คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้ายลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้มีการปรับโครงสร้างองค์กร
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แผนกยานพาหนะและขนส่ง กองคลังพัสดุ ประจำทำงานในต่างจังหวัด กับเป็นสมาชิกและอนุกรรมการสหภาพแรงงานพนักงานของจำเลย สหภาพแรงงานดังกล่าวได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยและแต่งตั้งโจทก์เป็นที่ปรึกษา ต่อมาในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง จำเลยมีคำสั่งโยกย้ายโจทก์ไปทำงานตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แผนกบริการและควบคุมยานพาหนะ กองยานพาหนะ ซึ่งต้องประจำทำงานที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งโยกย้ายโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งและการที่จำเลยปรับปรุงโครงสร้างงานใหม่ และจำเป็นต้องโยกย้ายลูกจ้างซึ่งล้นงานไปประจำหน่วยงานอื่นนั้นไม่ใช่เหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 31(1) ถึง (4) จำเลยจึงไม่มีอำนาจโยกย้ายหน้าที่การงานของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้ายลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องทางแรงงานเป็นโมฆะ หากไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แผนกยานพาหนะและขนส่งกองคลังพัสดุ ประจำทำงานในต่างจังหวัดกับเป็นสมาชิกและอนุกรรมการสหภาพแรงงานพนักงานของจำเลย สหภาพแรงงานดังกล่าวได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยและแต่งตั้งโจทก์ เป็นที่ปรึกษา ต่อมาในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องจำเลยมีคำสั่งโยกย้ายโจทก์ไปทำงานตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แผนกบริการและควบคุม ยานพาหนะกองยานพาหนะ ซึ่งต้องประจำทำงานที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งโยกย้ายโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งและการที่จำเลยปรับปรุงโครงสร้างงานใหม่ และจำเป็นต้อง โยกย้ายลูกจ้างซึ่งล้นงานไปประจำหน่วยงานอื่นนั้นไม่ใช่เหตุหนึ่งเหตุใด ตามมาตรา31(1) ถึง (4) จำเลยจึงไม่มีอำนาจโยกย้ายหน้าที่การงาน ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งตำแหน่งใหม่ที่ไม่ถือเป็นการโยกย้ายตามมาตรา 31 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ หากเป็นการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งนิติกร 4 แผนกการตลาดเมื่อปรากฏว่าหัวหน้าแผนกการตลาดเป็นพนักงานระดับ 5 ส่วนหัวหน้าคณะที่ปรึกษาเป็นพนักงานระดับ 6 คณะที่ปรึกษาเป็น ผู้ให้คำปรึกษาแก่จำเลยในเมื่อมีปัญหาจากทุกแผนก รวมทั้ง แผนกการตลาดนิติกร 4 ของคณะที่ปรึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งกว่านิติกร 4 แผนกการตลาดการที่จำเลยออกคำสั่งแต่งตั้ง โจทก์เป็นนิติกร 4 คณะที่ปรึกษาจึงเป็นการเลื่อนตำแหน่ง หน้าที่การงานของโจทก์ให้สูงขึ้นถือไม่ได้ว่าเป็นการ โยกย้ายหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ .2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งข้าราชการเป็นการเลื่อนตำแหน่ง ไม่ใช่โยกย้ายหน้าที่ หากตำแหน่งใหม่มีความสำคัญสูงกว่า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งนิติกร 4 แผนกการตลาดเมื่อปรากฏว่าหัวหน้าแผนกการตลาดเป็นพนักงานระดับ 5 ส่วนหัวหน้าคณะที่ปรึกษาเป็นพนักงานระดับ 6 คณะที่ปรึกษาเป็น ผู้ให้คำปรึกษาแก่จำเลยในเมื่อมีปัญหาจากทุกแผนก รวมทั้ง แผนกการตลาดนิติกร 4 ของคณะที่ปรึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งกว่านิติกร 4 แผนกการตลาดการที่จำเลยออกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนิติกร4คณะที่ปรึกษาจึงเป็นการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์ให้สูงขึ้นถือไม่ได้ว่าเป็นการ โยกย้ายหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607-2608/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเรียกร้องไม่ครบ 15% ไม่มีผล นัดหยุดงานโดยมิชอบ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อโจทก์กับพวกยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 มีลายมือชื่อผู้เรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าข้อเรียกร้องจึงไม่มีผลและถือได้ว่าตกไปการที่มีการยื่นลายมือชื่อผู้เรียกร้องเพิ่มขึ้นหาทำให้ข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับถูกต้องตามกฎหมายไม่โจทก์จึงไม่มีมูลฐานที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อนัดหยุดงานได้โดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยให้โจทก์กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ก็ยังคงนัดหยุดงานกันต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607-2608/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเรียกร้องไม่ครบตามกฎหมาย, นัดหยุดงานโดยมิชอบ, การเลิกจ้างที่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์กับพวกยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 มีลายมือชื่อผู้เรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้า ข้อเรียกร้องจึงไม่มีผลและถือได้ว่าตกไป การที่มีการยื่นลายมือชื่อผู้เรียกร้องเพิ่มขึ้นหาทำให้ข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับถูกต้องตามกฎหมายไม่ โจทก์จึงไม่มีมูลฐานที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อนัดหยุดงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยให้โจทก์กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ก็ยังคงนัดหยุดงานกันต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918-1919/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังศาลตัดสินเรื่องค่าชดเชยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
หลังจากถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จ่ายไม่ถูกต้องจากจำเลยศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพิ่มและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31 เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ เป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุจากการเลิกจ้างของจำเลยเป็นมูล ซึ่งเหตุนี้โจทก์อาจยกขึ้นได้เมื่อฟ้องจำเลยในคดีก่อนแต่มิได้ ฟ้องรวมไปในคราวเดียวกันกลับยกขึ้นฟ้องในภายหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ขาดคุณสมบัติ แม้เกี่ยวข้องสหภาพแรงงาน การคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ไม่ครอบคลุม
แม้โจทก์จะเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยและเป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยยื่นต่อจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯ ในเรื่องไม่สามารถทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจได้เต็มเวลา จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ขาดคุณสมบัติ แม้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องแรงงาน นายจ้างทำได้โดยชอบ
แม้โจทก์จะเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยและเป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยยื่นต่อจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ในเรื่องไม่สามารถทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจได้เต็มเวลา จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: คุ้มครองลูกจ้างแม้มีเหตุเลิกจ้างตามข้อตกลง
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้นแม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม
of 10