พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นค่าเสียหายที่มิได้กำหนดในศาลชั้นต้นถือว่าสละ ส่วนภาระจำยอมยังคงมีผลผูกพัน
โจทก์บรรยายเรื่องค่าเสียหายมาในฟ้องแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้และคู่ความไม่ได้โต้แย้ง ย่อมถือว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนอกประเด็น
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกัน ครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภาระจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภาระจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารย-ทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกัน ครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภาระจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภาระจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารย-ทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมยังไม่ระงับสิ้นแม้เจ้าของภารยทรัพย์ถูกบังคับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง การพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่กำหนดประเด็นไว้ ถือไม่ชอบ
โจทก์บรรยายเรื่องค่าเสียหายมาในฟ้องแล้ว แต่ศาลชั้นต้น มิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้และคู่ความไม่ได้โต้แย้งย่อมถือว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนอกประเด็น เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกันครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์ และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภารจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของ ภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภารจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารยทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อ ประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง รื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่ากระแสไฟฟ้า: การเป็นผู้ประกอบการค้าและการเริ่มนับอายุความ
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาเพียงแต่โต้แย้งในปัญหาข้อกฎหมายว่า จากข้อเท็จจริงที่ยุติดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย นอกจากโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2506 มาตรา 6 แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165(1) เดิม เป็นคำว่า"ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้า หนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามใบเสร็จรับเงินฉบับพิพาทได้มีการ จดหน่วยกระแสไฟฟ้าครั้งสุดท้ายวันที่ 12 เมษายน 2527 ซึ่งโจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2527 เป็นต้นมา โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าอันเป็น การเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2537 ย่อมเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามเอกสารดังกล่าวจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทำแท้งที่ไม่เข้าข่ายความผิดต่อส่วนตัว และการรับฟังพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด
ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวพนักงานสอบสวนมีอำนาจทำการสอบสวนได้โดยไม่จำต้องมีการร้องทุกข์ตามระเบียบดังนั้น แม้นางน.มารดาของเด็กหญิงล.มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจะเป็นผู้ร้องทุกข์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ระหว่างการทำแท้งซึ่งเป็นเวลากลางวัน เด็กหญิงล.มีโอกาสเห็นจำเลยในระยะใกล้ชิดเป็นเวลานานนับชั่วโมงเชื่อได้ว่าเด็กหญิงล. จดจำจำเลยได้แม่นยำไม่ผิดตัว เมื่อพยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความได้สอดคล้องเชื่อมโยงมีเหตุผลทั้งไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีข้อระแวงสงสัยว่าจำเลยจะถูกเบิกความปรักปรำใส่ร้าย แม้คำเบิกความของพยานโจทก์ บางปากจะขัดแย้งหรือแตกต่างกันไปบ้างก็เป็น เพียงรายละเอียดข้อปลีกย่อยไม่ทำให้คดีโจทก์ต้องเสียไป ข้อต่อสู้ของจำเลยนั้นเลื่อนลอยและขัดกับคำให้การชั้นสอบสวน จึงมีน้ำหนักไม่พอฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยทำให้เด็กหญิงล.แท้งลูกโดยเด็กหญิงล. ยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและค้นค้นโดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ละเมิดสิทธิของผู้ถูกจับกุม
จำเลยมียศพันตำรวจตรี ตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวนจึงเป็นเพียงพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)มิใช่สารวัตรตำรวจอันเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามมาตรา 2(17)(ภ) จำเลยจะจับผู้ใดและค้นในที่รโหฐานแห่งใดจึงต้องมีหมายจับและหมายค้นด้วย เว้นแต่จะต้องด้วยข้อยกเว้นให้จำเลยจับและค้นได้โดย ไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และมาตรา 92 เมื่อจำเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์อันเป็นที่รโหฐานโดยไม่ปรากฏว่ามีหมายจับและหมายค้นอันถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วย ข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นเรื่อง จงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายซึ่งเป็นละเมิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำ ดังกล่าวของจำเลย จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับและค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดต่อโจทก์
จำเลยมียศพันตำรวจตรี ตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวน จึงเป็นเพียงพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) มิใช่สารวัตรตำรวจอันเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามมาตรา 2 (17) (ภ)จำเลยจะจับผู้ใดและค้นในที่รโหฐานแห่งใดจึงต้องมีหมายจับและหมายค้นด้วย เว้นแต่จะต้องด้วยข้อยกเว้นให้จำเลยจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และมาตรา 92
เมื่อจำเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์อันเป็นที่รโหฐานโดยไม่ปรากฏว่ามีหมายจับและหมายค้นอันถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายซึ่งเป็นละเมิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวของจำเลย จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
เมื่อจำเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์อันเป็นที่รโหฐานโดยไม่ปรากฏว่ามีหมายจับและหมายค้นอันถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายซึ่งเป็นละเมิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวของจำเลย จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6264/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน แม้มีข้อจำกัดการโอนขาย การโอนก่อนได้รับอนุญาตไม่ตัดสิทธิการฟ้องรบกวนการครอบครอง
แม้การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จะตกอยู่ในบังคับตามเงื่อนไขห้ามโอนตาม พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครอบชีพ พ.ศ. 2511 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ได้โอนขายโดยส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาท ให้โจทก์ที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 1 จะได้รับอนุญาตจาก อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ให้ทำกินถึง 3 ปี โจทก์ทั้งสอง ซึ่งได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนตามความเป็นจริง นับแต่ซื้อตลอดมาย่อมมีสิทธิขอให้ปลดเปลื้องการรบกวน การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกทำละเมิดเป็นเหตุให้ต้นข้าวที่โจทก์ทั้งสองร่วมกันปลูกไว้ในที่ดินพิพาทต้องเสียหายนับได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกรบกวนสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและมีวัตถุระเบิด ศาลฎีกาแก้ไขการลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองและใช้วัตถุระเบิดดังกล่าวไปกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม และเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่มีความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสามซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงกรรมเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6230/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขค่าเสียหาย และการประวิงคดี
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาทแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 8,000 บาท โจทก์และจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาทคดีจึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองจำเลยฎีกาว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีและสืบพยานต่อไปหรือไม่ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้จะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ก็ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6230/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเมื่อคู่ความไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นค่าเช่า และการฎีกาคำสั่งศาล
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาท แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 8,000 บาท โจทก์และจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ10,000 บาท คดีจึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา248 วรรคสอง จำเลยฎีกาว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีและสืบพยานต่อไปหรือไม่ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้จะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ก็ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกัน