พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชย, ค่าจ้างหยุดพักผ่อน, ดอกเบี้ย, และการบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกตินั้น เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติแม้ตามระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างและสัญญาผู้เข้าทำงานของนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำกับนายจ้าง จะให้อำนาจนายจ้างเลิกจ้างได้ ก็เป็นเพียงให้สิทธิไว้เท่านั้นถือไม่ได้ว่า ลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี มิได้มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายกรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายทันที ที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าฉะนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างได้บอกกล่าว หรือทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้บอกกล่าวหรือทวงถามลูกจ้างชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 จะกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดแจ้งทั้งโจทก์เรียกร้องเงินมาหลายประเภท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันการที่ศาลให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี มิได้มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายกรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายทันที ที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าฉะนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างได้บอกกล่าว หรือทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้บอกกล่าวหรือทวงถามลูกจ้างชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 จะกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดแจ้งทั้งโจทก์เรียกร้องเงินมาหลายประเภท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันการที่ศาลให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานเกินเวลาและค่าจ้าง: สัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันและรับค่าจ้างรายเดือนไม่ขัดกฎหมาย หากได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน
กรณีที่อธิบดีกรมแรงงานอนุญาตให้นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายได้นั้น นายจ้างกับลูกจ้างย่อมทำสัญญาให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาและจ่ายค่าจ้างกันเท่าใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยรับค่าจ้างเป็นรายเดือนอันมิใช่เป็นกรณีที่นายจ้างเพิ่มชั่วโมงทำงานในภายหลังและไม่ปรากฏว่าค่าจ้างต่ำกว่าอันตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ข้อตกลงนี้ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและผูกพันลูกจ้างกับนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแทนค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งรถไฟ
จำเลยให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นนายสถานีหรือผู้ช่วยทำงานวันละ 12 ชั่วโมงมานานแล้ว โดยจำเลยจ่ายแต่เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มให้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เพราะงานที่ทำเป็นงานขบวนการจัดงานรถไฟและงานขนส่ง ดังนี้ ลูกจ้างต้องผูกพันได้รับเพียงค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำเกินวันละ 8 ชั่วโมงอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งขยายเวลาทำงาน: แม้ไม่มีค่าล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเวลาที่ขยายออกไป
งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานขนส่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3(2) ซึ่งกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้ 8 ชั่วโมง แต่จำเลยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาตามปกติ ถือได้ว่าเป็นการขยายกำหนดเวลาทำงานตามปกติออกไป แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36 แต่จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์สำหรับเวลาทำงานที่ขยายออกไป 2 ชั่วโมงนั้น หาใช่ลูกจ้างไม่มีสิทธิรับค่าล่วงเวลา แล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3079/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาทำงานและสิทธิค่าจ้าง: ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างธรรมดา แม้ไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา หากนายจ้างได้รับอนุญาตขยายเวลาทำงาน
เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมงออกไปอีก 4 ชั่วโมง โจทก์ย่อมหมดสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานเกินเวลาปกติดังกล่าว แต่ยังคงมีสิทธิได้รับค่าจ้างธรรมดาสำหรับเวลาทำงานที่ขยายออกไปนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างดำรงตำแหน่งในธุรกิจอื่น ฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้าง
การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดของนายจ้างจะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำนั้นๆ มิใช่ว่าจะต้องให้ความเสียหายต่อนายจ้างปรากฏขึ้นด้วยเสมอไป จึงจะนับว่าการฝ่าฝืนนั้นๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรง
แม้ระเบียบของจำเลยจะมิได้ห้ามมิให้พนักงานดำรงตำแหน่งใดในธุรกิจอื่นโดยเด็ดขาด โดยยังมีข้อยกเว้นให้พนักงานสามารถกระทำได้ก็ตาม โจทก์พึงปฏิบัติตามข้อยกเว้นนั้น กรณีจึงจะไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเคยไม่ปลดหรือไล่พนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้ออกจากงานนั้น หากจะเป็นจริงก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะใช้ดุลพินิจ เพราะตามระเบียบนี้ใช้คำว่า "อาจเป็นผลให้" และความร้ายแรงของการฝ่าฝืนของพนักงานอื่นอาจต่างกับกรณีของโจทก์มากก็ได้
ระเบียบทั่วไปว่าด้วยสภาพการจ้างสำหรับพนักงานของบริษัทจำเลยกล่าวไว้ว่าการฝ่าฝืนข้อ 87 อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น มีความหมายว่าในบางกรณีจำเลยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) แต่การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดจะเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ว่ามีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อนางจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วศาลจะต้องถือตามเสมอไป
แม้ระเบียบของจำเลยจะมิได้ห้ามมิให้พนักงานดำรงตำแหน่งใดในธุรกิจอื่นโดยเด็ดขาด โดยยังมีข้อยกเว้นให้พนักงานสามารถกระทำได้ก็ตาม โจทก์พึงปฏิบัติตามข้อยกเว้นนั้น กรณีจึงจะไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเคยไม่ปลดหรือไล่พนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้ออกจากงานนั้น หากจะเป็นจริงก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะใช้ดุลพินิจ เพราะตามระเบียบนี้ใช้คำว่า "อาจเป็นผลให้" และความร้ายแรงของการฝ่าฝืนของพนักงานอื่นอาจต่างกับกรณีของโจทก์มากก็ได้
ระเบียบทั่วไปว่าด้วยสภาพการจ้างสำหรับพนักงานของบริษัทจำเลยกล่าวไว้ว่าการฝ่าฝืนข้อ 87 อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น มีความหมายว่าในบางกรณีจำเลยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) แต่การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดจะเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ว่ามีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อนางจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วศาลจะต้องถือตามเสมอไป