คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (7) (11)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับรู้วันนัดผ่านทนายความ แม้ทนายจำเลยทิ้งคดีไปแล้ว จำเลยก็ยังต้องรับผิดชอบ
ทนายจำเลยทั้งสองทราบวันนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ไม่มีฝ่ายจำเลยมาศาลในวันนัด ศาลชั้นต้นจึงได้ ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ไป ถือได้ว่าทนายจำเลยทั้งสองทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง และถือว่าจำเลยทั้งสองทราบนัดด้วย การที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้อง จึงเป็นการจงใจไม่มาศาลแม้ทนายจำเลยทิ้งคดีตั้งแต่วันชี้สองสถานโดยไม่แจ้งนัดให้จำเลยทั้งสองทราบ จนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียหาย จำเลยทั้งสองก็จะอ้างเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย และการขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียม
จำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน ทนายความย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนจำเลยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 การที่ศาลชั้นต้นออกหมายนัดโจทก์จำเลยมาฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นกระบวนพิจารณาตามมาตรา 1 (7) และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว ทนายจำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตามมาตรา 1 (11) ฉะนั้นเมื่อทนายจำเลยรับหมายนัดของศาลแล้วก็ถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยรับเช่นกันจำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดเพราะจำเลยกับทนายความมิใช่บุคคลคนเดียวกันหาได้ไม่
การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 นั้น กฎหมายให้กระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่ศาลกำหนด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยมีคำขอเมื่อระยะเวลาตามที่ศาลกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้ว และไม่ปรากฏพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัย จึงขยายระยะเวลาให้จำเลยไม่ได้