คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 233

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษา และสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ใช้บังคับคดี
จำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วซึ่งกันและกันและเป็นหนี้เงินเหมือนกันทั้งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดจะชำระแล้วด้วยจึงเป็นหนี้ที่สามารถนำมาหักกลบลบกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระให้โจทก์แต่จำเลยที่1ไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์จึงขอใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของโจทก์เพื่อบังคับเอาแก่จำเลยที่2เช่นนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา233และในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา236กำหนดให้จำเลยที่มีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใดๆจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้นเว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้วปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นลูกหนี้ของจำเลยที่2ตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่2จึงยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่กับจำเลยที่1ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยขอหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341และ342ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ต่างมีหนี้ซึ่งกันและกัน และการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้โดยเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการประเมินของโจทก์ซึ่งถึงที่สุดแล้วเป็นจำนวนเงิน 3,094,123.24 บาท ต่อมาโจทก์ตรวจพบและทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 2ตามคำพิพากษาเป็นเงินประมาณ 384,610 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2ยังมิได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงให้นายอำเภอเมืองนครปฐมมีหนังสือแจ้งอายัดหนี้ดังกล่าวไปยังจำเลยทั้งสองและเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยห้ามจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้โจทก์และไม่ยอมบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 และแก่โจทก์ แต่ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 1ตกเป็นลูกหนี้จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 214,750 บาท จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำให้การขอหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาคดีทั้งสองดังกล่าวในคดีนี้ ดังนี้เมื่อจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วซึ่งกันและกันเป็นหนี้เงินเหมือนกัน ทั้งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดจะชำระแล้วด้วยกันจึงเป็นหนี้ที่สามารถนำมาหักกลบลบกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ใช่สิทธิบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ จึงขอให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในนามของโจทก์เพื่อบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ซึ่งตามมาตรา 236 จำเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใด ๆ ย่อมจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้น เว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้ว ในคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 จึงยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่กับจำเลยที่ 1ขึ้นต่อสู้โจทก์ โดยขอหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 และ 342 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดกรรมการ – สิทธิเรียกร้องแทนเจ้าหนี้
โจทก์ฟ้องขอใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัท บ. โดยอ้างว่าก่อนที่จำเลยจะพ้นจากการเป็นกรรมการบริษัท บ. จำเลยเบียดบังทรัพย์สินของบริษัท บ.ไปโดยทุจริต บริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของบริษัท บ.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บ. ซึ่งเท่ากับกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อบริษัท บ. บริษัท บ.ชอบจะฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท บ.ชอบจะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 ฟ้องเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยแทนบริษัท บ.เท่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัท บ.อยู่ การเรียกร้องดังกล่าวเป็นการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่กระทำละเมิดต่อบริษัท บ.มีอายุความตามมาตรา 448 เมื่อการกระทำละเมิดเกิดขณะจำเลยเป็นกรรมการบริษัท บ.อยู่ คือก่อนวันที่ 17 กันยายน 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยลาออกจากบริษัท บ. โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 23 กันยายน 2535 พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยได้กระทำละเมิดแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดจากกรรมการบริษัท: นับแต่วันกระทำละเมิด หรือ วันพ้นตำแหน่ง?
โจทก์ฟ้องขอใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัทบ. โดยอ้างว่าก่อนที่จำเลยจะพ้นจากการเป็นกรรมการบริษัทบ. จำเลยเบียดบังทรัพย์สินของบริษัทบ.ไปโดยทุจริตบริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของบริษัทบ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทบ.ซึ่งเท่ากับกล่าวอ้างว่าจำเลยละเมิดต่อบริษัทบ.บริษัทบ.ชอบจะฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทบ.ชอบจะใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169ฟ้องเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยแทนบริษัทบ.เท่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทบ.อยู่การเรียกร้องดังกล่าวเป็นการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่กระทำละเมิดต่อบริษัทบ.มีอายุความตามมาตรา448เมื่อการกระทำละเมิดเกิดขณะจำเลยเป็นกรรมการบริษัทบ.อยู่คือก่อนวันที่17กันยายน2525ซึ่งเป็นวันที่จำเลยลาออกจากบริษัทบ. โจทก์ยื่นฟ้องวันที่23กันยายน2535พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยได้กระทำละเมิดแล้วคดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้: ต้องมีเหตุให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์จริง หากลูกหนี้มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
การที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ฟ้องคดีในนามของตนเองนั้น นอกจากลูกหนี้จะต้องขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว การขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นจะต้องทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์ด้วย ซึ่งหมายความว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีอยู่โดยไม่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องนั้นไม่พอจะชำระหนี้ หากลูกหนี้มีทรัพย์สินอยู่พอที่จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้แล้ว การที่ลูกหนี้ไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง ก็ไม่ทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์แต่ประการใด โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 1เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 19 ตามตั๋วเงินจำนวน 58,267,483.30 บาทแต่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า หากมีการชำระบัญชีถึงที่สุดจำเลยที่ 19 มีความสามารถชำระหนี้เป็นเงินไม่เกิน 500 ล้านบาทแสดงว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 19 มีทรัพย์สินประมาณ 500 ล้านบาทซึ่งหากโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนวนดังกล่าวจริง ทรัพย์สินของจำเลยที่ 19 ก็สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ครบถ้วน ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 18 กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 19 และจำเลยที่ 19 ขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องก็ก็ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 จึงไม่สามารถใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233มาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 18 ได้โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ทั้งห้าชำระค่าทนายความแทนจำเลยทั้งสิบเก้า จำนวน 5,000,000 บาท เป็นการไม่ชอบ ย่อมเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหานี้ จึงเป็นการไม่ชอบ การกำหนดค่าทนายความแก่ผู้ชนะคดีเป็นดุลพินิจของศาลซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้นเฉพาะในศาลชั้นต้นอัตราขั้นสูงไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความ 5,000,000 บาท เพราะเหตุคดีมีทุนทรัพย์สูงถึง 5,857 ล้านบาทเศษ และใช้เวลาพิจารณานานเกือบ7 ปี กับเมื่อเปรียบเทียบอัตราค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดกับอัตราที่กฎหมายกำหนดแล้ว อัตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดยังต่ำกว่าที่กฎหมายให้อำนาจอยู่มาก จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายและเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการคำนวณเงินเพิ่มเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร
การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้ อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เพราะ ป.รัษฎากรมาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้ แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีแบ่งคืนทรัพย์สินให้ผู้ถือหุ้น ไม่ใช่ข้อพิพาทภาษีโดยตรง
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7(2)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6467/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องผู้ถือหุ้นเรียกค่าภาษี
การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 2-10ที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบจำนวนมูลค่าหุ้น ให้ร่วมรับผิดชำระค่าภาษีที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่แก่โจทก์นั้น มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2-10 ต่อศาลภาษีอากรกลาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อเรียกค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้ หากลูกหนี้ไม่ดำเนินการ
บริษัทจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ และกรรมการของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เรียกร้องผู้ถือหุ้นให้ชำระค่าหุ้นที่ยังค้างชำระเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ส่งชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การเพียงว่ากรรมการของจำเลยที่ 1เท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างโดยกรรมการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา1120 และมาตรา 1121 บุคคลอื่นแม้จะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1ก็ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3หาได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในมาตราดังกล่าว โจทก์จึงยังหามีสิทธิเรียกร้องไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.ไม่มี สิทธิครอบครอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นลูกหนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้
บริษัทจำเลยที่ 1 ซื้อก๊าซไนโตรเจนเหลวไปจากโจทก์ แล้วไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และกรรมการของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ต้องเสียประโยชน์โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ส่งชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระได้.
of 6