พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4103/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนบัตรปลอม: ความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอมนั้น เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 244 บทหนึ่ง และมาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา244 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 244 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1จะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4103/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้ซึ่งธนบัตรปลอม: การลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้ เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอมนั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 บทหนึ่ง และมาตรา 247ประกอบด้วยมาตรา 244 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 244ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายภายในกำหนด ศาลต้องพิจารณาถึงความขวนขวายของโจทก์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วันถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ แต่จำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลชั้นต้นโจทก์จึงยื่นคำแถลงขอให้ศาลอื่นช่วยส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โดยโจทก์ชำระค่าส่งเป็นตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ไปให้ ศาลชั้นต้นสั่งจัดการให้และมีหนังสือถึงศาลอื่นขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนซึ่งมิได้ระบุว่าโจทก์จะไปนำส่ง จึงเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นไม่บังคับให้โจทก์ต้องไปนำส่ง การที่โจทก์ไปติดตามขอทราบผลการส่งหมายถึง 5 ครั้ง และได้รับแจ้งว่าสำนวนไม่อยู่บ้าง สำนวนเสนอผู้พิพากษาบ้างแม้ในวันที่โจทก์ไปยื่นคำร้องคำขอและคำแถลงต่าง ๆ ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นสำนวนจนกระทั่งวันที่ 23 ธันวาคม 2539 โจทก์จึงทราบผลการส่งหมาย หลังจากนั้นโจทก์ไปขอหลักฐานไว้ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายใหม่ โดยจะยื่นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่25 ธันวาคม 2539 อันเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ตั้งแต่วันรับคำฟ้อง ครั้นเมื่อถึงวันนัดหมายโจทก์จึงทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลสั่งจำหน่ายคดีไปแล้วดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์ขวนขวายติดตามคดี โจทก์มิได้เพิกเฉยหรือละเลยต่อการดำเนินคดี กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ และการฟ้องซ้ำประเด็นที่ตัดสินแล้วในคดีอาญา
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 9
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ปิดแสตมป์ ไม่เป็นหลักฐานทางแพ่ง, รื้อฟ้องคดีซ้ำต้องห้าม
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่ สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาดโจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิด ตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ยกฟ้องโจทก์เสียได้ เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน แก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อน มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับใน คดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: สิทธิเจ้าของอาคาร, ค่าใช้ที่ดิน, และภาระจำยอม
จำเลยประกาศเรียกประกวดราคาซื้อที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายต้องถมที่ดินและล้อมรั้วด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก รอบที่ดินในเนื้อที่ 1 ไร่ อันเป็นส่วนที่จะใช้ก่อสร้างอาคาร ป. ซึ่งเป็นตัวแทนขายที่ดินแก่จำเลยได้ทำรั้วตามแนวโฉนดด้วยความระมัดระวังตามแนวที่เจ้าของที่ดินชี้ และจำเลย ได้ปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วนั้น โดยไม่มีคำคัดค้านจาก ป. เจ้าของที่ดินข้างเคียง ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ. ในระหว่างที่จำเลยกำลังปลูกสร้างอาคาร แต่โจทก์ก็มิได้ โต้แย้งคัดค้านแนวเขตแม้จำเลยมิได้รังวัดสอบเขตก่อนลงมือ ปลูกสร้างอาคาร แต่พฤติการณ์มีเหตุให้จำเลยเชื่อและถือเอาตาม แนวเขตหรือแนวรั้วที่ครอบครอง และจำเลยปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ขายทำไว้โดยไม่อาจคาดคิดว่าจะรุกล้ำ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ แต่เป็นกรณี ที่จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาตั้งแต่ แรกแล้ว กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง คือ จำเลยเป็นเจ้าของอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินให้โจทก์และโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อาคารของ จำเลยตามฟ้องแย้ง และหากอาคารส่วนที่รุกล้ำสลายไปหรือ รื้อถอนก็ให้โจทก์จดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอม และจำเลยไม่ต้อง ชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: การบังคับใช้ภาระจำยอมและการชำระค่าใช้ที่ดิน
จำเลยประกาศเรียกประกวดราคาซื้อที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายต้องถมที่ดินและล้อมรั้วด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็กรอบที่ดินในเนื้อที่ 1 ไร่ อันเป็นส่วนที่จะใช้ก่อสร้างอาคาร ป.ซึ่งเป็นตัวแทนขายที่ดินแก่จำเลยได้ทำรั้วตามแนวโฉนดด้วยความระมัดระวังตามแนวที่เจ้าของที่ดินชี้ และจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วนั้น โดยไม่มีคำคัดค้านจาก บ.เจ้าของที่ดินข้างเคียง ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ.ในระหว่างที่จำเลยกำลังปลูกสร้างอาคาร แต่โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแนวเขตแม้จำเลยมิได้รังวัดสอบเขตก่อนลงมือปลูกสร้างอาคาร แต่พฤติการณ์มีเหตุให้จำเลยเชื่อและถือเอาตามแนวเขตหรือแนวรั้วที่ครอบครอง และจำเลยปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ขายทำไว้โดยไม่อาจคาดคิดว่าจะรุกล้ำ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ แต่เป็นกรณีที่จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาตั้งแต่แรกแล้ว กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 วรรคหนึ่งคือ จำเลยเป็นเจ้าของอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อาคารของจำเลยตามฟ้องแย้ง และหากอาคารส่วนที่รุกล้ำสลายไปหรือรื้อถอนก็ให้โจทก์จดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอม และจำเลยไม่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจมิชอบเรียกเก็บเงินจากผู้ขับรถ แม้ไม่มีความผิด เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148/149
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความเกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ถ้าจำเลยที่ 1เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหน จากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งป.อ.มาตรา 148 และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบเรียกรับเงินจากผู้ขับรถบรรทุกเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้ กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความ เกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมายถ้าจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหนจากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157อันเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ต้องมีหลักฐานยืนยันการตายที่แน่นอน
ตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้นต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน แม้จะได้ความจากพันตำรวจโทพ.พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงาน ให้ทราบว่า ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจได้ ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการ เป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้อง ส. ให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับกองคดีแพ่งกรมอัยการ รับดำเนินการให้เมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียง ข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของ ส. ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่า ส.ถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานพันตำรวจโทพ.ว่าส.ได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตร พันตำรวจโทพ. รับทราบในวันเดียวกันย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของส.แล้วนับแต่นั้นโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของส.เจ้ามรดกฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส.เป็นผู้ประกันตัวว. ผู้ต้องหาแล้วผิดสัญญาประกันต้องใช้เงินจำนวน 500,000 บาท จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทผู้รับ ทรัพย์ตามพินัยกรรมของส.จึงต้องรับผิดต่อโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้อง