พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานนอกเวลางานปกติและการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน การเก็บเงินค่าสินค้าถือเป็นการทำงาน
การเดินทางไปเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าตามหน้าที่ ซึ่งนายจ้างไม่เคร่งครัดต่อการลงเวลาทำงานในแต่ละวันและลูกจ้างได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว ทั้งเวลาที่เดินทางไปและเวลานัดหมายให้ไป รับเงินก็ต่อเนื่องและคาบเกี่ยวกับเวลาเริ่มทำงานปกติ เหมาะสมตามสภาพของงานที่ลูกจ้างจะพึงกระทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่า เป็นการเริ่มทำงานให้นายจ้างแล้ว เมื่อลูกจ้างประสบเหตุทางรถยนต์ ถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปเก็บเงินจึงเป็นการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง การกระทำความผิดทางระเบียบงาน ไม่ร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างได้
โจทก์นำรถยนต์กระบะส่วนตัวของโจทก์รับลูกค้าของจำเลยออกจากโรงแรมของจำเลยไปส่งที่ถนนใหญ่หน้าโรงแรม 1 ครั้ง และไปส่งในเมืองภูเก็ตอีก 1 ครั้ง และแม้โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 200 บาท ก็มีลักษณะเป็นค่าทิปหรือสินน้ำใจจากแขกที่อาศัยรถยนต์ของโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจการค้าหรือมุ่งหวังจะรับส่งแขกของจำเลยโดยเรียกค่าบริการระยะเวลาที่โจทก์รับแขกของจำเลยออกจากโรงแรมครั้งแรกและครั้งที่ 2 ก็ห่างกันถึง 5 วัน การกระทำของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจบริการของจำเลยประกอบกับการรับส่งแขกดังกล่าวโจทก์ก็มิได้แอบอ้างว่าเป็นธุรกิจของจำเลย จึงไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงในธุรกิจของจำเลยทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์รับส่งลูกค้าของจำเลยในเวลาทำงานหรือไม่ การกระทำของโจทก์แม้จะเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ลักษณะของการกระทำของโจทก์ประกอบกับสภาพของความเสียหายที่อาจจะก่อให้เกิดแก่จำเลยแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่ไม่ถึงขั้นร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน แม้ฝ่าฝืนระเบียบจำเลย
โจทก์นำรถยนต์กระบะส่วนตัวของโจทก์รับลูกค้าของจำเลยออกจากโรงแรมของจำเลยไปส่งที่ถนนใหญ่หน้าโรงแรม 1 ครั้ง และไปส่งในเมืองภูเก็ตอีก 1 ครั้ง และแม้โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 200 บาท ก็มีลักษณะเป็นค่าทิปหรือสินน้ำใจจากแขกที่อาศัยรถยนต์ของโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจการค้าหรือมุ่งหวังจะรับส่งแขกของจำเลยโดยเรียกค่าบริการ ระยะเวลาที่โจทก์รับแขกของจำเลยออกจากโรงแรมครั้งแรกและครั้งที่ 2 ก็ห่างกันถึง5 วัน การกระทำของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจบริการของจำเลยประกอบกับการรับส่งแขกดังกล่าวโจทก์ก็มิได้แอบอ้างว่าเป็นธุรกิจของจำเลย จึงไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงในธุรกิจของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์รับส่งลูกค้าของจำเลยในเวลาทำงานหรือไม่ การกระทำของโจทก์แม้จะเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ลักษณะของการกระทำของโจทก์ประกอบกับสภาพของความเสียหายที่อาจจะก่อให้เกิดแก่จำเลยแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ – การรับส่งลูกค้าด้วยรถส่วนตัวไม่ใช่กรณีร้ายแรง
โจทก์นำรถยนต์กระบะส่วนตัวของโจทก์รับแขกซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยออกจากโรงแรมของจำเลยไปส่งที่นอกโรงแรมจำนวน 2 ครั้ง แม้โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ก็มีลักษณะเป็นค่าทิปหรือสินน้ำใจจากแขกที่อาศัยรถยนต์ของโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจการค้าหรือมุ่งหวังจะรับส่งแขกของจำเลยโดยเรียกค่าบริการแต่อย่างใด การกระทำของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจบริการของจำเลย การรับส่งแขกดังกล่าวโจทก์ก็มิได้แอบอ้างว่าเป็นธุรกิจของจำเลย จึงไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงในธุรกิจของจำเลย การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานเรื่องการระบุพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า"ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้าง แล้วจดชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้" ตามข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ศาลแรงงานมีหน้าที่ต้องสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการอ้างและสืบพยานตลอดจนสอบถามในเรื่องรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันที่สั่งให้มีการสืบพยานหรือภายใน 2 วันซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่งสัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่งสัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานเรื่องการสืบพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า "ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและ สืบพยานใดบ้าง แล้วจดชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคลสภาพและ สถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความ ทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้" ตามข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ศาลแรงงานมีหน้าที่ต้อง สอบถามคู่ความเกี่ยวกับการอ้างและสืบพยานตลอดจนสอบถามในเรื่องรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันที่สั่งให้มีการสืบพยานหรือภายใน 2 วันซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่ง สัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่ง สัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403-2430/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย-การแก้ไขคำฟ้อง: กำหนดระยะเวลาของงาน, การปฏิเสธข้อกล่าวหา, กระบวนการยุติธรรม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง แต่ในวรรคสามบัญญัติว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น" และวรรคสี่บัญญัติว่า "การจ้างที่มีกำหนดเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง" จะเห็นได้ว่า ในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอน ส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท โดยในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี คำว่า งานนั้น ย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีทรัพย์มรดก: แม้ชื่อในโฉนดเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์สินยังเป็นของทายาท
ป. ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ที่ดินโฉนดพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกจึงตกทอดแก่ทายาทซึ่งรวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นบุตรด้วยในทันที แม้ที่ดินโฉนดพิพาทจะเป็นชื่อ ล. แต่ก็ระบุรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. จึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันให้แก่ทายาทและ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทรวมทั้งจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719จำเลยจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดพิพาทรวมอยู่ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดพิพาทมาบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าชดเชย แม้มีเหตุผลทางธุรกิจ นายจ้างยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
การพิจารณาว่า การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง หรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และการเลิกจ้างที่นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119ข้อใดข้อหนึ่ง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่มีผู้ร่วมลงทุนใหม่ แม้เป็นเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่ใช่เหตุเลิกจ้างที่ทำให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งมิได้เป็นเหตุที่ทำให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และการเลิกจ้างที่นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119ข้อใดข้อหนึ่ง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่มีผู้ร่วมลงทุนใหม่ แม้เป็นเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่ใช่เหตุเลิกจ้างที่ทำให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งมิได้เป็นเหตุที่ทำให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการทำงาน แม้ไม่ได้เกิดขณะปฏิบัติงาน
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 กำหนดคำนิยามของคำว่าเจ็บป่วยหมายความว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรค ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างแต่ละรายโดยพิจารณาตามลักษณะหรือสภาพของงานนั้น โดยหาได้มีข้อจำกัดว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้างไม่ การตายของผู้ตายจึงเป็นการตายด้วยโรค ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง เห็นได้ว่าลักษณะและสภาพของงานที่ผู้ตายทำซึ่งต้องใช้แรงงานมาก และต้องอยู่กับสภาพเสียงดังก่อให้เกิดความอ่อนเพลียและความเครียดแก่ผู้ตายเป็นอย่างมาก แล้วฟังว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหลอดโลหิตหัวใจล้มเหลวอันเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง กรณีจึงถือได้ว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน