คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สละ เทศรำพรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการตายจากโรคหัวใจล้มเหลวเนื่องจากการทำงาน แม้ไม่ได้เกิดขณะปฏิบัติงาน
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 กำหนดนิยามของคำว่าเจ็บป่วยไว้ ซึ่งเห็นได้จากคำนิยามดังกล่าวว่าจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างแต่ละราย โดยพิจารณาตามลักษณะหรือสภาพของงานนั้น ๆ โดยหาได้มีข้อจำกัดว่าการที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคที่เกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็นการเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้างไม่ งานที่ผู้ตายทำมีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องใช้แรงงานมากต้องอยู่กับสภาพเสียงดังก่อให้เกิดความอ่อนเพลียและความเครียดแก่ผู้ตายอย่างมากผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหลอดโลหิตหัวใจล้มเหลวอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานต้องด้วยคำนิยามว่า เจ็บป่วย ตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลางาน: คำสั่งห้ามเฉพาะพื้นที่โรงแรมชอบด้วยกฎหมาย
ประกาศคำสั่งของจำเลยที่ห้ามมิให้โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แม้จะมีข้อความห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติก็ตาม แต่ประกาศดังกล่าวได้ระบุถึงเขตพื้นที่ไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนประกาศคำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งห้ามขับรถจักรยานยนต์รับจ้างของนายจ้างชอบธรรมได้ หากไม่กระทบธุรกิจ แต่เลิกจ้างเพราะเหตุนี้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ประกาศคำสั่งของจำเลยที่ห้ามมิให้โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างแม้จะมีข้อความห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติก็ตาม แต่ประกาศดังกล่าวได้ระบุถึงเขตพื้นที่ไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนประกาศคำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้าง โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวลวงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากลูกจ้างขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลางาน โดยไม่กระทบต่อภาพลักษณ์หรือกิจการของนายจ้าง
ประกาศของจำเลยที่ห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติ ได้ระบุถึงเขตพื้นที่ที่ห้ามไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์จะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลยก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์เสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งเหตุเลิกจ้างครั้งนี้ก็ไม่ปรากฏจากทางนำสืบว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยจำเลยไม่มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนนายจ้าง: เป็นเพียงการแนะนำ ไม่ใช่คำสั่งทางกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 77 มีความว่า เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจออกคำเตือนให้นายจ้างที่กระทำการฝ่าฝืนนั้นปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มิใช่คำสั่งทางกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 77มีความว่า เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามพนักงานตรวจแรงงาน มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจออกคำเตือนให้นายจ้างที่กระทำการฝ่าฝืนนั้น ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกันสำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีก ศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่า ค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมค่าเสียหายทั้งหมดจากการเลิกจ้าง โจทก์จึงฟ้องซ้ำไม่ได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกันและเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกันสำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีกศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่าค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง & การแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยและลูกจ้างของจำเลยได้กำหนดระเบียบการขึ้นค่าจ้างไว้โดยระบุว่า การขึ้นค่าจ้างตามเวลาที่กำหนด พนักงานตั้งแต่ระดับหัวหน้าผู้ควบคุมงาน (CHIEF FOREMAN) ลงมาจะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง คือในวันที่ 21 มิถุนายน และวันที่ 21ธันวาคม ของทุกปี แต่ต้องเป็นผู้ที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 6 เดือนขึ้นไปเป็นข้อตกลงที่จำเลยและสหภาพแรงงาน ได้ร่วมกันพิจารณาและตกลงร่วมกันจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทั้งสองฝ่ายคือ นายจ้างและลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เมื่อข้อตกลงไม่มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการพิจารณาขึ้นค่าจ้างตามข้อตกลงในข้อนี้ ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่พนักงานลูกจ้างของจำเลยตามสภาพความเป็นจริงได้จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ หากในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น จำเลยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กิจการขาดทุนและจำเลยต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตาม
แม้ว่าข้อตกลงจะใช้ถ้อยคำว่า "...จะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง" ก็ตาม ถ้อยคำดังกล่าวก็มีความหมายว่าจำเลยจะต้องพิจารณาว่าลูกจ้างคนใดมีผลงานประเมินอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ หากอยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นค่าจ้าง ค่าจ้างที่ปรับขึ้นเป็นจำนวนเท่าใดเท่านั้นมิใช่เป็นการให้อำนาจแก่จำเลยที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: นายจ้างไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ขึ้นค่าจ้าง แม้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการพิจารณาขึ้นค่าจ้างตามข้อตกลง ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่พนักงานลูกจ้างของจำเลยตามสภาพความเป็นจริงได้ จำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และแม้ข้อตกลงจะใช้ถ้อยคำว่า "จะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง" ก็ตาม ถ้อยคำดังกล่าวก็มีความหมายว่าจำเลยจะต้องพิจารณาว่าลูกจ้างคนใดมีผลงานประเมินอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ หากอยู่ในเกณฑ์ ได้รับการขึ้นค่าจ้างค่าจ้างที่ปรับขึ้นเป็นจำนวนเท่าใดเท่านั้น มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่จำเลยที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้
of 221