พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043-3044/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การนำมาตรา 180 ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาและให้การด้วยวาจาศาลแรงงานตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ นัดสืบพยานจำเลย การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยาน ดังกล่าว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ก่อนวันนัดสืบพยานจำเลยไม่น้อยกว่า 7 วัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยื่น คำร้องขอแก้ไขคำให้การได้
ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาและให้การด้วยวาจาศาลแรงงานตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ นัดสืบพยานจำเลย การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยาน ดังกล่าว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ก่อนวันนัดสืบพยานจำเลยไม่น้อยกว่า 7 วัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยื่น คำร้องขอแก้ไขคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985-2986/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอม: งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉินซึ่งนายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง หมายถึงงานที่ลูกจ้างทำอยู่ในเวลาทำงานปกติมีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำต่อเนื่องกันไปจนกว่างานจะเสร็จ หากหยุดก่อนงานที่ทำนั้นเสร็จ งานที่ทำนั้นจะเสียหาย ส่วนงานฉุกเฉินนั้นหมายถึงงานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า และงานนั้นต้องทำให้เสร็จสิ้นทันที มิฉะนั้นงานที่เกิดขึ้นนั้นจะเสียหาย
งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ที่ลูกจ้างทำให้แก่นายจ้าง เป็นการนำเนื้อปลามาทำเป็นรูปปลาชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นงานที่ทำเสร็จเป็นชิ้น ๆ เมื่อทำงานตามที่รับมอบหมายในเวลาทำงานปกติเสร็จสิ้นแล้ว แม้ไม่ทำงานล่วงเวลาต่อไป ก็ไม่ทำให้งานที่ทำไว้เดิมต้องเสียหาย จึงมิใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน และการที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัว ก็มิใช่งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า จึงไม่ใช่งานฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง
การที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นต้องผลิตและส่งให้แก่ลูกค้าทันเวลาในวันรุ่งขึ้น เมื่อลูกจ้างไม่ทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องให้คนอื่นทำงานแทนมากกว่า 3 เท่าตัว และผลงานไม่ได้มาตรฐาน ถูกลูกค้าตำหนิ จะถูกลดจำนวนสั่งซื้อลงหรือเลิกการสั่งซื้อนั้น ล้วนแต่เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่นายจ้างเนื่องจากระบบการบริหารงานของนายจ้างเอง เมื่องานขึ้นรูปปลาสวรรค์มิใช่งานที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน การที่ลูกจ้างไม่ยอมทำงานดังกล่าวล่วงเวลาตามที่นายจ้างสั่งให้ทำ ย่อมไม่มีความผิดที่นายจ้างจะออกหนังสือตักเตือนได้
งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ที่ลูกจ้างทำให้แก่นายจ้าง เป็นการนำเนื้อปลามาทำเป็นรูปปลาชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นงานที่ทำเสร็จเป็นชิ้น ๆ เมื่อทำงานตามที่รับมอบหมายในเวลาทำงานปกติเสร็จสิ้นแล้ว แม้ไม่ทำงานล่วงเวลาต่อไป ก็ไม่ทำให้งานที่ทำไว้เดิมต้องเสียหาย จึงมิใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน และการที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัว ก็มิใช่งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า จึงไม่ใช่งานฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง
การที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นต้องผลิตและส่งให้แก่ลูกค้าทันเวลาในวันรุ่งขึ้น เมื่อลูกจ้างไม่ทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องให้คนอื่นทำงานแทนมากกว่า 3 เท่าตัว และผลงานไม่ได้มาตรฐาน ถูกลูกค้าตำหนิ จะถูกลดจำนวนสั่งซื้อลงหรือเลิกการสั่งซื้อนั้น ล้วนแต่เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่นายจ้างเนื่องจากระบบการบริหารงานของนายจ้างเอง เมื่องานขึ้นรูปปลาสวรรค์มิใช่งานที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน การที่ลูกจ้างไม่ยอมทำงานดังกล่าวล่วงเวลาตามที่นายจ้างสั่งให้ทำ ย่อมไม่มีความผิดที่นายจ้างจะออกหนังสือตักเตือนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985-2986/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับทำงานล่วงเวลาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หากงานปกติไม่เสียหาย และปริมาณงานเพิ่มขึ้นไม่ใช่เหตุฉุกเฉิน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 24 วรรคสอง งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานนั้นหมายถึง งานที่ลูกจ้างทำอยู่ในเวลาทำงานปกติมีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำต่อเนื่องกันไปจนกว่างานจะเสร็จ หากหยุดก่อนงานที่ทำนั้นเสร็จ งานที่ทำนั้นจะเสียหาย ส่วนงานฉุกเฉินนั้นหมายถึง งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้าและงานนั้นต้องทำให้เสร็จสิ้นทันที มิฉะนั้นงานที่เกิดขึ้นนั้นจะเสียหาย งานขึ้นรูปปลาสวรรค์เป็นงานที่ทำเสร็จเป็นชิ้น ๆ เมื่อทำงานตามที่รับมอบหมายในเวลาทำงานปกติเสร็จสิ้นแล้ว แม้ไม่ทำงานล่วงเวลาต่อไป ก็ไม่ทำให้งานที่ทำไว้เดิมต้องเสียหายแต่อย่างใด จึงมิใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน และการที่จำเลยได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัวก็มิใช่งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า จึงไม่ใช่งานฉุกเฉิน จำเลยไม่อาจสั่งให้โจทก์ทั้งสองทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การแก้ไขสัญญาหลังลาออกไม่มีผลบังคับ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์อะไหล่ตามที่โจทก์ จำเลยตกลงกันในห้องพิจารณา ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แต่ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลแรงงาน โจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับ จำเลยเพราะโจทก์ลาออกไปแล้ว เท่ากับว่าโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย อีกต่อไป ปัญหาเรื่องการแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำร้อง ของโจทก์เพื่อให้ได้ความว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างไม่ว่า ในตำแหน่งใดย่อมไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ ของโจทก์ที่ขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่เป็นสาระ แก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมฯ สิ้นผลเมื่อลูกจ้างลาออก ศาลไม่วินิจฉัยคำร้องขอแก้ไขสัญญา
