พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5080/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นและการได้มาซึ่งของกลาง: พฤติการณ์ที่ไม่พิรุธและการรับฟังพยานหลักฐาน
พฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยหยิบสิ่งของผิดกฎหมายออกมาจากกระเป๋ากางเกงของจำเลยโดยที่ตนไม่ตรวจค้นเสียเอง นับเป็นการกระทำที่รอบคอบ อันเป็นการป้องกันข้อกล่าวหาเรื่องเจ้าพนักงานตำรวจกลั่นแกล้งผู้ถูกจับอันอาจเกิดขึ้นได้ อีกทั้งสิ่งของผิดกฎหมายดังกล่าวจำเลยก็ไม่จำต้องขว้างทิ้งหรือทำลายเสียก่อนถูกจับเสมอไปเพราะเป็นเหตุผลส่วนตัวของผู้กระทำความผิดแต่ละรายซึ่งไม่เหมือนกัน พฤติการณ์ดังกล่าวจึงไม่เป็นพิรุธแก่ คดีโจทก์ บันทึกการจับกุมเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดทำขึ้นไม่มีบทบัญญัติหรือกฎข้อบังคับใดกำหนดให้ผู้ต้องหาลงชื่อกำกับในกรณีมีการตกเติมข้อความในบันทึกดังกล่าว ประกอบกับพยานโจทก์ผู้จับกุมจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่ อันถือเสมือนว่าเป็นพยานคนกลาง จึงไม่มีข้อระแวงสงสัยในพฤติการณ์ว่าจะบิดเบือนความจริงหรือดำเนินการในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลย พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: เหตุผลการแบ่งทรัพย์สินไม่เป็นธรรม และการไม่ทำบัญชีมรดก
ที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ขณะที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกแบ่งที่ดินจำนวน 5 แปลง ให้แก่ทายาท 5 คนแต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ เมื่อเจ้ามรดกตายลงผู้จัดการมรดกกลับไม่โอนที่ดินตามที่ได้แบ่งไว้ดังกล่าวให้แก่ทายาทแต่ได้จัดการรวมและแบ่งที่ดินใหม่หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้จัดการมรดกได้โอนขายที่ดินซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขออายัดไว้แล้วเป็นจำนวนเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของที่ดินมรดก ทั้งไม่นำเงิน ที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทฝ่ายผู้คัดค้าน ส่อเจตนาทุจริต ในการจัดการกองมรดก สมควรสั่งถอนผู้จัดการมรดกนั้น เป็นข้อที่มิได้ปรากฏในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตกลงแบ่งปันที่ดินมรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ ได้หมดแล้ว คงเหลือแต่ส่วนแบ่งของผู้คัดค้าน ซึ่งไม่ตกลงกัน โดยผู้คัดค้านอ้างว่าส่วนแบ่งของตนไม่เป็นธรรม จึงเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกมิได้เพิกเฉยต่อหน้าที่ส่วนการที่ผู้จัดการมรดกไม่ได้จัดทำบัญชี ทรัพย์มรดกในเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่เหตุที่จะต้องถอน จากการเป็นผู้จัดการมรดกเสมอไป และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกโดยไม่สุจริตทั้งได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทส่วนมากไปแล้ว แสดงว่าได้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอดพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการกองมรดกและการถอนผู้จัดการมรดก: การแบ่งทรัพย์สินไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติหน้าที่
ที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ขณะที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ เจ้ามรดกแบ่งที่ดินจำนวน 5 แปลง ให้แก่ทายาท 5 คน แต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ เมื่อเจ้ามรดกตายลงผู้จัดการมรดกกลับไม่โอนที่ดินตามที่ได้แบ่งไว้ดังกล่าวให้แก่ทายาท แต่ได้จัดการรวมและแบ่งที่ดินใหม่หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้จัดการมรดกได้โอนขายที่ดินซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขออายัดไว้แล้วเป็นจำนวนเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของที่ดินมรดก ทั้งไม่นำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทฝ่ายผู้คัดค้าน ส่อเจตนาทุจริตในการจัดการกองมรดก สมควรสั่งถอนผู้จัดการมรดกนั้นเป็นข้อที่มิได้ปรากฏในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตกลงแบ่งปันที่ดินมรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ ได้หมดแล้ว คงเหลือแต่ส่วนแบ่งของผู้คัดค้าน ซึ่งไม่ตกลงกัน โดยผู้คัดค้านอ้างว่าส่วนแบ่งของตนไม่เป็นธรรม จึงเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกมิได้เพิกเฉยต่อหน้าที่ส่วนการที่ผู้จัดการมรดกไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่เหตุที่จะต้องถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสมอไป และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1731ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยไม่สุจริตทั้งได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทส่วนมากไปแล้ว แสดงว่าได้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด พฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่สมควรถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
เมื่อปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตกลงแบ่งปันที่ดินมรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ ได้หมดแล้ว คงเหลือแต่ส่วนแบ่งของผู้คัดค้าน ซึ่งไม่ตกลงกัน โดยผู้คัดค้านอ้างว่าส่วนแบ่งของตนไม่เป็นธรรม จึงเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกมิได้เพิกเฉยต่อหน้าที่ส่วนการที่ผู้จัดการมรดกไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่เหตุที่จะต้องถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสมอไป และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1731ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยไม่สุจริตทั้งได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทส่วนมากไปแล้ว แสดงว่าได้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด พฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่สมควรถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษา
ผู้ร้องอ้างว่า ส.มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่กลับมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับผู้ร้องอีก การสมรสระหว่าง ส.กับผู้ร้องย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา1452 ประกอบมาตรา 1497 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 1497 ให้สิทธิผู้ร้องในฐานะบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีของผู้ร้องโดยทำเป็นคำร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและการใช้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการขอให้ศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ
ผู้ร้องอ้างว่า ส. มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่กลับมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับผู้ร้องอีก การสมรสระหว่าง ส. กับผู้ร้องย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1497 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 1497 ให้สิทธิผู้ร้องในฐานะบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีของผู้ร้องโดยทำเป็น คำร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ละเลย ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนด & การใช้ดุลพินิจของศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรืออีกนัยหนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ในอันที่ศาลจะพิจารณาว่าโจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยอาศัยเหตุจากการละเว้นของโจทก์ดังกล่าวเว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเองเมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบโจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อปีพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า"รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง"เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว ปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นแต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้อง แจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉย มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการจำหน่ายคดีและการทิ้งฟ้องเนื่องจากโจทก์ละเลยหน้าที่
ป.วิ.พ.มาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรืออีกนัยหนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ในอันที่ศาลจะพิจารณาว่าโจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยอาศัยเหตุจากการละเว้นของโจทก์ดังกล่าวเว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไปพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1
ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า "รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไปพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1
ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า "รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารทำสัญญาโดยใช้กระดาษคาร์บอน ถือเป็นต้นฉบับได้หากมีเจตนาให้ใช้เป็นสัญญา
โจทก์นำสืบพยานโดยอ้างส่งหนังสือวางเงินมัดจำ หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ และบันทึกข้อตกลงที่จำเลยยอมผ่อนชำระเงินมัดจำคืนแก่โจทก์เป็นหลักฐาน จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับ และอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับ แต่เป็นสำเนาโดยรองเขียนด้วยกระดาษคาร์บอนสีน้ำเงิน ส่วนต้นฉบับจำเลยครอบครองอยู่ ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งมีความหมายว่าขอให้ไม่รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยทำเอกสารดังกล่าวได้ใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง เมื่อเขียนและลงชื่อแล้วจึงมอบฉบับล่างให้โจทก์โดยคู่กรณีถือว่าฉบับล่างเป็นหนังสือสัญญาเช่นเดียวกับฉบับบน สำหรับฉบับบนจำเลยเก็บไว้ การทำเอกสารในลักษณะเช่นนี้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์ให้ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารฉบับบนโดยไม่ถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนา เพราะมิใช่ข้อความที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับ แต่ได้ทำขึ้นพร้อมกับฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือสัญญา 2 ฉบับ มีผลเท่ากับเป็นต้นฉบับด้วย จึงไม่ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารทำสัญญาด้วยกระดาษคาร์บอน ถือเป็นต้นฉบับได้หากมีเจตนาทำเป็นคู่ฉบับ
โจทก์นำสืบพยานโดยอ้างส่งหนังสือวางเงินมัดจำหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ และบันทึกข้อตกลงที่จำเลยยอมผ่อนชำระเงินมัดจำคืนแก่โจทก์เป็นหลักฐานจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับแต่เป็นสำเนาโดยรองเขียนด้วยกระดาษคาร์บอนสีน้ำเงินส่วนต้นฉบับจำเลยครอบครองอยู่ ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งมีความหมายว่าขอให้ ไม่รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยทำเอกสารดังกล่าวได้ใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง เมื่อเขียนและลงชื่อ แล้วจึงมอบฉบับล่างให้โจทก์โดยคู่กรณีถือว่าฉบับล่างเป็นหนังสือสัญญาเช่นเดียวกับฉบับบน สำหรับฉบับบนจำเลยเก็บไว้ การทำเอกสารในลักษณะเช่นนี้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่า ประสงค์ให้ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารบน โดยไม่ถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนา เพราะมิใช่ข้อความ ที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับ แต่ได้ทำขึ้นพร้อมกับ ฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือสัญญา 2 ฉบับ มีผลเท่ากับเป็นต้นฉบับด้วย จึงไม่ต้องห้ามมิให้ศาล รับฟังเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานปากเดียว และการยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา
ตอนที่ผู้เสียหายเห็นหน้าคนร้ายภายในห้องนอนคนร้ายก็ กระโดดคร่อมตัวผู้เสียหายและชกต่อยทำร้ายผู้เสียหายทันที ซึ่งในภาวะเช่นนั้นผู้เสียหายย่อมต้องปัดป้องจากการ ถูกทำร้ายซึ่งคนร้ายชกต่อยผู้เสียหาย 40-50 ครั้ง โอกาสที่ ผู้เสียหายจะดึงหมวดอ้ายโม่ง หลุดออกทางศีรษะ คนร้าย ขึ้นไปด้านบนจึงไม่น่าเป็นไปได้ นอกจากนี้เมื่อคนร้าย กระโดดจากชั้นสองลงไปชั้นล่างและหลบหนีไปนั้น ส.เห็นหน้าคนร้ายยังสวมหมวกอ้ายโม่ง เดินไปทางซอยห่างจากบ้าน ประมาณ 7-8 วา ก่อนขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปแสดงให้เห็นว่า นับแต่คนร้ายคร่อมตัวผู้เสียหายและทำร้ายผู้เสียหาย จนกระทั่งหลบหนีไปทางหลังบ้านคนร้ายยังสวมหมวกอ้ายโม่ง อยู่ ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าคนร้ายเอาหมวกอ้ายโม่ง ติดตัวไปด้วย และตอบทนายถามค้านว่าเมื่อจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายเห็นหน้า แล้วก็ได้นำหมวกอ้ายโม่ง มาสวมคลุมกลับไปอย่างเดิมอีก ไม่น่าเชื่อเพราะผู้เสียหายรู้จักจำเลยเมื่อเห็นหน้าคนร้าย ว่าเป็นจำเลยแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปกปิดใบหน้าอีก หลังเกิดเหตุเมื่อ ส. มาพบผู้เสียหายที่ชั้นล่างของบ้านก็ไม่ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับตัวคนร้ายทั้งตอนที่ เจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยนอนอยู่ บนแคร่ใต้ถุนบ้าน ไม่ได้แสดงอาการหลบหนีแต่ประการใด ทั้งหมวกอ้ายโม่ง ที่คนร้ายสวมใส่ก็ไม่ได้ยึดจากจำเลย เป็นของกลาง ส่วนรองเท้าแตะสีดำยี่ห้อคอมพาสที่ยึดได้จากบ้านผู้เสียหายเป็นของกลางจำเลยก็ปฏิเสธว่ามิใช่ของจำเลย เมื่อโจทก์มีแต่คำเบิกความของผู้เสียหายปากเดียวโดยขาดพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนเช่นนี้ ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายมีน้ำหนักน้อย ที่ผู้เสียหาย อ้างว่าดึงหมวกอ้ายโม่ง ออกสามารถมองเห็นหน้าคนร้าย คือจำเลยขณะถูกทำร้ายจึงเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นความจริง หรือไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัย ตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้หรือไม่ ต้องยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง