จ. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใดและยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ถ้อยคำของจ.เป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่24(พ.ศ.2516)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497ซึ่งถ้อยคำของจ. ดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกถ้อยคำของนายจำรัสดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา850,852และ1750ทั้งตามโฉนดที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้นอันถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ & สิทธิสุจริตผู้ซื้อ: เมื่อฝ่ายจำเลยอ้างการโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่สุจริต จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
คดีไม่มีการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้ฝ่ายโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วไม่มีฝ่ายใดสืบพยาน การที่ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีก็จะต้องถือหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลัก
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส.ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่า โจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์
ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร.และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร.ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ ป. และ ป.ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับร.และ ป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน และศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมด และให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส.ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่า โจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์
ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร.และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร.ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ ป. และ ป.ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับร.และ ป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน และศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมด และให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ - การรับโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต - สิทธิในการครอบครองปรปักษ์
คดีไม่มีการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้ฝ่ายโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วไม่มีฝ่ายใดสืบพยาน การที่ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีก็จะต้องถือหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลัก ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส. ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่าโจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์ ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร. และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร. ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ป. และ ป. ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับ ร. และป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริตซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานและศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมดและให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยานดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดย ไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอและคำรับสารภาพเกิดจากถูกขู่เข็ญ ศาลยกฟ้องคดีอาญา ฐานสงสัยว่าจำเลยกระทำผิด
โจทก์มีประจักษ์พยานมาเบิกความเป็นพยาน4ปากแต่มีบิดาผู้ตายเพียงปากเดียวที่ยืนยันว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้ายส่วนพยานนอกนั้นจำคนร้ายไม่ได้แต่คำเบิกความของบิดาผู้ตายขัดกับคำให้การในชั้นสอบสวนที่ระบุว่าไม่เห็นเหตุการณ์ขณะคนร้ายยิงผู้ตายอีกทั้งคำให้การในชั้นสอบสวนของพยานอื่นก็เป็นคำบอกเล่าที่เป็นพิรุธยิ่งกว่าที่เบิกความในชั้นศาลประกอบกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสองในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นคำรับสารภาพที่ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจใช้ยันจำเลยทั้งสองไม่ได้พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9541/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยเปิดเผยและสงบ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ว. ใช้ที่พิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ว. จึงได้สิทธิภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ว. ย่อมได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความในที่พิพาทด้วย ฎีกาของจำเลยที่ว่า ว. โอนขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่ส.เมื่อปี2524และว.ซื้อคืนมาในปี2528ว.ใช้ที่พิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะติดต่อกันไม่ถึง10 ปี จึงไม่ได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ ข้อปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การไว้ ศาลชั้นต้นมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9517/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยกันสาด: สุจริตไม่ต้องรื้อ และค่าเสียหายต้องมีหลักฐานชัดเจน
บริษัทร. ได้ก่อสร้างอาคารตึกแถวขายพร้อมกับที่ดินโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่40724เนื้อที่28ตารางวาพร้อมกับอาคารตึกแถวเลขที่1535/83ส่วนจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่40722เนื้อที่17ตารางวาพร้อมอาคารตึกแถวเลขที่1535/85ต่อมาโจทก์ขอรังวัดที่ดินเพื่อต่อเติมอาคารปรากฏว่าอาคารตึกแถวของจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตซึ่งสร้างขึ้นพร้อมอาคารดังนี้เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารตึกแถวพิพาทรวมทั้งกันสาดคอนกรีตที่สร้างพร้อมกับอาคารตึกแถวดังกล่าวและเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกมาใช้บังคับโดยถือว่าการที่กันสาดคอนกรีตดังกล่าวรุกล้ำนั้นเป็นมาโดยสุจริตจำเลยจึงไม่จำต้องรื้อกันสาดคอนกรีตที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ ที่โจทก์ฎีกาว่าฉ. เจ้าพนักงานผู้รังวัดทำแผนที่วิวาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นรังวัดผิดพลาดเพราะมิได้รังวัดโดยถือเอาหลักหมุดด้านหน้าที่ดินของโจทก์เป็นหลักคำเบิกความของฉ. จึงไม่ควรแก่การรับฟังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยมิได้ปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตเท่านั้นทั้งตามฎีกาของโจทก์ก็ขอเพียงให้จำเลยรื้อกันสาดคอนกรีตและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้นมิได้ขอให้รื้ออาคารตึกแถวพิพาทด้วยประเด็นในชั้นฎีกาจึงไม่มีว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่และการรังวัดทำแผนที่วิวาทชอบหรือไม่ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารและกันสาดส่วนที่รุกล้ำออกไปและขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายขาดประโยชน์ในการที่จะใช้สอยอาคารส่วนที่ถูกรุกล้ำของโจทก์เป็นรายเดือนเดือนละ5,000บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีไปจนกว่าจะรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำจึงเป็นคดีที่มีคำขอที่ไม่มีและมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วยจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหาย