พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9650-9651/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการสั่งพักงาน/ลงโทษทางวินัยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่1เป็นผู้อำนวยการของโจทก์ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะเดียวกันจำเลยที่1ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ด้วยและยังต้องปฏิบัติหน้าที่การงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับของโจทก์ส่วนจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นลูกจ้างโจทก์และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจรับสินค้ามีหน้าที่ไปตรวจรับสินค้าว่ามีการซื้อขายตามจำนวนประเภทและราคาสินค้านั้นถูกต้องตรงตามสัญญาซื้อขายกันหรือไม่การที่จำเลยที่1มีคำสั่งให้คณะกรรมการตรวจรับที่โจทก์ตั้งขึ้นตรวจรับสินค้าตามหลักฐานเอกสารที่มีเพียงลายมือชื่อของผู้ซื้อว่าได้รับสินค้าไปถูกต้องแล้วพิจารณาจ่ายเงินให้ผู้ขายสินค้าไปและวิธีปฏิบัติตามที่จำเลยที่1กำหนดขึ้นก็ขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยการรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินพ.ศ.2528ของโจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยที่2ที่3และที่4เป็นคณะกรรมการตรวจรับไม่เคยไปตรวจรับสินค้าคงตรวจแต่เอกสารการรับมอบแม้จะเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1จำเลยที่2ที่3และที4ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าคำสั่งดังกล่าวขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแต่จำเลยที่2ที่3และที่4ยังปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่รักษาประโยชน์ของโจทก์เป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรงและต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย จำเลยที่2และที่3มิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เมื่อมีการสอบสวนทางวินัยก็ปรากฏว่าจำเลยที่2และที่3กระทำผิดทางวินัยคำสั่งของโจทก์ให้พักงานจำเลยที่2และที่3จึงมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งจำเลยที่2และที่3การที่โจทก์มีคำสั่งลงโทษจำเลยที่2ด้วยการพักงานและลดขั้นเงินเดือนจึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์แล้ว จำเลยที่3ทำผิดวินัยโดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายการที่จำเลยที่3ต้องเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดโจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้จำเลยที่3 ฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งแปดผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องบังคับใช้ตามอายุความทั่วไปมีกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30จำเลยที1ถึงที่4ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นการผิดสัญญาในระหว่างปี2532ถึง2533แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่6สิงหาคม2536ยังไม่เกิน10ปีฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่2ที่3และที่4อุทธรณ์ว่าจำเลยที่1ประนีประนอมยอมความหนี้กับโจทก์แล้วจำเลยที่2ที่3ที่4จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาว่าไม่มีการประนีประนอมยอมความในหนี้แต่อย่างใดต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อในคำให้การจำเลยที่1มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่อุทธรณ์ขึ้นมาอุทธรณ์ของจำเลยที่1จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการแจ้งข้อมูลเท็จต่อลูกค้า
เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นและผ่านขั้นตอนเจรจาแล้วไม่เป็นผล สหภาพแรงงานย่อมมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯมาตรา 99 ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่สหภาพแรงงานอ้างว่าจะเกิดขึ้นโดยการกระทำของตนเองจนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานออกหนังสือดังกล่าว จึงถือได้ว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง: จำเลยต้องพิสูจน์สถานะตัวแทน และข้อเท็จจริงการประพฤติชั่วร้ายแรงตามกฎข้อบังคับ
จำเลยเพียงให้การว่าโจทก์ปิดประกาศข้อความโดยมีเจตนาที่จะให้ อ. ผู้จัดการโรงงานซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบว่า อ. เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างไม่ติดใจสืบพยานและข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า อ. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเท่านั้น ไม่ได้ความว่าได้รับมอบหมายให้กระทำการหรือมีอำนาจหน้าที่อย่างใด บ้างอันจะถือว่าเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าอ. เป็นตัวแทนของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบและถึงแม้อ. จะเป็นตัวแทนของจำเลย ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับอ. เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยให้การไว้ด้วยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดตามข้อบังคับของโจทก์ด้วย จำเลยจึงอาจเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ และศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีจงใจทำให้นายจ้างเสียหายและละทิ้งหน้าที่
โจทก์เป็นหัวหน้าคนงาน มีหน้าที่ต้องคอยบังคับบัญชาดูแลให้คนงานทำงานให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์กลับเรียกคนงานซึ่งกำลังทำงานให้จำเลยเข้าไปในห้องพักโดยไม่ยอมให้ออกมาทำงานทั้งๆ ที่ยังมีงานที่คนงานจะต้องทำให้จำเลยอีกจนจำเลยต้องจัดคนงานอื่นมาทำแทนการกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และการกระทำดังกล่าวถือได้ด้วยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต้องพิจารณาความสามารถของลูกจ้าง หากคำสั่งเกินความสามารถ ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดชอบ
เหตุที่ลูกจ้างไม่เรียงอิฐให้ได้วันละ 8 คันรถตามคำสั่งของหัวหน้าแผนกเป็นเพราะเกินความสามารถของลูกจ้างที่จะกระทำได้ มิใช่ลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนคำสั่ง กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตาม ข้อ 47(3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน