พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีไม่จ่ายค่าจ้าง: เจ้าหน้าที่แรงงานร้องทุกข์แทนลูกจ้างได้ แม้ลูกจ้างมิได้ร้องทุกข์เอง
ความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้างเป็นกรณีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ซึ่งลูกจ้างซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ด้วยตนเองเมื่อปรากฎว่าเจ้าหน้าที่แรงงานผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้ร้องทุกข์ไว้แล้วพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีค่าจ้าง: เจ้าหน้าที่แรงงานร้องทุกข์แทนลูกจ้างได้
ความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้าง เป็นกรณีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ซึ่งลูกจ้างซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ด้วยตนเอง เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่แรงงานผูัมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7029/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินจากใบรับเงินและการมีหนี้โดยปริยาย
ใบรับเงินพิมพ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมด มีชื่อบริษัทโจทก์ที่หัวกระดาษ ถัดลงมาเป็นช่องจ่ายให้แก่ใคร ซึ่งได้กรอกชื่อจำเลย ถัดลงมาเป็นช่องCREDIT A/C CODE ... DATE 4-12-92 ถัดลงมาเป็นช่องกรอกรายการและจำนวนเงิน มีกรอกรายการเป็นอักษรภาษาไทยว่า "ได้รับเงินแล้วจำนวน" และกรอกจำนวนเงินเป็นตัวอักษรและตัวเลขว่า "สามแสนบาทถ้วน" และ "300,000"มุมล่างด้านขวามือมีช่องสำหรับลงชื่อผู้รับเงิน มีลายเซ็นผู้รับเงินปรากฏอยู่ในช่องดังกล่าว ซึ่งคำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเงิน จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานว่า จำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวน 300,000 บาท โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจำนวนนี้ไปจากโจทก์จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อต่อสู้ว่าเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวคืนโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ จึงถือได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7029/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินพร้อมลายมือชื่อ ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ หากจำเลยไม่โต้แย้งการรับเงินและไม่มีเหตุไม่ต้องรับผิด
ใบรับเงินพิมพ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดมีชื่อบริษัทโจทก์ที่หัวกระดาษถัดลงมาเป็นช่องจ่ายให้แก่ใครซึ่งได้กรอกชื่อจำเลยถัดลงมาเป็นช่องCREDITA/CCODEDATE4-12-92ถัดลงมาเป็นช่องกรอกรายการและจำนวนเงินมีกรอกรายการเป็นอักษรภาษาไทยว่า"ได้รับเงินแล้วจำนวน"และกรอกจำนวนเงินเป็นตัวอักษรและตัวเลขว่า"สามแสนบาทถ้วน"และ"300,000"มุมล่างด้านขวามือมีช่องสำหรับลงชื่อผู้รับเงินมีลายเซ็นผู้รับเงินปรากฎอยู่ในช่องดังกล่าวซึ่งคำฟ้องระบุว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเงินจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวน300,000บาทโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจำนวนนี้ไปจากโจทก์จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์โดยไม่ปรากฎข้อต่อสู้ว่าเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวคืนโจทก์ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์จึงถือได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6457/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นฝ่าฝืนกฎหมาย, อายุความจำนอง, สิทธิบังคับจำนอง
ตามคำขอกู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โจทก์ได้ระบุวัตถุประสงค์จะขอกู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากจำเลยจำนวน 984,000 บาท โดยขอนำที่ดินจำนองเป็นประกัน กำหนดชำระคืนภายใน 120 เดือน เดือนละ 16,400 บาทซึ่งต่อมาก็มีการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลย โดยโจทก์จำนองที่ดิน เป็นประกันจึงเป็นเรื่องสัญญากู้ยืมเงินธรรมดา แม้ตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระบุข้อความว่า ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ยอมส่งเงินดอกเบี้ยทุก ๆ เดือนเสมอไป ถ้าผิดนัดชำระดอกเบี้ยยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างทบเข้าในบัญชีของผู้จำนองด้วย ก็เห็นได้ว่า โจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบหนี้ในทางบัญชีเดินสะพัดได้ ส่วนบัญชีที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทำบัญชีเพื่อประสงค์จะทราบว่าโจทก์กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด หาใช่บัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัดไม่ เมื่อบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความว่า ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจึงจะนำมาทบเข้ากับต้นเงิน แล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น กรณีต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงิน ข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายข้างต้นตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
หนี้กู้ยืมที่สัญญาจำนองประกันอยู่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 แต่กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
หนี้กู้ยืมที่สัญญาจำนองประกันอยู่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 แต่กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการขอเฉลี่ยทรัพย์สินสามีภรรยาและการนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภรรยากัน ผู้ร้องได้อ้างในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกแล้วว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้ง 6 รายการเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์มิได้คัดค้าน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อยู่ด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สิน ระยะเวลา 14 วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม 6 รายการ ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม 4 รายการ ในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีก แม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 2 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 หมดไป เพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สิน ระยะเวลา 14 วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม 6 รายการ ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม 4 รายการ ในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีก แม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 2 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 หมดไป เพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์สินจากบังคับคดี กรณีทรัพย์สินเป็นสินสมรส แม้มีการขายทอดตลาดหลายครั้ง
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่1แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่1และที่2เป็นสามีภรรยากันผู้ร้องได้อ้างในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกแล้วว่าจำเลยที่1และที่2เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้ง6รายการเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่1และที่2ถือว่าจำเลยที่1มีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่1กับที่2อยู่ด้วยผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสี่ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา14วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สินระยะเวลา14วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม6รายการซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม4รายการในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สองดังนั้นเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมดผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกแม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่2ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา14วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่2ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1หมดไปเพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6014/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาไม่ลงนาม แม้จะมีการเสนอราคาและทำสัญญาเบื้องต้น
โจทก์ยื่นซองประกวดราคาเสนอขายเครื่องดูดฝุ่นให้จำเลยต่อมาจำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์ไปทำสัญญา โจทก์ส่งผู้แทนไปลงนามในสัญญาซื้อขายแล้ว แต่ผู้อำนวยการของจำเลยยังไม่ลงนามเนื่องจากยังมีการต่อรองราคากันอยู่และปรากฏเงื่อนไขในการประกวดราคาว่า ถ้าโจทก์ไม่ไปทำสัญญากับจำเลยจำเลยจะริบหลักประกัน แสดงว่าสัญญาที่มุ่งจะทำนี้จะต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยยังไม่ลงนามในสัญญา ต้องถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง สัญญาซื้อขายจึงยังไม่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5965/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การขอไถ่ถอนไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครอง
ฝ่ายจำเลยเคยขอไถ่ถอนการขายฝากก่อนครบกำหนด แต่โจทก์ ไม่ยอมให้ไถ่เป็นกรณีโจทก์ผิดสัญญา ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยจะเอาที่ดินพิพาท เป็นของจำเลยเองแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่ดินราชพัสดุ: การโต้แย้งเรื่องอำนาจฟ้องและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยได้เช่าจากโจทก์เพื่อปลูกสร้างร้านขายอาหารในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,500 บาท กับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายก่อนฟ้องรวมเป็นเงิน 67,500 บาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่ทางราชการสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง