คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ น้าประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ หากเป็นรายละเอียดของการกระทำผิดที่ชัดเจน และยังไม่ถึงขั้นพิพากษา
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วจำเลยที่2ได้ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดโดยมิได้อ้างฐานที่อยู่แต่ประการใดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากข้อความว่า"เมื่อวันที่21มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"เป็นเมื่อวันที่21มีนาคม2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"จึงเป็นการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีมิใช่เป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องได้โดยจำเลยที่2มิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้แต่ประการใดอีกทั้งในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษาคดีจึงนับว่ามีเหตุอันควรที่จะอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10133/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาและเอกสารประกอบ: พยานบุคคลจำเป็นสำหรับเอกสารโต้ตอบจากต่างประเทศ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษตามสัญญาว่าจ้างที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานโครงการก่อสร้างวางท่อก๊าซธรรมชาติที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับงานก่อสร้างมาจาก ก. จำเลยที่ ๑ ให้การว่า โจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์เป็นเพียงถูกยืมชื่อให้มาเป็นคู่สัญญากับจำเลย คู่สัญญากับจำเลยที่แท้จริงและผู้ที่ทำงานให้แก่จำเลยคือ ซ.ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงาน และจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษให้โจทก์ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว
การที่คู่ความฝ่ายใดจะอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานในคดี คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบถึงความแท้จริงและความมีอยู่ซึ่งเอกสารนั้น ๆ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารที่อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารโต้ตอบทางโทรสารทางไกลจากต่างประเทศซึ่งทั่วโลกยอมรับฟังให้เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลมานำสืบนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10133/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาจ้างและข้อตกลงการจ่ายโบนัส จำเป็นต้องมีพยานบุคคลยืนยันความแท้จริงของเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษตามสัญญาว่าจ้างที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงาน โครงการก่อสร้างวางท่อก๊าซธรรมชาติที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับงานก่อสร้างมาจาก ก.จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์เป็นเพียงถูกยืมชื่อให้มาเป็นคู่สัญญากับจำเลย คู่สัญญากับจำเลยที่แท้จริงและผู้ที่ทำงานให้แก่จำเลยคือ ซ. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานและจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษให้โจทก์ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว การที่คู่ความฝ่ายใดจะอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานในคดี คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบถึงความแท้จริงและความมีอยู่ซึ่งเอกสารนั้น ๆ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารที่อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารโต้ตอบทางโทรสารทางไกลจากต่างประเทศซึ่งทั่วโลกยอมรับฟังให้เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลมานำสืบนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10133/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาและการรับผิดในสัญญาจ้างเหมา โจทก์ต้องมีหลักฐานยืนยันการทำสัญญาและข้อตกลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษตามสัญญาว่าจ้างที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานโครงการก่อสร้างวางท่อก๊าซธรรมชาติที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับงานก่อสร้างมาจากก.จำเลยที่1ให้การว่าโจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโจทก์เป็นเพียงถูกยืมชื่อให้มาเป็นคู่สัญญากับจำเลยคู่สัญญากับจำเลยที่แท้จริงและผู้ที่ทำงานให้แก่จำเลยคือซ. ไม่ใช่โจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาดังนี้โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานและจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษให้โจทก์ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว การที่คู่ความฝ่ายใดจะอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานในคดีคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบถึงความแท้จริงและความมีอยู่ซึ่งเอกสารนั้นๆเว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับแล้วดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าเอกสารที่อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารโต้ตอบทางโทรสารทางไกลจากต่างประเทศซึ่งทั่วโลกยอมรับฟังให้เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลมานำสืบนั้นจึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10132/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาที่ใช้ในการกู้ยืมเงิน การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมายแต่จำเลยไม่ทราบการฟ้อง
จำเลยที่ ๑ ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่ ๒ ได้ย้ายไปอยู่ ณ ที่บ้านเลขที่ ๖๕ หมู่ที่ ๘ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ แต่ขณะที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์และจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองได้ระบุภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไว้ตรงกับหลักฐานทางทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และหลักฐานทางทะเบียนบ้าน โดยมิได้ระบุภูมิลำเนาเลขที่๖๕ ดังกล่าวไว้ในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกัน ทั้งที่จำเลยที่ ๑ ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่ ๒ ได้ย้ายไปอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๖๕ นั้นแล้ว แต่ก็มิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ ๑ ดังนี้ถือว่าจำเลยที่ ๑ มีภูมิลำเนา๒ แห่ง คือตามที่ได้จดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ได้ประกอบกิจการแท้จริงส่วนจำเลยที่ ๒ ซึ่งมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ ๑ ด้วย ถือว่ามีภูมิลำเนาณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ระบุในทะเบียนบ้าน ถือว่าจำเลยที่ ๒ มีภูมิลำเนา ๒ แห่ง คือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ ๑ และที่จำเลยที่ ๑ ประกอบกิจการแท้จริง
เมื่อจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่ ๓๔/๑ หมู่ที่ ๔ ตำลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นภูมิลำเนาในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้เลือกเอาบ้านเลขที่ ๓๔/๑ ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาสำหรับการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันกับโจทก์ การที่เจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ ๓๔/๑ จึงเป็นการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง หมายนัดและคำบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้อยู่ที่ภูมิลำเนาดังกล่าว และจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ดังนี้ แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/คำฟ้องไปยังภูมิลำเนาที่ไม่ถูกต้อง และผลกระทบต่อการขาดนัดยื่นคำให้การ/พิจารณาคดี
จำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่2 ได้ย้ายไปอยู่ ณ ที่บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 8 ตำบลเชียงรากน้อยอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองได้ระบุภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไว้ตรงกับหลักฐานทางทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และหลักฐานทางทะเบียนบ้าน โดยมิได้ระบุภูมิลำเนาเลขที่ 65 ดังกล่าวไว้ในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกัน ทั้งที่จำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่ 2 ได้ย้ายไปอยู่ ณ บ้านเลขที่65 นั้นแล้ว แต่ก็มิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ดังนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนา 2แห่ง คือตามที่ได้จดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ได้ประกอบกิจการแท้จริง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วย ถือว่ามีภูมิลำเนา ณภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ระบุในทะเบียนบ้าน ถือว่าจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนา 2 แห่ง คือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1ประกอบกิจการแท้จริง เมื่อจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 4ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นภูมิลำเนาในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้เลือกเอาบ้านเลขที่ 34/1 ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาสำหรับการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันกับโจทก์การที่เจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ 34/1 จึงเป็นการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง หมายนัดและคำบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้อยู่ที่ภูมิลำเนาดังกล่าว และจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ดังนี้แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10132/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาที่ไม่ถูกต้องและการไม่ทราบถึงการถูกฟ้องเป็นเหตุให้ไม่ถือว่าจงใจขาดนัด
จำเลยที่1ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่2ได้ย้ายไปอยู่ณที่บ้านเลขที่65หมู่ที่8ตำบลเชียงรากน้อยอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ปีพ.ศ.2531แต่ขณะที่จำเลยที่1ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์และจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยทั้งสองได้ระบุภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไว้ตรงกับหลักฐานทางทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและหลักฐานทางทะเบียนบ้านโดยมิได้ระบุภูมิลำเนาเลขที่65ดังกล่าวไว้ในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันทั้งที่จำเลยที่1ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่2ได้ย้ายไปอยู่ณบ้านเลขที่65นั้นแล้วแต่ก็มิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1ดังนี้ถือว่าจำเลยที่1มีภูมิลำเนา2แห่งคือตามที่ได้จดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ได้ประกอบกิจการแท้จริงส่วนจำเลยที่2ซึ่งมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ด้วยถือว่ามีภูมิลำเนาณภูมิลำเนาของจำเลยที่1ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ระบุในทะเบียนบ้านถือว่าจำเลยที่2มีภูมิลำเนา2แห่งคือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1และที่จำเลยที่1ประกอบกิจการแท้จริง เมื่อจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่34/1หมู่ที่4ตำบลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเป็นภูมิลำเนาในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้เลือกเอาบ้านเลขที่34/1ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาสำหรับการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันกับโจทก์การที่เจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่34/1จึงเป็นการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องหมายนัดและคำบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วแต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้อยู่ที่ภูมิลำเนาดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องดังนี้แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9374/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอที่ราชพัสดุคืนหลังโอนให้ อบต. และระยะเวลาการนับสิทธิในการขอคืน
โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นองค์การปกครองท้องถิ่นเพื่อสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม2522 ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งไม่ใช้บังคับกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดินพิพาทเริ่มเป็นที่ราชพัสดุเมื่อพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2523 ซึ่งเป็นไปโดยผลของพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 ก่อน การเริ่มนับระยะเวลายื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อ 3 จึงต้องเริ่มนับเมื่อที่ดินพิพาทมีฐานะเป็นที่ราชพัสดุ และทางราชการมิได้ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในสิบปีคือภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2533 โจทก์จึงมีสิทธิยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9279/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวทางอาญา: การกระทำตอบโต้เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้เริ่มทำร้ายก่อน
โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 295 โจทก์และจำเลยที่ 2อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามมาตรา 297 โจทก์จึงฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2ตามมาตรา 297 อีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ผู้เสียหายเดินเข้าไปพูดห้ามมิให้จำเลยที่ 2 โทรศัพท์ติดต่อกับ ส. พี่ชายผู้เสียหายซึ่งเป็นสามีเก่าของจำเลยที่ 2 ต่อหน้าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนรักใหม่ของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไม่พอใจเพราะเท่ากับเป็นการอ้างว่าจำเลยที่ 2 ยังคงติดต่อกับ ส. อยู่อาจทำให้จำเลยที่ 1เข้าใจผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงด่าว่าผู้เสียหาย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เริ่มก่อให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น การที่ผู้เสียหายตบหน้าจำเลยที่ 2 จำนวน 1 ครั้ง และใช้ขวดเปล่าทุบกับโต๊ะจนขวดแตกปลายแหลมคมเป็นอาวุธแทงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2จึงได้ยกหัวเตาแก๊สขึ้นทุ่มใส่ผู้เสียหายและใช้ขวดน้ำอัดลมตีศีรษะ ผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายยกแขนขวาขึ้นรับขวดถูกบริเวณนิ้วก้อยขวา ได้รับบาดเจ็บและขวดน้ำอัดลมตกกระแทกกับโต๊ะแตกกระจาย เศษแก้วกระเด็นขึ้นมาถูกนิ้วกลางขวาของผู้เสียหายมีบาดแผล เลือดไหล การกระทำของจำเลยที่ 2 มีลักษณะติดพันต่อเนื่องกับ การที่ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2 ก่อน ถือว่าเป็นการป้องกันตัวให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและกระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9257/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขเล็กน้อยฐานความผิดเดิม, ลงโทษบทหนักเดิม, ไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ5 ปี และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) รวม 2 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 14 ปี ลดโทษหนึ่งในสามคงจำคุก9 ปี 4 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,162(1) ให้ลงโทษบทหนักตามมาตรา 147 รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปีรวมจำคุก 10 ปี ลดโทษหนึ่งในสามคงจำคุก 6 ปี 8 เดือนเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เพียงว่า เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยรวม 2 กระทงเช่นเดิมกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้าม ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
of 41