คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ น้าประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5813/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 และการคำนวณดอกเบี้ยค่าเสียหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้เมื่อผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใดผู้รับประกันภัยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันเมื่อผู้เอาประกันยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 และหรือผู้มีชื่อซึ่งมีข้อสัญญาว่า จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกอันเกิดจากการใช้รถยนต์คันดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ ส.บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาจำต้องบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับ ย. ผู้เอาประกันภัยอย่างไร และจำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัย แต่อย่างใดไม่ และการที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ศาลจะพิเคราะห์จากคำฟ้อง มิได้พิเคราะห์จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการพิจารณามาวินิจฉัยแต่อย่างใด เมื่อฟ้องของโจทก์มีสาระครบถ้วนแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ฎีกาจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพราะข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ย.ผู้เอาประกันภัยยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อ ย.ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดด้วยนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันมาเป็นยุติแล้วว่า ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนและมีความเสียหายเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาประกันภัยจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเคลือบคลุมและขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยในคดีละเมิด กรณีผู้ขับขี่ได้รับอนุญาต
โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่2และหรือผู้มีชื่อซึ่งมีข้อสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกอันเกิดจากการใช้รถยนต์คันดังกล่าวแทนจำเลยที่1และที่2โดยไม่จำกัดจำนวนจำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่2โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ส. บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตายจำเลยที่1ที่2และที่3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาจำต้องบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยที่1มีความสัมพันธ์กับย. ผู้เอาประกันภัยอย่างไร่และจำเลยที่3มีนิติสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใดไม่และการที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นศาลจะพิเคราะห์จากคำฟ้องมิได้พิเคราะห์จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎจากการพิจารณามาวินิจฉัยแต่อย่างใดไม่เมื่อฟ้องของโจทก์มีสารครบถ้วนแล้วจึงไม่เคลือบคลุม ฎีกาจำเลยที่3ว่าจำเลยที่3ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพราะข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าย. ผู้เอาประกันภัยยอมให้จำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเมื่อย. ไม่ต้องรับผิดจำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดด้วยนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันมาเป็นยุติแล้วว่าผู้เอาประกันยินยอมให้จำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนและมีความเสียหายเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ตามข้อตกลงในสัญญาประกันภัยจำเลยที่3จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยฎีกาของจำเลยที่3จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจัดการมรดก, การแบ่งทรัพย์มรดก, สิทธิส่วนแบ่งราคาขาย, การซื้อขายโดยชอบ
จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนบ้านและที่พิพาทแก่จำเลยที่1ในนามจำเลยที่1เป็นผู้รับมรดกเองเพื่อความสะดวกในการที่จะขายเอาเงินมาแบ่งปันกันยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเสร็จสิ้นการจัดการมรดกจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อได้แบ่งเงินราคาขายกันแล้วเมื่อยังไม่ได้แบ่งเงินราคาขายแก่ทายาทการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้นลงอายุความยังไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสอง จำเลยที่1ขายบ้านและที่ดินทรัพย์มรดกให้จำเลยที่2โดยชอบไม่อาจเพิกถอนได้โจทก์จึงไม่อาจขอให้ใส่ชื่อโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของคงมีสิทธิเพียงได้รับส่วนแบ่งเงินค่าขายทรัพย์มรดกดังกล่าวตามราคาที่ขายไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายก่อนกำหนดและการคืนเงินมัดจำ กรณีจำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามสัญญา
วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะซื้อขายว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ ไม่มีพฤติการณ์ให้เห็นว่าระยะเวลาในการจัดหาทางภาระจำยอมให้ได้ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2534 ของจำเลยเป็นสาระสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับตามสัญญา ซึ่งหากล่าช้าไปแล้วย่อมเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 387 กล่าวคือ เมื่อจำเลยผิดสัญญายังไม่สามารถจัดหาทางภาระจำยอมให้แก่ที่ดินพิพาทได้ตามสัญญา เป็นการไม่ชำระหนี้ในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตน ซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดระยะเวลาโอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ด้วย โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยจัดหาทางภาระจำยอมให้ได้ โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อน ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว โจทก์จึงจะเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขาย การบอกเลิกสัญญาของทนายความโจทก์ต่อจำเลยตามเอกสารหมาย จ.20 ถึง จ.25 จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 5,000,000 บาท และเงินค่าที่ดินที่จำเลยเบิกล่วงหน้าไปจากโจทก์ก่อน 2,000,000 บาท เพราะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยไว้ตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, ทางภารจำยอม, การบอกเลิกสัญญา, หน้าที่ของคู่สัญญา, การชำระค่าปรับ
วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะซื้อขายว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ไม่มีพฤติการณ์ให้เห็นว่าระยะเวลาในการจัดหาทางภารจำยอมให้ได้ภายในวันที่11พฤศจิกายน2534ของจำเลยเป็นสาระสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับตามสัญญาซึ่งหากล่าช้าไปแล้วย่อมเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387กล่าวคือเมื่อจำเลยผิดสัญญายังไม่สามารถจัดหาทางภารจำยอมให้แก่ที่ดินพิพาทได้ตามสัญญาเป็นการไม่ชำระหนี้ในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตนซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดระยะเวลาโอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ด้วยโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยจัดหาทางภารจำยอมให้ได้โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อนถ้าจำเลยไม่ดำเนินการให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะเลิกสัญญาได้เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายการบอกเลิกสัญญาของทนายความโจทก์ต่อจำเลยตามเอกสารหมายจ.20ถึงจ.25จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำ5,000,000บาทและเงินค่าที่ดินที่จำเลยเบิกล่วงหน้าไปจากโจทก์ก่อน2,000,000บาทเพราะเป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยไว้ตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินมัดจำซื้อขายรถยนต์ เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดส่งมอบรถ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน2535จำเลยมีสิทธิที่จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าวดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้วคือเริ่มนับในวันที่1ธันวาคม2535อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายยุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำซื้อขายรถยนต์ เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดส่งมอบ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน 2535 จำเลยมีสิทธิที่จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้ การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้วคือเริ่มนับในวันที่ 1 ธันวาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขาย: เริ่มนับเมื่อผิดนัดส่งมอบ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน 2535 จำเลยมีสิทธิที่จะส่บมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้ การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้ว คือเริ่มนับในวันที่ 1ธันวาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ระยะเวลาต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิม
แม้ บ.ครอบครองที่ดินโดยมิได้มีการยื้อแย่งจากผู้อื่น หาก ป.ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทก่อนขายให้ผู้ร้อง ผู้ร้องก็สามารถนับระยะเวลาการครอบครองติดต่อกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1385
of 41