พบผลลัพธ์ทั้งหมด 974 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทจากแชร์ที่ผิดกฎหมาย: แม้เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ แต่สัญญานิติกรรมเป็นโมฆะ ทำให้ไม่มีมูลหนี้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้เป็นนายวงจัดให้มีการเล่นแชร์ โจทก์เป็นกรรมการบริษัท ก. โจทก์ในนามบริษัทดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ร่วมเข้าเล่นแชร์ดังกล่าวรวม 2 วง ต่อมาโจทก์ประมูลแชร์ทั้งสองวงได้ และได้รับเช็คพิพาทรวม 2 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง ต่อมา เช็คพิพาททั้งสองฉบับถึงกำหนดชำระเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายแม้เช็คพิพาททั้งสองฉบับจะระบุจ่าย "บริษัท ก." แต่ก็มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเช็คผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้อง แต่แชร์ทั้งสองวงดังกล่าว มีนิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 5 นิติกรรมการเล่นแชร์ทั้งสองวง จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าธรรมเนียมฎีกาไม่ทันกำหนด และเหตุผลที่ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกายกคำสั่งรับฎีกา
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถาและกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาวางศาลภายในวันที่ 11 กรกฎาคม จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 13 กรกฎาคม ขออนุญาตวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาอ้างว่าเป็นช่วงเปิดเทอมซึ่งบุตรของจำเลยต้องใช้เงินมาก จำเลยติดต่อยืมเงินจากเพื่อนแล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ได้รับเงินตามที่ยืม จำเลยจึงเดินทางไปหาพี่ชายแต่พี่ชายไปทำงานต่างอำเภอ วันรุ่งขึ้นจึงพบและได้เงินมารวมกับเงินที่จำเลยมีอยู่แล้วนำมาวางศาล ดังนี้ เป็นกรณีที่ จำเลยไม่ขวนขวายหาเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาเสียแต่เนิ่น ๆ หาใช่เหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาตามคำร้องจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา จึงเห็นควรให้ยกคำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) และมาตรา 247 กรณีเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 142(5) ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องวางค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการอุทธรณ์คำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นมิได้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานจำเลย เนื่องจากจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในชั้นขอให้พิจารณาใหม่หลังมีคำพิพากษา ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำแถลงขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ และยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ หากจำเลยไม่เห็นด้วย ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 และมาตรา 229 แม้จะเป็นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ แต่เป็นการยื่นอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนท้ายรถยนต์หลายคัน ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ความประมาทของจำเลยเมื่อไม่ใช่ผู้ครอบครอง/ควบคุมยานพาหนะ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ก็ต่อเมื่อโจทก์มิใช่เป็นผู้ที่ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล เมื่อเหตุเกิดขึ้นจากรถยนต์ของโจทก์และจำเลยซึ่งกำลังแล่นชนกัน เป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่าย จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 437 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลย เป็นฝ่ายประมาท เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนกันระหว่างรถยนต์: ผู้ขับขี่ต้องพิสูจน์ความประมาทของอีกฝ่าย
เหตุรถชนเกิดขึ้นจากรถยนต์ของโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่ายแล่นชนกัน จึงมิใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาท เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การรับสภาพหนี้และการพิสูจน์ข้อต่อสู้ของจำเลย
จำเลยรับว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989 เมื่อจำเลยอ้างเหตุที่จะไม่ต้องรับผิดภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย แต่จำเลยไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ตามที่ให้การต่อสู้ โดยโจทก์มิต้องนำสืบแต่ประการใดเนื่องจากโจทก์ได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จะยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ หรือว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์จะถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเกี่ยวกับจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อใด?
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาและวงเงินไว้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีมาจนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2515 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี คงมีเพียงรายการดอกเบี้ยที่โจทก์คิดตามสัญญาตลอดมาจนถึงวันหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2517 แสดงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดโดยปริยายในวันที่ 26 ธันวาคม 2517 โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2517 แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 28 กรกฎาคม 2540 เกินกำหนด 10 ปี คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากบัญชีเดินสะพัด: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุดโดยปริยาย
การเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาและวงเงินไว้ จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีมาจนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2515 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี คงมีเพียงรายการดอกเบี้ยที่โจทก์คิดตามสัญญาตลอดมาจนถึงวันหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2517 แสดงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดโดยปริยายในวันที่ 26 ธันวาคม 2517 โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2517 แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 28 กรกฎาคม 2540 เกินกำหนด 10 ปี คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาประกันภัย: ภาระการพิสูจน์อยู่ที่จำเลยหากอ้างว่าไม่ใช่ลายมือชื่อผู้เอาประกัน
จำเลยรับว่าได้รับประกันชีวิตให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยในนาม "ส."แล้วแต่กล่าวอ้างว่าผู้ขอเอาประกันภัยตามคำขอเอกสารหมาย จ.15 และจ.16 ไม่ใช่ ส. ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อของ ส.ภาระการพิสูจน์ประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย เมื่อปรากฏว่าพยานจำเลยมีเพียงพนักงานของจำเลยเบิกความว่าจำเลยปฏิเสธคำขอเอาประกันภัยของ ส. ไปแล้ว ลายมือชื่อในคำขอเอาประกันภัยมิใช่ลายมือชื่อของ ส.โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบแล้ว แต่จำเลยมิได้นำผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความยืนยันความเห็นดังกล่าวต่อศาล ความเห็นเกี่ยวกับลายมือชื่อจึงมีเพียงคำเบิกความลอย ๆ ศาลฎีกาตรวจพิเคราะห์ลายมือชื่อในคำขอเอาประกันภัยเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของ ส. ในเอกสารอื่นหลายฉบับแล้ว ปรากฏว่าแม้แต่ลายมือชื่อที่แท้จริงของ ส. ในเอกสารแต่ละฉบับดังกล่าวยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปได้ว่ามิใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะด้านทำการตรวจพิสูจน์ แต่จำเลยก็หาได้นำผู้เชี่ยวชาญที่อ้างมานำสืบต่อศาลไม่ ส่วนข้อเท็จจริงอื่นที่อ้างว่าเป็นพิรุธ เช่น โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ ส. ได้เพียงสองวันก่อนการขอเอาประกันชีวิตหรือฐานะของโจทก์และ ส. เป็นต้น ก็ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังว่าส. มิได้เป็นผู้เอาประกันชีวิตต่อจำเลย