คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ระพินทร บรรจงศิลป

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 974 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312-5313/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินถือเป็นการชำระหนี้แทนการจ่ายเงินตามเช็ค ทำให้หนี้ตามเช็คระงับสิ้น
โจทก์จำเลยลงทุนร่วมกันเพื่อซื้อที่ดินไปขายแบ่งกำไรกันต่อมาโจทก์ขอเงินลงทุนคืนจำเลยจึงออกเช็คชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อเช็คที่จำเลยออกให้ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยไปดำเนินการโอนที่ดินทั้งสามแปลงของจำเลยเป็นชื่อโจทก์ โดยไม่ได้ตกลงกำหนดราคาที่ดินทั้งสามแปลงเป็นอย่างอื่น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคแรก ทำให้หนี้ตามเช็คเป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5311/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้และสิทธิเรียกร้องในคดีบังคับคดี: เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เจ้าหนี้สามัญไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ธ. และ ย. ยื่นคำร้องต่อศาลขอรับชำระหนี้จำนองที่มีอยู่เหนือทรัพย์จำนองของผู้ร้องสอดจำนวน 13,950,000 บาทแต่เงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมีเพียง7,601,977 บาท การที่ ธ. และ ย. แถลงต่อศาลว่า เมื่อได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดในคดีนี้แล้ว ก็ไม่ติดใจที่จะเรียกหนี้สินจากผู้ร้องสอดอีกต่อไป ย่อมหมายถึง ตกลงรับชำระหนี้เพียงเงินจำนวนสุทธิทั้งหมดที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนการที่ ธ. และ ย. จะมอบเงินให้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์เป็นเงิน1,101,977 บาท นั้นก็เป็นเงินของ ธ. และ ย. ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักไว้เพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ตามที่ธ. และ ย. ได้ตกลงกับโจทก์นั่นเอง มิใช่เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดหรือเหลือจากการชำระหนี้จำนองให้แก่ ธ. และย. ซึ่งจะต้องนำมาเฉลี่ยให้แก่โจทก์และกรมสรรพากรผู้ร้อง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 253(3) เมื่อ ธ. และ ย. ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปหมดแล้ว ย่อมไม่เหลือทรัพย์ที่ผู้ร้องจะเข้ามามีส่วนเฉลี่ยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5311/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์จากการขายทอดตลาด: เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองตกลงรับชำระหนี้เท่าที่ได้รับจริง ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นไม่มีสิทธิเรียกร้อง
หนี้จำนองทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองยื่นขอรับชำระหนี้ต่อศาลชั้นต้นมีจำนวนถึง 13,950,000 บาท แต่เงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมีเพียง 7,601,977 บาท การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า เมื่อได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดีนี้ ซึ่งเป็นเงินกว่า 7,000,000 บาท แล้ว ก็ไม่ติดใจที่จะว่ากล่าวเรียกหนี้สินประการอื่นใดจากผู้ร้องสอดทั้งสองอีกต่อไป ย่อมหมายถึง เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองตกลงรับชำระหนี้เพียงเงินจำนวนสุทธิทั้งหมดที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเท่านั้น ส่วนเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ ตามที่ปรากฏในบัญชีรับจ่ายเงินในคดีในสำนวนเป็นเงินของเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักไว้เพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ ตามที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองได้ตกลงกับโจทก์ไว้ เงินจำนวนดังกล่าวหาใช่เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดหรือเหลือจากการชำระหนี้จำนองให้แก่เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองซึ่งจะต้องนำมาเฉลี่ยให้แก่โจทก์และผู้ร้องไม่ เมื่อฟังได้ว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองได้รับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปหมดแล้ว ย่อมไม่เหลือทรัพย์ที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 253 (3) จะเข้ามามีส่วนเฉลี่ยได้อีก การพิจารณาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องต่อไป จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4504/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการต่อสู้คดี การให้การที่ไม่ชัดเจน และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และ อ. จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่จำเลยไม่รับรอง เพราะหนังสือรับรองออกมาก่อนฟ้องถึง 7 เดือนนั้นจำเลยไม่ได้ให้เหตุแห่งการปฏิเสธ โดยชัดแจ้งว่าหนังสือรับรองออกมาก่อนฟ้อง 7 เดือน เหตุใดจึงทำให้โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและ อ. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยในประเด็นนี้มาก็ตาม ก็เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อต่อสู้ของจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องนั้นชอบแล้ว
เดิมจำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี มีสิทธิเพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่กลับฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพราะเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยก็มิได้อ้างเหตุผลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ขัดต่อกฎหมายดังกล่าวอย่างไร ทั้งโจทก์เป็นสถาบันการเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ ไม่ใช่ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่จำเลยก็มิได้แสดงเหตุผลเช่นกันว่าโจทก์ปฏิบัติผิดต่อกฎหมายดังกล่าวนี้อย่างไร ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้า เริ่มนับจากวันรับมอบสินค้าที่ตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 ที่บัญญัติว่า "ในข้อความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้านั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ส่งมอบหรือปีหนึ่งนับแต่วันที่ควรจะได้ส่งมอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีการทุจริต" เมื่อเรือเดินทะเลชื่อโพเรอขนส่งแผ่นเหล็กม้วนจำนวน 150 ม้วน ซึ่งเป็นของที่บริษัท อ. เอาประกันภัยไว้กับโจทก์มาถึงประเทศไทยมีการขนถ่ายสินค้าดังกล่าวจากเรือเดินทะเลชื่อโพเรอไปส่งยังโกดังของบริษัท อ. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 ในวันรุ่งขึ้นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 บริษัท ย. ทำการสำรวจแผ่นเหล็กม้วนดังกล่าวพบว่าม้วนเหล็กบุบยุบจำนวน 12 ม้วน จึงแจ้งความเสียหายให้โจทก์ทราบในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 นั้นเอง แม้การขนส่งสินค้ารายพิพาทจะมาถึงยังโกดังของบริษัท อ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 ก็ตาม แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบสินค้าว่าครบจำนวนตลอดจนความเรียบร้อยของสินค้าว่ามีความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดหรือไม่อีกด้วย อันถือว่าเป็นการกระทำปกติทางการค้าในการรับมอบสินค้าที่มีการว่าจ้างให้ขนส่งมา ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้น จะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อบริษัท อ. ผู้เอาประกันภัยตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลาย จึงต้องเริ่มนับแต่วันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าทางทะเล เริ่มนับแต่วันรับมอบสินค้าที่ตรวจสอบเสร็จสิ้น
สินค้าที่ขนส่งโดยเรือเดินทะเลมาถึงโกดังของบริษัท อ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 แต่ยังต้องตรวจสอบสินค้าครบจำนวน และความเรียบร้อยว่ามีความสูญหายหรือบุบสลายหรือไม่ที่จะต้องปฏิบัติเป็นขั้นตอนต่อไปอีกด้วยอันเป็นปกติทางการค้าในการรับมอบสินค้า ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าไม่เสร็จสิ้น จะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อบริษัท อ. ตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิจากบริษัท อ. ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 ยังไม่พ้น 1 ปีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 624

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดชำระค่าเช่าค้างก่อนเลิกสัญญาเป็นเบี้ยปรับ ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดได้
ข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อที่ว่า ถ้าสัญญาต้องเลิกกันผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของ จนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 574 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้เองตามมาตรา 383 วรรคหนึ่งไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งเงินถึงศาลผู้มีอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290มีสาระสำคัญสองประการ ประการแรกเมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก กับให้เจ้าหนี้รายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นอีกประการหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นเนื่องจากมาตรา 290 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องไว้จึงได้บัญญัติไว้ในวรรคห้าว่าในกรณีอายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ และเป็นบทบัญญัติที่เชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่งจึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดทุ่งสงบังคับคดีตามหมายอายัดแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินที่ถูกอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ในระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังยึด/อายัด: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งมอบทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นได้ ซึ่งตามมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อมาตรา 290 วรรคหนึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ และวรรคห้าเป็นบทบัญญัติเชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่ง จึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุ่งสงซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับเงินที่อายัดจากลูกหนี้ของจำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541แล้วส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 18 มกราคม 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290: กำหนดเวลาและอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 290 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นได้ ซึ่งตามมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นในคดีนี้คือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อมาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ และวรรคห้าเป็นบทบัญญัติเชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่ง จึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุ่งสงซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับเงินที่อายัดจากลูกหนี้ของจำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 18 มกราคม 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตามกฎหมาย
of 98