คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ น้าประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย, ครอบครองแทน, สิทธิในที่ดิน, การฟ้องบังคับตามสัญญา, ครอบครองปรปักษ์ (ไม่ได้)
จ.บิดาโจทก์ได้ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นเงิน 125,000 บาท แต่ชำระราคากันไว้เพียง 25,000 บาท ยังไม่ครบถ้วนราคาที่ดิน และมีข้อตกลงในสัญญาด้วยว่า ล.จะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้บิดาโจทก์เมื่อ ล.กลับจากต่างประเทศ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบเขตที่ดินเสียก่อนด้วย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นลักษณะสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ ล.จะมอบที่ดินพิพาทให้บิดาโจทก์ครอบครอง และบิดาโจทก์ได้มอบให้โจทก์ครอบครองแทนต่อมาก็ตาม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ล. การที่บิดาโจทก์และโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน ล.ดังนี้ การร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของ อ.และจำเลยที่ 4 ต่อศาลชั้นต้นก็ดีการกระทำของ อ.กับจำเลยที่ 4 ดังกล่าว รวมทั้งที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ.จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ.กับจำเลยที่ 4 และมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดการมรดกของ อ.ก็ดีจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ทั้งไม่ได้ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่า ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์และรับเงินราคาที่โจทก์วางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์ตลอดจนสอบแนวเขตที่ดินแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มุ่งประสงค์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยตรง โดยมิได้มีเจตนากล่าวถึงเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลจึงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: สัญญาจะซื้อขาย, การครอบครองแทน, และการครอบครองปรปักษ์
จ. บิดาโจทก์ได้ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นเงิน 125,000 บาท แต่ชำระราคากันไว้เพียง 25,000 บาท ยังไม่ครบถ้วนราคาที่ดินและมีข้อตกลงในสัญญาด้วยว่า ล. จะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้บิดาโจทก์เมื่อ ล. กลับจากต่างประเทศ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบเขตที่ดินเสียก่อนด้วย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นลักษณะสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ ล. จะมอบที่ดินพิพาทให้บิดาโจทก์ครอบครอง และบิดาโจทก์ได้มอบให้โจทก์ครอบครองแทนต่อมาก็ตาม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ล. การที่บิดาโจทก์และโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน ล.ดังนี้ การร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของ อ. และจำเลยที่ 4 ต่อศาลชั้นต้นก็ดีการกระทำของ อ. กับจำเลยที่ 4ดังกล่าว รวมทั้งที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ. กับจำเลยที่ 4และมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของอ. ก็ดีจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ทั้งไม่ได้ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่า ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์และรับเงินราคาที่โจทก์วางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์ตลอดจนสอบแนวเขตที่ดินแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มุ่งประสงค์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยตรงโดยมิได้มีเจตนากล่าวถึงเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลจึงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: สัญญาจะซื้อขาย, การครอบครองแทน, และการครอบครองปรปักษ์
จ. บิดาโจทก์ได้ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นเงิน125,000บาทแต่ชำระราคากันไว้เพียง25,000บาทยังไม่ครบถ้วนราคาที่ดินและมีข้อตกลงในสัญญาด้วยว่าล. จะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้บิดาโจทก์เมื่อล. กลับจากต่างประเทศและให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบเขตที่ดินเสียก่อนด้วยข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นลักษณะสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ล. จะมอบที่ดินพิพาทให้บิดาโจทก์ครอบครองและบิดาโจทก์ได้มอบให้โจทก์ครอบครองแทนต่อมาก็ตามกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของล. การที่บิดาโจทก์และโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนล.ดังนี้การร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของอ. และจำเลยที่4ต่อศาลชั้นต้นก็ดีการกระทำของอ. กับจำเลยที่4ดังกล่าวรวมทั้งที่จำเลยที่2ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยที่3เป็นผู้จัดการมรดกของอ. จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นของอ. กับจำเลยที่4และมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่3เป็นผู้จัดการมรดกของอ. ก็ดีจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่2ที่3และที่4 ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทั้งไม่ได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่าขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์และรับเงินราคาที่โจทก์วางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์ตลอดจนสอบแนวเขตที่ดินแก่โจทก์ด้วยเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มุ่งประสงค์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่1ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยตรงโดยมิได้มีเจตนากล่าวถึงเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ศาลจึงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค แม้แปลงหนี้เป็นสัญญากู้ยืม
จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์ แม้การออกเช็คของจำเลยดังกล่าวจะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 ก็ตาม แต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้น ย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 898, 900ในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าว เช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้
คดีนี้โจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็ค มาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืม และจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม จึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 แล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวได้
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า "บัญชีปิดแล้ว" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่แปลงจากหนี้เดิม แม้ไม่ใช่หนี้เดิมโดยตรง ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คได้
จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์แม้การออกเช็คของจำเลยดังกล่าวจะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ก็ตามแต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้นย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา898,900ในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าวเช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ได้ คดีนี้โจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4แล้วจำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินปรากฎว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า"บัญชีปิดแล้ว"แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้ทีการใช้เงินตามเช็คนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้เดิม แม้ไม่ใช่หนี้เดิมโดยตรง ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็คได้
แม้การที่จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์จะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายก็ตามแต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้นย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา898,900ซึ่งในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าวเช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากใช้เช็คฯมาตรา4ได้เมื่อปรากฎว่าต่อมาโจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินและธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินจึงถือว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้หลังแปลงหนี้เดิมเป็นสัญญากู้ยืม การปฏิเสธการจ่ายเงินถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์ แม้การออกเช็คของจำเลยดังกล่าวจะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ก็ตาม แต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้นย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898,900 ในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าว เช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ได้ คดีนี้โจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืม และจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม จึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 แล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินปรากฎว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า "บัญชีปิดแล้ว" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้ทีการใช้เงินตามเช็คนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาไม่โอนที่ดิน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและดอกเบี้ย
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศ ทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลย เช่นนี้จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดิน โจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ 3 ระบุว่า โจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญา ถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญา หาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่ ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จ และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน และเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้ แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว แต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญา เช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่เรียกเก็บจากโจทก์ แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไป เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้ และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่28 สิงหาคม 2534 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัย ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อย ที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศ ทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลย เช่นนี้ จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดิน โจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว
ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ 3 ระบุว่า โจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญา ถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญา หาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จ และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน และเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้ แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว แต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญา เช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองซื้อที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่เรียกเก็บจากโจทก์ แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไป เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้
โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้ และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2534 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัย ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและดอกเบี้ย
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลยเช่นนี้จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินโจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ3ระบุว่าโจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน30วันนับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญาถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้นเป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน30วันนับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญาหาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่ ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จและโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน6เดือนนับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้วดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันและเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้วแต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญาเช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่เรียกเก็บจากโจทก์แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตามแต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไปเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่23พฤษภาคม2534ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่28สิงหาคม2534บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่28สิงหาคม2534โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่28สิงหาคม2534เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อยที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143วรรคแรก
of 41