พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9165/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายและครอบครองยาเสพติดเป็นกรรมเดียว ศาลฎีกายกประเด็นกฎหมายเพื่อวินิจฉัยเอง
หลังจากสายลับได้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน8เม็ดจากจำเลยแล้วเจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าไปตรวจค้นบ้านจำเลยพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน3เม็ดซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอดทั้งเมทแอมเฟตามีนจำนวน8เม็ดและ3เม็ดไม่ปรากฏว่าต่างชนิดกันและมีน้ำหนักใกล้เคียงกันจึงฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนทั้ง11เม็ดเป็นจำนวนเดียวกันการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน3เม็ดในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกับที่จำเลยขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน8เม็ดไปนั้นตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน3เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อขายนั่นเองซึ่งการขายหรือมีไว้เพื่อขายเป็นความผิดอย่างเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวคือการขายปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8276/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องจดทะเบียน การให้ยืมโฉนดไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากป.ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทมิได้อาศัยสิทธิของป.จำเลยส.อ.และป.เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแต่ให้ใส่ชื่อป.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ขอยืมโฉนดที่ดินจากป.และจำเลยเพื่อนำไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากธนาคารและเพื่อความสะดวกในการดำเนินการจึงเปลี่ยนชื่อในโฉนดจากป.มาใส่ชื่อโจทก์แทนคดีจึงมีประเด็นพิพาทเพียงว่าการที่ป.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้นศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าป.ไม่มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพียงแต่ต้องการให้โจทก์ยืมโฉนดไปจำนองเท่านั้นผลจึงมีว่าป.ไม่ได้ให้ที่ดินแก่โจทก์คดีไม่มีประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยว่าป.แสดงเจตนายกให้ตอนที่ป.เบิกความต่อศาลอีกการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต่อไปว่าในการสืบพยานป.เบิกความว่าป.เต็มใจที่จะยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แสดงว่าหลังจากนั้นป.ได้เปลี่ยนใจยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ซึ่งปรากฏว่าป.ได้จดทะเบียนยกให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่ตอนแรกจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนการให้อีกถือว่าไม่สมบูรณ์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้นั้นเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8276/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: เจตนาที่แท้จริงของผู้ให้ และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจาก ป. ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท มิได้อาศัยสิทธิของ ป. จำเลย ส.อ. และ ป.เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท แต่ให้ใส่ชื่อ ป.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ขอยืมโฉนดที่ดินจาก ป.และจำเลยเพื่อนำไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากธนาคาร และเพื่อความสะดวกในการดำเนินการจึงเปลี่ยนชื่อในโฉนดจาก ป. มาใส่ชื่อโจทก์แทน คดีจึงมีประเด็นพิพาทเพียงว่า การที่ ป.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ป.ไม่มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เพียงแต่ต้องการให้โจทก์ยืมโฉนดไปจำนองเท่านั้น ผลจึงมีว่า ป.ไม่ได้ให้ที่ดินแก่โจทก์ คดีไม่มีประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยว่า ป.แสดงเจตนายกให้ตอนที่ ป.เบิกความต่อศาลอีก การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต่อไปว่า ในการสืบพยาน ป.เบิกความว่า ป.เต็มใจที่จะยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แสดงว่าหลังจากนั้น ป.ได้เปลี่ยนใจยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ ซึ่งปรากฏว่า ป.ได้จดทะเบียนยกให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่ตอนแรก จึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนการให้อีกถือว่าการให้สมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8267/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทนทายาท ต้องแบ่งปันให้ทายาทตามสิทธิ
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาทคือโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ตามป.พ.พ.มาตรา 1720 ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสองแปลงไว้ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วยตลอดมา จำเลยจะอ้างว่าจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่ผู้เดียวโดยจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือหาได้ไม่ หากจำเลยประสงค์จะครอบครองที่ดินแต่ผู้เดียว จำเลยจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจะไม่ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีสิทธิอ้างอายุความมรดกขึ้นต่อสู้เพื่อที่จะบอกปัดไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ และเมื่อถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแทนโจทก์ด้วยตลอดมาเช่นนี้แล้วคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8267/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก การครอบครองทรัพย์สินแทนทายาท และการแบ่งมรดกเมื่อมีทายาทจำกัด
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาทคือโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1720 ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสองแปลงไว้ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วยตลอดมา จำเลยจะอ้างว่าจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่ผู้เดียวโดยจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือหาได้ไม่ หากจำเลยประสงค์จะครอบครองที่ดินแต่ผู้เดียว จำเลยจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจะไม่ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีสิทธิอ้างอายุความมรดกขึ้นต่อสู้เพื่อที่จะบอกปัดไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ และเมื่อถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแทนโจทก์ด้วยตลอดมาเช่นนี้แล้วคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความมรดก โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8266/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมีข้อจำกัดการโอนสิทธิ: สิทธิครอบครองยังไม่สมบูรณ์ ทำให้การซื้อขายและการครอบครองเพื่อตนเองไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ที่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 (พ.ศ.2515) ข้อ 6 ที่บังคับใช้ในกรณีนี้ในระยะเวลาที่ห้ามโอนนั้นถือได้ว่ารัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์คงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นเมื่อบิดาโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ แม้จะรับฟังว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลย ก็ไม่มีผลตามกฎหมายจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8266/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมีข้อห้ามโอน สิทธิครอบครองไม่เกิด จำเลยไม่มีสิทธิได้มาโดยการครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ที่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่ 334(พ.ศ.2515) ข้อ 6 ที่บังคับใช้ในกรณีนี้ในระยะเวลาที่ห้ามโอนนั้นถือได้ว่ารัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์คงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นเมื่อบิดาโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1377,1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ แม้จะรับฟังว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลย ก็ไม่มีผลตามกฎหมายจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเองจำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นและสัญญาต่างตอบแทน: ความชัดเจนในการฟ้องร้องและการปฏิบัติหนี้
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามเข้าหุ้นกับจำเลยทั้งสามทำกิจการปั้นจั่นรับจ้างทั่วไป ต่อมา น. และจำเลยทั้งสามตกลงกันว่า น. ขอคืนหุ้นปั้นจั่นและหุ้นในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยทั้งสามและจำเลยทั้งสามจะคืนเงินค่าหุ้นจำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น3 งวดให้แก่ให้ น. ดังนี้ ข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แบ่งแยกราคาตามประเภทของหุ้น คงเรียกร้องรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสามไม่ชำระราคาค่าหุ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น คดีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแยกราคาตามประเภทของหุ้น จึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้น มีข้อสัญญาว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้ น. จำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น 3 งวด และ น. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วน ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน
บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้น มีข้อสัญญาว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้ น. จำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น 3 งวด และ น. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วน ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหุ้น: การชำระหนี้ค่าหุ้นและการโอนหุ้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องบรรยายฟ้องว่าน. บิดาของโจทก์ทั้งสามเข้าหุ้นกับจำเลยทั้งสามทำกิจการปั้นจั่นรับจ้างทั่วไปต่อมาน. และจำเลยทั้งสามตกลงกันว่าน. ขอคืนหุ้นปั้นจั่่นและหุ้นในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสามจะคืนเงินค่าหุ้นจำนวน600,000บาทโดยแบ่งชำระเป็น3งวดให้แก่ให้น. ดังนี้ข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แบ่งแยกราคาตามประเภทของหุ้นคงเรียกร้องรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสามไม่ชำระราคาค่าหุ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้นคดีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแยกราคาตามประเภทของหุ้นจึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้นมีข้อสัญญาว่าน. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้น. จำนวน600,000บาทโดยแบ่งชำระเป็น3งวดและน. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วนดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8062/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และความรับผิดของผูกพันสัญญาค้ำประกัน/จำนอง
โจทก์นำคดีแพ่งมาฟ้องจำเลยที่1หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีล้มละลายที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่ซึ่งมีผลให้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ก็ตามก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ซึ่งไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1กลับมีอำนาจฟ้องขึ้นอีกโดยอาศัยเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันยื่นคำฟ้องนั้น จำเลยที่2เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันและจำนองทรัพย์สินของตนประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกของจำเลยที่1ต่อโจทก์จำเลยที่3เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่2ของจำเลยที่1ต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3มิได้เป็นลูกหนี้ที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายล้มละลายที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งและแม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ก็ไม่มีผลกระทบถึงความรับผิดของจำเลยที่2และที่3ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองจำเลยที่2และที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์