พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัท
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร, ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบหนี้บริษัท, อำนาจฟ้อง
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้น การแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในปัญหาข้อนี้ อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่คดีพิพาทภาษีโดยตรง
การที่กรมสรรพากรโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัทจำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยที่ 1ไป เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐ
การที่กรมสรรพากรโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไป เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาและการใช้สิทธิเรียกร้องแทนบุคคลอื่นเมื่อผู้รับเหมาผิดสัญญา
เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวซึ่งจำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อจำเลย ที่ 1 เจ้าของที่ดิน ได้ถูกจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญา ทั้งนี้โดยเกิดจาก ความผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งทิ้งงานไม่ไปทำการก่อสร้างให้เสร็จ สิทธิของจำเลยที่ 2 ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมตึกแถว จำนวน 2 ห้องตามสัญญาจึงหมดสิ้นไป โจทก์ผู้จะซื้อตึกแถวและ ที่ดิน ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจใช้ สิทธิเรียกร้อง แทน จำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับเหมาทิ้งงาน สิทธิเรียกร้องแทนกันไม่มีผลเมื่อสัญญาเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวซึ่งจำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อจำเลย ที่ 1เจ้าของที่ดิน ได้ถูกจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญา ทั้งนี้โดยเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งทิ้งงานไม่ไปทำการก่อสร้างให้เสร็จ สิทธิของจำเลยที่ 2 ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมตึกแถวจำนวน 2 ห้องตามสัญญาจึงหมดสิ้นไป โจทก์ผู้จะซื้อตึกแถวและที่ดินในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจใช้ สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนาย, การกันส่วน, สิทธิบังคับคดี: ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอกันส่วนโดยอาศัยมาตรา 287 ว.พ.พ.
ในสำนวนอีกคดีหนึ่งซึ่งผู้ร้องคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องฮ. (ภรรยาจำเลยคดีนี้) ให้ชำระหนี้เงินเกี่ยวกับการเล่นแชร์ ปรากฏว่าผู้ร้องยื่นใบแต่งทนายแต่งตั้งให้ ส.เป็นทนายความส. จึงย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,62 ดังนั้น การที่ ส. ทนายความมายื่นคำร้องเพื่อขอกันส่วน และแยกสินสมรสของ ฮ. จำเลยในอีกคดีหนึ่งดังกล่าวออกจากทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นของจำเลยและโจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้. จึงมีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องแต่งทนายใหม่. และแม้ ส. จะยื่นคำร้องขอกันส่วนจำนวนเงินที่ขายทอดตลาดคดีนี้มาครั้งหนึ่งแล้วถอนไปก็ตาม ก็อาจร้องขอกันส่วนใหม่ได้โดยไม่ต้องมีใบแต่งทนายใหม่ เพราะกรณีนี้ทนายความในคดีเดิมมีอำนาจทำได้ดังกล่าวมาแล้ว
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ ฮ. ในอีกคดีหนึ่งย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของ ฮ. ได้เมื่อทรัพย์ที่โจทก์ยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นทรัพย์ที่ ฮ. มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกที่จะร้องขอกันส่วนของ ฮ. เพื่อบังคับคดีได้ด้วยสิทธิของผู้ร้องเองตามบทบัญญัติในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องของ ฮ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา233,234 ไม่
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ ฮ. ในอีกคดีหนึ่งย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของ ฮ. ได้เมื่อทรัพย์ที่โจทก์ยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นทรัพย์ที่ ฮ. มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกที่จะร้องขอกันส่วนของ ฮ. เพื่อบังคับคดีได้ด้วยสิทธิของผู้ร้องเองตามบทบัญญัติในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องของ ฮ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา233,234 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการขอกันส่วนทรัพย์สิน และสิทธิบุคคลภายนอกในการบังคับคดี
ในสำนวนอีกคดีหนึ่งซึ่งผู้ร้องคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ฮ. (ภรรยาจำเลยคดีนี้) ให้ชำระหนี้เงินเกี่ยวกับการเล่นแชร์ ปรากฏว่าผู้ร้องยื่นใบแต่งทนายแต่งตั้งให้ ส.เป็นทนายความ ส.จึงย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61, 62 ดังนั้น การที่ ส.ทนายความมายื่นคำร้องเพื่อขอกันส่วนและแยกสินสมรสของ ฮ.จำเลยในอีกคดีหนึ่งดังกล่าวออกจากทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นของจำเลยและโจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ จึงมีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องแต่ทนายใหม่ และแม้ ส.จะยื่นคำร้องขอกันส่วนจำนวนเงินที่ขายทอดตลาดคดีนี้มาครั้งหนึ่งแล้วถอนไปก็ตาม ก็อาจร้องขอกันส่วนใหม่ได้โดยไม่ต้องมีใบแต่งทนายใหม่ เพราะกรณีนี้ทนายความในคดีเดิมมีอำนาจทำได้ดังกล่าวมาแล้ว
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ ฮ.ในอีกคดีหนึ่ง ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของ ฮ.ได้ เมื่อทรัพย์ที่โจทก์ยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นทรัพย์ที่ ฮ.มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกที่จะร้องขอกันส่วนของ ฮ.เพื่อบังคับคดีได้ด้วยสิทธิของผู้ร้องเองตามบทบัญญัติในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องของ ฮ.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233, 234 ไม่
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ ฮ.ในอีกคดีหนึ่ง ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของ ฮ.ได้ เมื่อทรัพย์ที่โจทก์ยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นทรัพย์ที่ ฮ.มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกที่จะร้องขอกันส่วนของ ฮ.เพื่อบังคับคดีได้ด้วยสิทธิของผู้ร้องเองตามบทบัญญัติในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องของ ฮ.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233, 234 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องขอไถ่ทรัพย์แทนลูกหนี้ไม่ได้ หากพ้นกำหนดไถ่แล้ว ผู้มีสิทธิไถ่ต้องเป็นผู้ขายเดิมหรือผู้รับโอนสิทธิเท่านั้น
เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในนามตนเองแทนลูกหนี้โดยฟ้องคดีขอไถ่ทรัพย์ที่ลูกหนี้ขายฝากไว้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่แล้วไม่ได้ เพราะลูกหนี้ไม่มีสิทธิไถ่คืนแล้ว
การที่ก่อนครบกำหนดไถ่ทรัพย์คืน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้มีหนังสือแจ้งขอสวมสิทธิไถ่ทรัพย์แทนผู้ขายฝากซึ่งเป็นลูกหนี้นั้น ถือไม่ได้ว่าผู้มีสิทธิในการไถ่ทรัพย์ได้ใช้สิทธิขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืน เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้เท่านั้น ไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497
การที่ก่อนครบกำหนดไถ่ทรัพย์คืน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้มีหนังสือแจ้งขอสวมสิทธิไถ่ทรัพย์แทนผู้ขายฝากซึ่งเป็นลูกหนี้นั้น ถือไม่ได้ว่าผู้มีสิทธิในการไถ่ทรัพย์ได้ใช้สิทธิขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืน เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้เท่านั้น ไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497