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์อะไหล่ตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันในห้องพิจารณา ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แต่ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลแรงงาน โจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยเพราะโจทก์ลาออกไปแล้ว เท่ากับว่าโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลยอีกต่อไป ปัญหาเรื่องการแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำร้องของโจทก์เพื่อให้ได้ความว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างไม่ว่าในตำแหน่งใดย่อมไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้องและการไม่อุทธรณ์ดุลพินิจ
แม้จำเลยคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์ก็ตาม แต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่อนุญาต หรือจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงานจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้อง: อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเป็นอุทธรณ์ต้องห้าม
แม้จำเลยจะคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์ก็ตามแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่อนุญาต หรือจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงาน จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้อง และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คำสั่ง
แม้จำเลยคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์ก็ตาม แต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่อนุญาต หรือจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงานจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้เดิม-สัญญาใหม่: เจตนาที่แท้จริงผูกพันจำเลยที่ 3-4 แม้ระบุสัญญาจ้างผิด
หนังสือรับสภาพหนี้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ขอนำหลักทรัพย์ที่ดิน น.ส.3 ของจำเลยที่ 3 มาประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 ยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ ต่อมาจำเลยที่ 3 และที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์ในวงเงินจำนวนสูงมาก โดยมิได้โต้แย้งแสดงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 ทำเงินขาดบัญชีและมีเจตนาจำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ เมื่อพิจารณาสัญญาจำนองที่ระบุว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยอมรับผิดในหนี้สินใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในเวลานี้หรือในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปในภายหน้าไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทุกประการ และหนังสือรับสภาพหนี้ได้ทำขึ้นก่อนที่จะทำสัญญาจำนองดังกล่าว ดังนี้ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
แม้สัญญาจำนองจะระบุความรับผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ฉบับที่สิ้นสุดไปแล้ว และได้มีการทำสัญญาจ้างกันใหม่ ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ให้การยอมรับว่าจำเลยทั้งสองจำนอง ที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยที่ 1 ในขณะที่ทำสัญญาจำนอง จึงเป็นกรณีที่ระบุสัญญาจ้างผิดฉบับคลาดเคลื่อนไป โดยผิดหลง โดยมีเจตนาที่แท้จริงจะผูกพันกันตามสัญญาจ้างฉบับใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมไม่อาจยกข้อผิดหลง ดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนตามสัญญาจำนองที่มีต่อโจทก์ได้
แม้สัญญาจำนองจะระบุความรับผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ฉบับที่สิ้นสุดไปแล้ว และได้มีการทำสัญญาจ้างกันใหม่ ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ให้การยอมรับว่าจำเลยทั้งสองจำนอง ที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยที่ 1 ในขณะที่ทำสัญญาจำนอง จึงเป็นกรณีที่ระบุสัญญาจ้างผิดฉบับคลาดเคลื่อนไป โดยผิดหลง โดยมีเจตนาที่แท้จริงจะผูกพันกันตามสัญญาจ้างฉบับใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมไม่อาจยกข้อผิดหลง ดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนตามสัญญาจำนองที่มีต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานนอกสถานที่และช่วงเวลาปกติ: สิทธิประโยชน์จากการประสบอันตรายในการทำงาน
การเดินทางไปเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าตามหน้าที่ ซึ่งนายจ้างไม่เคร่งครัดต่อการลงเวลาทำงานในแต่ละวันและลูกจ้างได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว ทั้งเวลาที่เดินทางไปและนัดหมายให้ไปรับเงินก็ต่อเนื่อง และคาบเกี่ยวกับเวลาเริ่มทำงานปกติ เหมาะสมตามสภาพของงานที่ลูกจ้างจะพึงกระทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่าเป็นการเริ่มทำงานให้นายจ้างแล้ว เมื่อลูกจ้างประสบเหตุทางรถยนต์ถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปเก็บเงิน จึงเป็นการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง