คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ น้าประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การรู้ถึงความตายต้องชัดเจนและมีหลักฐานยืนยัน
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม ที่ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น การรู้หรือควรได้รู้ดังกล่าว ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อเสพเองไม่เป็นความผิดฐานผลิต หากไม่มีลักษณะร้ายแรง การแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายต้องพิจารณาข้อเท็จจริง
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4คำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุด้วยนั้นต้องหมายถึงการกระทำอันมีลักษณะที่เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อสังคมในทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำผสม ปรุง แปรสภาพเปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการใช้หรือเสพของตนเอง ย่อมมีเป็นธรรมดาของบุคคลที่ต้องการใช้เสพ ไม่มีลักษณะร้ายแรงดังเช่นที่กล่าวมา จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า "ผลิต" ฉะนั้นการแบ่งบรรจุกรณีใดจะอยู่ในความหมายของคำว่า "ผลิต"ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป หาใช่ว่าเมื่อมีการแบ่งบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 แล้วต้องถือว่าเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เสมอไปไม่ เฮโรอีนของกลางที่ยึดได้จากจำเลยมีน้ำหนักเพียง 0.26 กรัมกรณีถือได้ว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย การแบ่งบรรจุในหลอดกาแฟจำนวน 11 หลอด จะถือว่าเป็นจำนวนเกินสมควรยังไม่ถนัดทั้งจำเลยให้การในชั้นสอบสวนและชั้นศาลตลอดมาว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อเสพ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่า จำเลยลักลอบขายยาเสพติดและลักลอบมั่วสุมเสพยาเสพติด จึงได้มีการออกหมายค้นที่อยู่อาศัยของจำเลยก็ตาม แต่เป็นเพียงคำเบิกความลอย ๆมิได้นำพยานแวดล้อมอื่นใดมาสืบประกอบว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ กรณียังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยแบ่งบรรจุยาเสพติดดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ให้แก่ประชาชน จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตน้ำหนัก 0.26 กรัมนับว่ามีปริมาณไม่มาก และจำเลยให้การรับสารภาพว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพตลอดมาจนถึงชั้นศาลประกอบกับจำเลยถูกต้องขังในระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณา ตลอดมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ในฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำเลยบังอาจเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการทำนาโดยไม่ได้รับอนุญาติ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โจทก์ห้ามจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยว และใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท จำเลยได้รับหนังสือ บอกกล่าวแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า โจทก์ได้กล่าวถึงสภาพ แห่งข้อหาว่า จำเลยทำละเมิดเข้าไปใช้ประโยชน์โดยทำนาในที่ดินของโจทก์ และบรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยวและใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวให้ละเอียดไปถึงว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในส่วนใดของโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้อง และส่วนใดเป็นกรรมสิทธิ์ของพจำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และในคดีแพ่งโจทก์หาจำต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดกรณีพิพาทในฟ้องดังเช่นการบรรยายฟ้องในคดีอาญาแต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่ระบุแนวเขต ครอบคลุมประโยชน์ใช้สอยทุกส่วนของที่ดิน แม้มีสิ่งปลูกสร้างหรือพื้นที่ไม่ได้ใช้เป็นทางเดินโดยตรง
บันทึกข้อตกลงภารจำยอมเรื่องทางเดินมิได้ระบุแนวเขตเส้นทางภารจำยอมไว้ ภารจำยอมดังกล่าวย่อมครอบคลุมถึงประโยชน์ในการใช้ภารจำยอมในทุกส่วนของที่ดิน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองยังคงใช้ที่ดินภารจำยอมส่วนที่โรย กรวด หิน ส่วนที่ดินภารจำยอมในส่วนที่มีหญ้าและต้นไม้ขึ้นปกคลุมแม้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เป็น ทางเดินตามปกติแต่ที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับที่ดิน ที่โรย กรวด หิน ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองใช้ประโยชน์ ในที่ดินดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองและพนักงานประมาณ 300 คน ตลอดจนใช้ยานพาหนะเข้าออกเส้นทางภารจำยอม ดังกล่าวเป็นเวลาข้านานจนถึงปัจจุบันโดยไม่ได้ ละทิ้งจะถือว่าจำเลยทั้งสองสละสิทธิมิได้ ที่ดินพิพาท ยังคงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินจำเลยทั้งสองและยัง ไม่หมดประโยชน์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาล: การขยายเวลาอุทธรณ์และการไม่รับอุทธรณ์ - ผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 2 ประการ คือ สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ในกรณีสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223,229 ซึ่งมาตรา 235 บัญญัติบังคับให้ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 คดีนี้จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองประการ และโต้แย้งคำสั่งทั้งสองประการรวมกันมาโดยทำเป็นอุทธรณ์ ไม่ได้แยกทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ขึ้นต่างหาก ดังนี้ ในกรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่ได้ชำระเงินค่าส่งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ก็ต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า จำเลยไม่ติดใจให้ศาลมีคำสั่งเมื่ออุทธรณ์คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยตกไป ดังนั้น ในส่วนที่เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะพ้นกำหนดเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลกระทบต่อการรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 2 ประการ คือ สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ในกรณีสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223,229ซึ่งมาตรา 235 บัญญัติบังคับให้ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 คดีนี้จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองประการ และโต้แย้งคำสั่งทั้งสองประการรวมกันมาโดยทำเป็นอุทธรณ์ ไม่ได้แยกทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ขึ้นต่างหาก ดังนี้ ในกรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่ได้ชำระเงินค่าส่งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยไม่ติดใจให้ศาลมีคำสั่งเมื่ออุทธรณ์คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยตกไป ดังนั้น ในส่วนที่เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่เป็นสาระ แก่คดีที่จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะพ้นกำหนดเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ไม่ใช่สัญญาเช่า แต่เป็นสัญญาให้บริการ
แม้โจทก์และจำเลยร่วมจะเรียกชื่อสัญญาพิพาทว่าเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้า แต่รายละเอียดของสัญญาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลย การจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์ตามสัญญาแม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อการนั้น แต่ฝ่ายโจทก์ยังเป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ทั้งสิ้น สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วม จึงไม่ใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์อันจะอยู่ภายในกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดรายการโทรทัศน์ไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์ แต่เป็นสัญญาให้บริการ ผู้รับเหมามีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนตามสัญญา
แม้โจทก์และจำเลยร่วมจะเรียกชื่อสัญญาพิพาทว่าเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้า แต่รายละเอียดของสัญญาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลยการจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์ ตามสัญญาแม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อ การนั้น แต่ฝ่ายโจทก์ยังเป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ ทั้งสิ้น สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วมจึงไม่ใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์อันจะอยู่ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมคู่สมรส ถือเป็นการสัตยาบันหนี้ร่วมค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้อันเกิดจากสัญญากู้เงินต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมไว้โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้ จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมภริยาในหนี้ค้ำประกัน: การสัตยาบันและหนี้ร่วม
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้อันเกิดจากสัญญากู้เงินต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมไว้โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 3ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์
of 41